svasdssvasds

ความคืบหน้านโยบาย ไม่เทรวม สิ่งแวดล้อมดีของกทม.ไปถึงไหนแล้ว?

ความคืบหน้านโยบาย ไม่เทรวม สิ่งแวดล้อมดีของกทม.ไปถึงไหนแล้ว?

คนเมืองผลิตอาหารประเภทไหนมากที่สุด นโยบายไม่เทรวมของผู้ว่ากทมฯ ชัชชาติ ไปถึงแล้ว? อยากกแยกเศษอาหารละอยากให้รถเก็บขยะแยกเศษอาหารให้ทำยังไง? Spring สรุปให้

ขยะอาหาร หรือเศษอาหาร เป็นขยะที่มีปริมาณเยอะมาก มากกว่าขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ซะอีก แม้จะดูจัดการง่าย แต่ก็ยากกว่าที่คิดนะ

เมืองไทยถูกยกย่องเป็นห้องครัวของโลก ที่มีแหล่งหาอาหารหรือร้านค้าตลอด 24 ชั่วโมง อาหารก็อร่อย แต่ในแง่ของการจัดการล่ะเราดีหรือเปล่า

สถิติของขยะอาหารที่กทม.เก็บได้ในแต่ละปีมีปริมาณเยอะมาก และยังกำจัดเกือบไม่หมดด้วย บางครั้งร้านค้าก็ทิ้งอาหารลงท่อระบายน้ำสาธารณะด้วย จึงทำให้เกิดการอุกตันของท่อ และเป็นสาเหตุของน้ำท่วมขังได้ในบางพื้นที่

ดังนั้น นโยบายของผู้ว่าคนใหม่อย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธ์ อย่างนโยบายไม่เทรวม จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ด้วยการเปลี่ยนรูปโฉมของรถเก็บขยะใหม่ ให้มีพ่วงข้างสำหรับแยกเศษอาหารด้วย

เพราะก่อนหน้านี้มีความเห็นของประชาชนหลายท่านบอกว่า เห็นรถที่มาเก็บขยะนำขยะไปและเทรวมกัน ไม่ได้คัดแยกให้ จึงไม่แยกให้ เพราะเชื่อว่าสุดท้ายก็ไปเทรวมกันอยู่ดี

เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2565 นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายเอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกของกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาแถลงความคืบหน้านโยบาย สิ่งแวดล้อมดี ของกทม. ว่าตอนนี้ดำเนินการถึงไหนแล้ว ณ ลานข้างสนามหญ้า ภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร

(ซ้าย) นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ (ขวา) นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร

ความคืบหน้านโยบาย ไม่เทรวม สิ่งแวดล้อมดีของกทม.ไปถึงไหนแล้ว?

รายงานเผยว่า กรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะในปี 2564 สูงถึง 8,979 ตันต่อวัน จากการสำรวจภายในกทม.พบว่า คนเมืองผลิตขยะประเภทเศษอาหารมากที่สุด คิดเป็น 45.41% ของประเภทขยะทั้งหมด 16.30% เป็นขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ 11.31% สำหรับกระดาษที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ 4.94% สำหรับกิ่งไม้และใบไม้ 4.15% สำหรับผ้าและสิ่งทอ 2.30% สำหรับแก้ว 1.34% สำหรับโฟม

ดังนั้น ขยะเศษอาหารจึงมีมากเกือบร้อยละ 50 ของขยะทั้งหมด จึงมีการรณรงค์ไม่เทรวมให้กับประชาชนเข้าใจและทำตาม เพื่อการจัดการขยะที่ง่ายมากยิ่งขึ้น ด้วยนโยบายไม่เทรวม และขอความร่วมมือประชาชนแยกขยะทั่วไปกับเศษอาหารตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บ และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อลดปริมาณขยะอาหารในกรุงเทพมหานคร

เส้นทางนำร่องตอนนี้มีอยู่ 3 เขตหลักด้วยกันคือ หนองแขม 1 เส้นทาง พยาไท 3 เส้นทาง และปทุมวัน 3 เส้นทาง เป็นระยะทางทั้งหมด 57.28 กิโลเมตร มีแหล่งกำเนิดขยะทั้งหมด 2,681 จุด และมีจำนวนขยะเศษอาหารทั้งสิ้น 52,905 กิโลกรัม สามารถเทียบได้กับรถขยะ 2 ตัน 16 ตันเรียงต่อกัน (เก็บข้อมูลตั้งแต่ 5 ก.ย.-31 ต.ค. 2565 จำนวนทั้งสิ้น 57 วัน)

ความคืบหน้านโยบาย ไม่เทรวม สิ่งแวดล้อมดีของกทม.ไปถึงไหนแล้ว?

และเพื่อให้การเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สำหรับประชาชนเขตอื่น ๆ ที่มีความต้องการให้รถเก็บขยะแยกเศษอาหารมารับเศษอาหารที่บ้านของตนเองหรือร้านค้า สามารถแจ้งความต้องการผ่าน Traffy Foudue ได้  เราอยากให้ทุกบ้านพร้อมแยกขยะ

แล้วเอกชนล่ะ จัดการเองได้ไหม เป็นไปได้ไหมที่จะมีขยะแยกเศษอาหารหน้าร้านสะดวกซื้อของเอกชน?

ทางกทม.กำลังเร่งดำเนินการพูดคุยว่าเอกชนอยากนำเศษอาหารไปกำจัดเองหรือจะให้กทม.กำจัดให้ ซึ่งถ้ากำจัดเองสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยหรืออาหารสัตว์ได้ แต่หากให้กทม.มารับไปกำจัดก็จะนำไปแปลงเป็นพลังงานแทนได้ นอกจากร้านสะดวกซื้อแล้วจะลงไปคุยต่อกับห้างร้าน โรงพยาบาล โรมแรและสถานประกอบการอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้การจัดการเศษอาหารในกทม.มีความเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

ความคืบหน้านโยบาย ไม่เทรวม สิ่งแวดล้อมดีของกทม.ไปถึงไหนแล้ว? ในภาคของประชาชนสามารถแยกอย่างไรได้บ้าง?

แค่แยกออกเป็น 2 ถุงก็พอสำหรับผู้เริ่มต้นคือ ถุงที่หนึ่งเฉพาะเศษอาหาร ถุงที่ 2 ขยะทั่วไป ถ้าแยกสีของถุงหรือเขียนกำกับไว้ด้วยจะดีมาก หรือใช้ถุงโปร่งใส่ในการแยกขยะไปเลยยิ่งดี คนเก็บจะได้มองเห็นด้านในว่าคือขยะประเภทไหน และเพื่อความสะดวกในการกำจัดที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

หรือใครมีพลาสติกในมือเยอะมาก แต่ไม่อยากให้สูญเปล่า สามารถเลือกส่งไปทำประโยชน์ในด้านอื่น ๆได้ กับองค์กรที่รับจัดการขยะกำพร้ากับขยะพลาสติกได้ อาทิ N15, วน, Greenroad และ Qualy เป็นต้น

related