ไทยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) มาเป็นแนวคิดหลักเพื่อขับเคลื่อนประเด็นที่จะผลักดันการเป็นเจ้าภาพการประชุม เอเปค 2565 และเวทีการประชุมครั้งนี้ ยังเป็นอีกหนึ่งเวทีที่ช่วยผลักดันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย
การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคของไทย ระหว่างวันที่ 17-18 พ.ย.2565 ภายใต้หัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” เพื่อเปิดกว้างสู่ทุกโอกาสด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคผ่านมุมมองใหม่ที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคม เชื่อมโยงในทุกมิติเพื่อฟื้นฟูการเดินทางระหว่างกันที่สะดวกและปลอดภัย รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมโยงทางดิจิทัล และส่งเสริมการเจริญเติบโตที่เน้นสร้างสมดุลในทุกด้านมากกว่าสร้างกำไร ผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การสร้างความมั่นคงทางอาหารและการเกษตรเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
ไทยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG) มาเป็นแนวคิดหลักเพื่อขับเคลื่อนประเด็นที่จะผลักดันการเป็นเจ้าภาพการประชุม เอเปคในครั้งนี้
หนึ่งในประเด็นสำคัญ ที่เข้ากับเทรนด์แห่งอนาคตอย่าง Keep The World ที่จะหยิบยกมาหารือ ในที่ประชุม APEC คือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ APEC VISION เกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่จะนำมาพูดคุยเวที APEC ในการประชุม APEC
คือ ประเด็นที่เรียกว่า Bangkok Goal On BCG Economy เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายที่จะผลักดันในการประชุมครั้งนี้ 4 เป้าหมาย
1.การจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะผลักดันความเป็นกลางทางคาร์บอนของกลุ่มเอเปค
2.การค้าการลงทุน ที่จะส่งเสริมการลงทุนภาคสีเขียวในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปค
3.การจัดทรัพยากรที่ยั่งยืน และ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งภาคประมง
4.การลดขยะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ระบุว่า อาจจะมีปฏิญญา ออกมา เช่นการสนับสนุนด้านเงินทุน เพื่อให้เกิด Action ด้านการถ่ายโอนเงินทุน เทคโนโลยี และ Capacity building ระหว่างกัน โดยมองว่า การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ การมีส่วนร่วมระหว่างรัฐและเอกชนอย่างสมดุล การออกนโยบายที่สอดรับกันเพื่อรองรับการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนร่วมกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม
ในกลุ่มประเทศเอเปค มีการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 60% ของโลก และมี 7 ประเทศ ที่เป็น Top10 ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก ประมาณ 28,000 ล้านตันต่อปี ประเทศในกลุ่มนี้ จึงเป็นตัวนำสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะหากปล่อยไว้ต่อไป ย่อมเป็นผลเสียผลต่อภาพรวมของประเทศและของโลก ในประเด็นสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังได้ยกตัวอย่าง มาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการประชุมระดับโลก อาทิ
- ไม่ใช้กระดาษ
- วัสดุเป็นรีไซเคิลหมด หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นซิงเกิล ยูส
- การขนส่งทั้งหมด ใช้รถ EV เหมือนในการประชุม COP26 ที่กลาสโกลว์ สก๊อตแลนด์
- ใช้ไฟเป็น LED ถ้าไม่เดินไปไฟจะปิดอัตโนมัติ
- ควบคุมอุณหภูมิ
- เรื่องขยะจากอาหาร บริโภคแบบไม่ให้เหลือ
- วัสดุต่างๆ ใช้กรอบเดียวกับ การประชุม Cop 26 ที่สกอตแลนด์ และ Cop 27 ที่อียิปต์
- การเดินทางเน้นที่จำเป็นจริงๆ พยายามให้การเดินทางอยู่ที่เดียวกันให้มากที่สุด
- ผู้จัดจะต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิต ที่ปลดปล่อยไปจากการประชุม ที่ผ่านมาการจัดประชุมเอเปคป่าไม้ มีการปล่อยคาร์บอนฯ ไป 101 ตัน ไทยจึงต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตมาจากโครงการของ energy agency ด้วยราคาที่สูงพอสมควร
ก๊อก ก๊อก #เอเปค2565 พาทุกคนไปติดตามโครงการ Care the Bear สำหรับวันแรกของการประชุมเอเปค 2565 ในวันแรกของการประชุมศูนย์สื่อมวลชนสามารถช่วยลดการปล่อย CO2 ได้ถึง 7,482 กิโลกรัมของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบกับการปลูกต้นไม้ 831ต้น
— APEC 2022 Thailand (@APEC2022TH) November 15, 2022
ติดตามข่าวสารของเราได้ที่ APEC 2022 THAILAND pic.twitter.com/JKVeV7GKec
และ ในการประชุม Thailand climate action conference ที่ผ่านมา ก็ปล่อยคาร์บอนฯ ไป 180 ตัน ในการจัดงาน 2 วัน จึงต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากเทศบาลยโสธร ที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง จึงซื้อในราคาเกินร้อย
และใน Twitter อย่างเป็นทางการของ การประชุม เอเปค2565 ระบุว่า โครงการ Care the Bear สำหรับวันแรกของการประชุมเอเปค 2565 ในวันแรกของการประชุมศูนย์สื่อมวลชน สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอน CO2 ได้ถึง 7,482 กิโลกรัมของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบกับการปลูกต้นไม้ 831ต้น เลยทีเดียว