svasdssvasds

ส่อง Future Food อาหารเพื่อความยั่งยืน เป็น Mega Trend ที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง

ส่อง Future Food อาหารเพื่อความยั่งยืน เป็น Mega Trend ที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง

ส่อง Future Food อาหารเพื่อความยั่งยืน ที่มีมูลค่าการตลาดถึง 122,927 ล้านบาท และจะโตอีก 2 เท่าในปี 2025 เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวความคิดสำคัญของการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคประจำปี 2565

 Future Food คือ เทรนด์อาหารอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมอาหารโลก ที่ต่อยอดกระบวนการผลิตอาหารให้ตอบโจทย์การลดภาวะโลกร้อน ไปพร้อมกับสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนต่อโลก เป็นที่มาของความหลากหลายในการต่อยอดที่ไม่จำกัดรูปแบบหน้าตาของอาหารอนาคต ขอเพียงทำแล้วตอบโจทย์ “ดีต่อใจ-ดีต่อสุขภาพ-ดีต่อโลก”

 Future Food นับเป็น Mega Trend ของโลก และเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสีเขียว BCG (Bio-Circular-Green) Economy ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวความคิดสำคัญของการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคประจำปี 2565 ที่ประเทศไทย ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14-19 พ.ย. 65 นี้

ส่อง Future Food อาหารเพื่อความยั่งยืน เป็น Mega Trend ที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง

 Future Food เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนจากกระบวนการผลิตอาหาร ช่วยแก้ไขวิกฤตขาดแคลนอาหารทั่วโลก ไปพร้อมกับสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนต่อโลก เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการตลาดถึง 122,927 ล้านบาท และจะโตอีก 2 เท่าในปี 2025

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เปิดเมนู เอเปค 2022 อาหารไทยบนโต๊ะดินเนอร์ผู้นำระดับโลก

• ดันแมลงเป็นอาหารซูเปอร์ฟู้ดส์เจาะตลาดอาหารสุขภาพ

• อาหารสุขภาพช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

ส่อง Future Food อาหารเพื่อความยั่งยืน เป็น Mega Trend ที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง

4 แนวคิดหลักของ Future Food 

1. Novel Food นำวัตกรรมองค์ความรู้มาใช้ยกระดับวัตถุดิบอาหารทางเลือกรูปแบบใหม่ๆ เช่น

• เนื้อเทียม (Plant based protein) จากโปรตีนทางเลือก พืช เห็ด และธัญพืชต่างๆ

• เนื้อจากแล็บ (Cultured meat) การเพาะตัวอย่างเนื้อเยื่อเซลล์สัตว์ให้เพิ่มปริมาณ

• อาหารนวัตกรรมใหม่ อย่างใช้ Nano Food ทำน้ำพริกกะปิผง ซูปเปอร์ฟู้ด อาหารใหม่ๆ ที่ให้สารอาหารสูงกว่า เช่น แมลง สาหร่าย

2. Functional Foods อาหารปกติที่มีการคิดใส่เพิ่มคุณประโยชน์ทางโภชนาการเฉพาะเข้าไปส่งเสริมสุขภาพในด้านต่างๆ และตัดลดสารอาหารที่ให้ประโยชน์น้อยออกไป เช่น นม Lactose Free สำหรับผู้แพ้นมวัว หรือโปรตีนบาร์เพื่อสุขภาพที่เพิ่มคุณประโยชน์โดยใช้โปรตีนจากผงจิ้งหรีดบด

3. Organic Food ผลิตวัตถุดิบอาหารจากการเพราะปลูกพืชผัก ทำฟาร์มปศุสัตว์ ด้วยการใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ที่คำนึงถึงการพึ่งพากันของระบบนิเวศทางธรรมชาติทั้งระบบ ลดหรือไม่พึ่งพาสารเคมี ทำให้ได้วัตถุดิบอาหารที่ปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อน ดีต่อผู้บริโภคและดีต่อสิ่งแวดล้อม

4. Zero Waste Cooking คำนึงถึงการลดขยะเหลือทิ้งจากขั้นตอนสร้างอาหาร ทั้งการเพาะปลูก ขนส่ง แปรรูป ปรุงอาหาร ทำแพคเกจจิ้ง เพราะขยะจากอาหารเหลือทิ้งที่ฝังกลบดินให้เกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติ ก็มีส่วนเพิ่มก๊าซมีเทนที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่ส่งผลต่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้นเช่นกัน

 ธนาคารกรุงไทย เป็นหนึ่งในองค์กรที่ให้การสนับสนุนอาหารแห่งอนาคต ด้วยการส่งเสริมธุรกิจอาหารที่ดำเนินกิจการบนพื้นฐานความยั่งยืน มีการใช้กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีนโยบายส่งเสริมสังคม อาทิ

ส่อง Future Food อาหารเพื่อความยั่งยืน เป็น Mega Trend ที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง

1. บมจ. อุบล ไบโอ เอทานอล (UBE)

 ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลังรายใหญ่ของประเทศ ดำเนินธุรกิจยั่งยืนทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ภายใต้แนวคิด “UBEYOND Sustainability” และโครงการ ”อุบลโมเดลพลัส” เน้นสร้างคุณค่าร่วมให้เกิดขึ้นในทุกกระบวนการตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ นำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์

ส่อง Future Food อาหารเพื่อความยั่งยืน เป็น Mega Trend ที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง

2. บจก. เอ็นซี โค่โค่นัท

 ผู้ส่งออกมะพร้าวน้ำหอมรายใหญ่ของประเทศ นำเปลือกมะพร้าวมาลดความชื้น ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของโรงงานไฟฟ้าชีวมวล นำเปลือกมะพร้าวไปผลิตเป็นทรายแมว และประยุกต์ใช้รองก้นหลุมชามอาหารสุกรเพื่อลดกลิ่น และนำกลับมาแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ปลูกมะพร้าว แบบ Zero Waste นอกจากนี้ยังยกระดับความรู้ให้เกษตรกร และนวัตกรรมใหม่ๆ ขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม “พันธุ์ก้นจีบ” ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสำเร็จเป็นที่แรกของโลก เพื่อดำเนินธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดย ยึดมั่นการดำเนินการด้วยความโปร่งใส ถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ส่อง Future Food อาหารเพื่อความยั่งยืน เป็น Mega Trend ที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง

3.โอ้กะจู๋ บ.ปลูกผักเพราะรักแม่

 ร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่เน้นคุณภาพจากฟาร์มผักออร์แกนิก ชูแนวความคิดเรื่อง Zero Waste คัดแยกขยะเพื่อนำเศษอาหารและเศษต้นไม้จากชุมชน มาหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และนำปุ๋ยไปใช้ในฟาร์มผัก สร้างธุรกิจให้เป็น Organic Cycle พร้อมสนับสนุนให้ความรู้การปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมี และรับซื้อจากเกษตรกรที่ปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ สร้างความสุขให้ลูกค้าได้ทานผักแบบปลอดภัยไร้สาร และสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

ที่มา : Krungthai Care

related