วิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพและการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 เริ่มต้นขึ้นแล้ว แต่หลายประเทศยังคงล้มเหลวในการทำหน้าที่นี้ มนุษย์กำลังทำสงครามกับธรรมชาติ เราจะไม่เหลืออะไรเลย
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีการรายงานการสูญพันธุ์หรือสัตว์ใกล้สูญพันธุ์จำนวนมาก แต่การรายงานไม่สามารถหยุดยั้งการถูกลบเลือนหายไปจากโลกครั้งใหญ่เหล่านี้ได้ เพราะไม่เกิดการลงมือทำที่ชัดเจน
António Guterres เลขาธิการสประชาชาติ ได้ทำการเปิดประชุมสุดยอดระดับโลกของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ COP15 ในสำนวนของสหประชาชาติ ซึ่งเพิ่งปิดฉากที่เมืองมอนทรีออล อนุสัญญานี้เปิดตัวในการประชุมสุดยอดโลกริโอในปี 2535 ควบคู่ไปกับการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รู้จักกันดีของสหประชาชาติ
แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ จะอีกสักอีกครั้งก็ไม่เพียงพอแต่ก็ยังทำได้ ถ้าคิดจะทำ
“เรากำลังทำสงครามกับธรรมชาติ ระบบนิเวศกลายเป็นของเล่นเพื่อผลกำไร กิจกรรมของมนุษย์กำลังสร้างขยะให้กับป่าไม้ ป่าไม้ พื้นที่เพาะปลูก มหาสมุทร แม่น้ำ ทะเล และทะเลสาบ ผืนดิน น้ำ และอากาศของเราเป็นพิษจากสารเคมีและ ยาฆ่าแมลงและสำลักด้วยพลาสติก การเสพติดเชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้สภาพอากาศของเราเข้าสู่ความโกลาหล การผลิตที่ไม่ยั่งยืนและนิสัยการบริโภคที่เลวร้ายกำลังทำให้โลกของเราเสื่อมโทรม มนุษยชาติกลายเป็นอาวุธแห่งการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่…โดยมีสิ่งมีชีวิตนับล้านที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตลอดไป”
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
พบแหล่งเพาะพันธุ์ “ฉลามหัวค้อน” ใกล้วิกฤตสูญพันธุ์ ที่หมู่เกาะกาลาปากอส
เด็กที่เกิดในวันนี้ จะต้องเห็นสัตว์สูญพันธุ์ไปกว่า 1,000 ชนิด เกิดอะไรขึ้น
IUCN เผยงานวิจัยใหม่ สัตว์ในทะเลกว่า 10% กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์แล้ว
นกพัฟฟิน สัตว์ลำดับต่อไปที่เสี่ยงสูญพันธุ์ในศตวรรษนี้ เกิดอะไรขึ้น?
เพนกวินจักรพรรดิถูกขึ้นบัญชี สัตว์ใกล้สูญพันธุ์เรียบร้อยแล้ว!
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเป็นความหวังที่ดีที่สุดที่เราจะต้องหยุดสิ่งที่เรียกว่าการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ได้ดับสิ่งมีชีวิตนับหมื่นชนิดทุกปีโดยไม่หวนกลับมาอีก
การสูญพันธุ์ 5 ครั้งก่อนหน้านี้เกิดขึ้นเมื่อหลายสิบล้านปีถึงหลายร้อยล้านปีก่อน และครั้งที่เกิดขึ้นล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อ 66 ล้านปีที่แล้ว จากการที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มีดาวเคราะห์น้อยขนาดความกว้าง 6 ไมล์พุ่งเข้าชนโลก แถวเม็กซิโก จนทำให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่ ฝนกรด และไฟป่า จากนั้นโลกก็ไร้แสงจากการถูกชั้นบรรยากาศปกคลุม อุณหภูมิโลกลดต่ำลง จนทำให้สิ่งมีชีวิตที่เรารู้จักกันดีอย่างไดโนเสาร์ สูญพันธุ์ไปจากโลก
และตอนนี้ สิ่งเหล่านั้นกำลังจะหวนกลับมาอีกครั้ง แต่ต้นเหตุไม่ได้เกิดขึ้นจากการถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชน แต่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เราเอง “มนุษย์ได้วิวัฒนาการกลายเป็นผู้ล่าโดยไม่มีใครเทียบได้ เราแซงหน้าและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยด้วยการละทิ้ง ทำให้เผ่าพันธุ์อื่นถูกลืมเลือนไปอย่างถาวร” เป็นคำพูดจากหนังสือ The Sixth Extinction ของ เอลิซาเบธ โคลเบิร์ต นักเขียนชาวนิวยอร์ก
ข้อตกลงการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ
ข้อมูลล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ของข้อตกลงมอนทรีออลได้รับการลงนามทั้งสิ้น 196 ประเทศ ยกเว้นสหรัฐอเมริกาและวาติกันที่ไม่ได้ร่วมลงนามในฐานะภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้คำในสัญญานี้มีข้อตกลงที่น่าสนใจ ที่ถูกเรียกว่า 30x30 นั่นคือการปกป้อง 30% ของผืนดิน ผืนมหาสมุทร พื้นที่ชายฝั่งทะเล และน่านน้ำทั่วโลกใหได้ภายในปี 2030
นอกจากนี้มีการตกลงให้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 ด้วย
Eriel Tchekwie Deranger ผู้อำนวยการบริหารของ Indigenous Climate Action และสมาชิกของ Athabasca Chipewyan First Nation กล่าวว่า "เป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างข้อตกลงความหลากหลายทางชีวภาพโดยไม่รวมสิทธิของชนพื้นเมือง เนื่องจาก 80% ของความหลากหลายทางชีวภาพที่เหลืออยู่คือที่ดินและดินแดนของชนพื้นเมือง"
การดำเนินงานของมอนทรีออลในครั้งนี้ ยังไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือ หรือความมั่นใจได้มากเท่าทึควร เนื่องจากที่ผ่านมา หลายประเทศยังคงไม่สามารถทำตามคำมั่นสัญญาได้ เช่น ในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศในปี 2552 ประเทศร่ำรวยให้คำมั่นว่าจะจัดตั้งกองทุน 100 พันล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2563 เพื่อช่วยให้ประเทศยากจนปรับตัวเข้ากับและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่จนแล้วจนเล่า ในปัจจุบัน กองทุนนี้ยังคงทำไม่ได้ตามเป้า และเงินส่วนใหญ่ที่นำมาเป็นเงินกู้ยืมทั้งสิ้น ไม่ใช่เงินให้เปล่า นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่นักเคลื่อนไหวหลายคนไม่เชื่อมั่นในการทำงานของภาครัฐสักเท่าไหร่
การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่จะส่งผลกระทบที่กว้างไกลและอาจเป็นหายนะต่อมนุษยชาติ อันโตนิโอ กูเตร์เรสพูดถูก เรากำลังทำสงครามกับธรรมชาติ การเคารพและปฏิบัติตามผู้นำของชุมชนพื้นเมืองเป็นก้าวแรกสู่การสร้างสันติภาพกับธรรมชาติ ในขณะที่เรายังทำได้
ที่มาข้อมูล