มีการคาดการณ์ว่า หากเจ้าชายชาร์ลส์ขึ้นครองราชย์เมื่อใด จะกลายเป็นกษัตริย์เชิงนิเวสคนแรกในศตวรรษที่ 21 ในด้านของการรณรงค์แก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนมากที่สุด
8 ก.ย.2022 ราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษได้สวรรคตลงแล้วด้วยอาการสงบ เวลา 18.30 น. ตามเวลาอังกฤษ ทำให้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งแทนลำดับต่อไป คือ เจ้าชายชาร์ลส์ที่ 3 ซึ่งก็ทำให้เจ้าชายชาร์ลส์กลายเป็นที่จับตามองของประชาชนว่า จะปกครองประเทศต่อจากราชินีเอลิซาเบธอย่างไร?
และเป็นที่น่าสนใจมากที่ทั้ง 2 พระองค์ คือ พระราชินีเอลิซาเบธและเจ้าชายชาร์ลส์ได้มีบทบาทในด้านของสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด และเมื่อปี 2021 การประชุมสุดยอดผู้นำโลกในการหารือแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ COP26 ที่ทางสหราชอาณาจักรก็ได้เป็นเจ้าภาพด้วย ในด้านของพิธีเปิดงาน ได้รับเกียรติจากกษัตริย์ชาร์ลที่3 ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ในการกล่าวสุนทรพจน์เปิดงานครั้งนั้นด้วย
พระองค์ทรงมีบทบาทด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเด่นชัด และยังคงตั้งมั่นว่าจะส่งต่อและสั่งสอนลูกหลายของตน ให้เน้นช่วยเหลือประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมให้ถึงที่สุด สิ่งที่เจ้าชายชาร์ลส์ต้องการมากที่สุดคือความยั่งยืน (Sustainable)
ในการประชุม COP26 พระองค์ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ ว่า การระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ได้แสดงให้เห็นถึงความหายนะของภัยคุกคามข้ามพรมแดนทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไม่แตกต่างกัน อันที่จริงพวกมันเป็นภัยคุกคามต่อการเป็นอยู่ที่ยิ่งใหญ่ และมันก็เหมือนสงครามเข้าไปทุกที
ชาร์ลส์กล่าวเพิ่มเติมในประเด็นของเขาว่าเราจำเป็นต้องลดการปล่อยมลพิษโดยด่วนและดำเนินการเพื่อ "จัดการกับคาร์บอนที่มีอยู่แล้วในชั้นบรรยากาศรวมถึงจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง"
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตั้งข้อหาชายถือหน้าไม้บุกปราสาทวินด์เซอร์ พระราชฐานควีนอลิซาเบธที่ 2
กษัตริย์ซาอุฯ และมกุฎราชกุมาร ไว้อาลัยแก่การสวรรคตของควีนเอลิซาเบธที่ 2
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เบื้องหลังของประวัติศาสตร์ ‘นวัตกรรมและเทคโนโลยี’
“การให้คุณค่ากับคาร์บอน ซึ่งจะทำให้โซลูชันการดักจับคาร์บอนประหยัดมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง” เขากล่าว และเรียกร้องให้มีการเร่งการแก้ปัญหานี้โดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องให้แก้ปัญหาระดับโลกด้วยการอาศัยการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในปัจจุบัน ซึ่งมนุษย์เรากำลังใช้กันอย่างสุดขั้ว พระองค์จึงขอให้หาระบบที่จะนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น แม้รู้ว่าจะต้องใช้เงินหลายล้านล้านดอลลาร์ก็ตาม
“หลังจากวิวัฒนาการหลายพันล้านปี ธรรมชาติคือครูที่ดีที่สุดของเรา ในเรื่องนี้ การฟื้นฟูทุนทางธรรมชาติ การเร่งการแก้ปัญหาด้วยธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจชีวภาพแบบหมุนเวียนจะมีความสำคัญต่อความพยายามของเรา”
ซึ่งในด้านนี้หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ที่ผ่านมา เจ้าชายชาร์ลส์พยายามสร้างความยั่งยืนหลายด้านให้กับอังกฤษ และท่านเคยถูกมองว่าเป็นคนแปลกหน้าที่มาพูดเรื่องพืช แต่ในท้ายที่สุดเขาก็ส่งต่อประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เขาค้นพบให้กับ COP26 ด้วย
ต่อไปนี้คือ กิจกรรมโดยประมาณที่เจ้าชายชาร์ลส์มีต่อประเด็นสิ่งแวดล้อม ลองมาย้อนดูผลงานความกรีนของพระองค์กันหน่อยว่า ที่ผ่านมา กษัตริย์ชาร์ลที่ 3 มีบทบาทด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
เล่นสกี จนเกิดไอเดีย
ในทุก ๆ ช่วงวันหยุด เจ้าชายชาร์ลส์มักจะไปเล่นสกีที่คลอสเตอร์ (Klosters) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์และท่านไปเล่นแบบนี้มานาน 30 ปีแล้ว กิจกรรมนี้ทำให้เขาเริ่มตระหนักมากขึ้นเรื่องโลกร้อน เพราะนักวิทยาศาสตร์บางคนได้คาดการณ์ไว้ว่า 90% ของธารน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์จะละลายหมดในสิ้นศตวรรษนี้ และบางคนก็บอกว่าการเล่นสกีนั้นเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม นั่นจึงทำให้พระองค์เลือกสวิตเซอร์แลนด์บริเวณทางเหนือในการให้ทุนสนับสนุนการท่องเที่ยวที่มีการรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีอัตราการรีไซเคิลพลาสติกมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป
พระราชวังสุดหรู
อย่างที่รู้ ๆ กันว่า เคหะสถานของราชวงศ์นั้น ประเทศไหน ๆ ก็มีเยอะมาก แต่สำหรับเจ้าชายชาร์ลส์มองว่า การมีบ้านหลายแห่ง บางแห่งก็ไม่ใช้งาน และก็ใช้แม่บ้านจำนวนมากในการดุแลบ้านแต่ละหลัง และเกือบทุกครั้งบางหลังก็ใช้พลังงานไปอย่างสิ้นเปลืองแม้พระองค์ไม่ได้เสด็จไปประทับ พระองค์จึงคิดว่า อาจจะดีกว่า ถ้าเปลี่ยนบ้านบางแหงไปเป็นที่พักอาศัยขนาดใหญ่ เพราะในอังกฤษยังมีคนไร้บ้านเยอะอยู่
ในอีกด้านหนึ่งที่ประทับของพระองค์เองนั้น โอ่อ่าและต้องยอมรับว่า เจ้าชายพยายามคิดอย่างหนักว่าจะทำอย่างไรให้การจัดการทรัพยากรในบ้าน เกิดความยั่งยืนมากที่สุด และต้องได้รับการตรวจสอบตามหลักจริยธรรมด้วย พระองค์จึงสั่งให้นำกระดาฝอย แก้ว กระป๋องจำนวนมากและตลับหมึกพิมพ์ทั้งหมดไปรีไซเคิล และมีระบบบำบัดน้ำเสีย และพยายามออกแบบให้ที่พักปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้พระองค์ยังคัดค้านฟาร์มกังหันลมด้วย
สถาปัตยกรรม
สภาพแวดล้อมของเมืองก็เป็นสิ่งสำคัญ Poundbury เป็นหมู่บ้านทดลองในการผสมผสานการใช้ที่ดินและรูปแบบเมืองที่มีถนนคดเคี้ยว แม่จะมีรถยนต์แต่ก็มีน้อย คนในเมืองนี้สามารถเดินด้วยเท้าได้อย่างสะดวก ทำให้ลดการปล่อยก๊าซจากยานยนต์ลงไปได้
นอกจากนี้ ขอบหน้าต่างยังทรงแนะนำผู้อยู่อาศัยให้ใช้หน้าต่างไม้มากกว่า PVC แม้ว่าหน้าต่าง PVC เป็นวีที่ดีกว่าในการลดการสูญเสียความร้อน แต่หน้าต่างไม้มีความทันสมัยกว่า มีประสิทธิภาพสูง บำรุงรักษาน้อยและอายุยืนยาวกว่า และ PVC ทำให้เกิดมลภาวะทางเคมี
อาหารและการเกษตร
พระองค์ได้ทำ Home Farm ที่ Highgrove เป็นศูนย์กลางอาหารออร์แกนิก และเปิดแบรนด์ส่วนพระองค์ที่ชื่อว่า Duchy Originals สร้างยอดขายได้ถึง 40 ล้านปอนด์ ประเภทธุรกิจจะเป็นขายปลีกอาหารที่หลากหลายประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอาง (ทำจากสารสกัดจากพืชธรรมชาติ) กำไรที่ได้บางส่วนจะถูกส่งไปยังองค์กรการกุศล ยานพาหนะที่ใช้ในฟาร์มก็ต้องไอโบดีเซล ไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนบนพื้นดิน และมีต้นไม้หลายพันต้น ถูกปลูกไว้ตั้งแต่ริเริ่มกิจการ
การเดินทาง
การเดินทางในแต่ละครั้งเป็นจุดอ่อนที่ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ เพื่อให้ตามพระราชกรณียกิจสีเขียว พระราชินีเสด็จเดินทางระยะไกลบ่อยครั้ง และเจ้าชายชาร์ลส์เองก็ได้ไปเยือนหลายประเทศด้วย เช่น อิตาลี ตุรกี ตอร์แดน ศรีลังกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ สเปน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา บอสเนีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยอรมนีและเนเธอแลนด์ ซึ่งการเดินทางในแต่ละครั้งเดินทางด้วยเครื่องบิน ซึ่งการเดินทางทั้งหมดของพระองค์มีทั้งสิ้น 77,177 กม. และพระองค์ต้องรับผิดชอบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากเที่ยวบินอย่างน้อย 8.49 ตันตามการประมาณการของรัฐบาล
ท้ายนี้ ในงาน COP26 เจ้าชายชาร์ลส์ได้ปราศรัยต่อหน้าผู้นำทั่วโลกว่า “ดวงตาและความหวังของโลกกำลังจับตามองคุณที่จะต้องลงมือทำอย่างเต็มที่และเด็ดขาด เพราะเวลาใกล้หมดลงแล้ว”
ในความเป็นจริงแล้ว เจ้าชายชาร์ลส์ไม่เหมือนกับคนอื่น ๆ ไม่มีอำนาจเหนือกฎหมายหรือมีงบประมาณอย่างแท้จริง แต่ด้วยพระชนมายุ 72 ปีในชุดสีแดงทำให้เขามีพลังค่อนข้างมากในการเรียกร้องเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในศตวรรษนี้ ถ้าหากได้ขึ้นครองราชย์สักวันหนึ่งในฐานะกษัตริย์เชิงนิเวศคนแรกของศตวรรษที่ 2
ที่มาข้อมูล
https://www.cnbc.com/2021/11/01/prince-charles-calls-for-war-like-footing-in-speech-at-cop26.html
https://www.nbcnews.com/news/world/cop26-prince-charles-warn-world-act-climate-change-rcna4217
https://www.theguardian.com/environment/2005/oct/28/themonarchy.g2