16 พ.ย ถือเป็น"วันพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก" โดยวันนี้ เกิดจากองค์การยูเนสโก้ (UNESCO) เสนอให้จัดตั้งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลกขึ้น และประเทศไทย มี 6 สถานที่ ที่ได้รับการขึ้นทะเทียนเป็นมรดกโลก
16 พฤศจิกายน ถือเป็นวัน "วันพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก" โดยวันนี้ เกิดจากองค์การยูเนสโก้ (UNESCO) หรือ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เสนอให้จัดตั้งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลกขึ้น ด้วยตระหนักว่าการปกป้องพิทักษ์สมบัติทางวัฒนธรรม และธรรมชาติของโลกนั้น ควรเป็นภารกิจร่วมกันของมนุษย์ชาติทั่วโลก
ทั้งนี้ มรดกโลก ไม่ว่าจะเป็น "มรดกโลกทางวัฒนธรรม" หรือ "มรดกโลกทางธรรมชาติ" ที่มีอยู่ทั่วโลกล้วนเป็นสิ่งทรงคุณค่า ต้องหวงแหน ปกป้องรักษาไว้เป็นสมบัติของโลก
โดยในประเทศไทยนั้น มี 6 สถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จากในอดีตที่ผ่านมา โดย มรดกโลกของไทย ณ เวลานี้ (2565) ได้รับการขึ้นทะเบียน ทั้งหมด 6 แห่ง ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง ได้แก่
• มรดกโลกทางวัฒนธรรม
- เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จ.สุโขทัย ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2534
- นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2534
- แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2535
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดีสำหรับคนไทยทั้งประเทศ! กลุ่มป่าแก่งกระจาน ขึ้นทะเบียน มรดกโลก
วิธีช่วยลดฝุ่น PM 2.5 รักษ์โลก Keep The World ช่วยลดความเสี่ยง มะเร็งปอด
• มรดกโลกทางธรรมชาติ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ จ.อุทัยธานี จ.ตาก และจ.กาญจนบุรี ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2534
- ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ครอบคลุม 6 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมา จ.ปราจีนบุรี จ.บุรีรัมย์ จ.สระแก้ว จ.นครนายก และจ.สระบุรี ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2548
และเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา กลุ่มป่าแก่งกระจาน ที่มีพื้นที่ธรรมชาติ ครอบคลุมถึง 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี และจ.ประจวบคีรีขันธ์ ก็ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งที่ 6 ของประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย
ประเด็นที่ควรโฟกัสนั่นคือ การเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติของ 3 สถานที่ในไทยนั้น ไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่สำคัญในการส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ของชนิดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ เท่านั้น แต่ยังถือเป็นแหล่งสำคัญในการเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้าง อย่างยั่งยืนอีกด้วย
ที่มา : unesco