นักวิชาการไทยเตือน ไทยเสี่ยงเจอมรสุม ฝนตกหนักกว่าเดิมและเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่อาจมากกว่าปี 2554 เนื่องจากปริมาณฝนสะสมมากกว่าปกติ ลานีญาที่แข็งแกร่งขึ้น โลกร้อนขึ้น
ทำไมช่วงนี้ฝนตกบ่อย น้ำท่วมขังนาน รถก็ติด ปัญหาทั้งหมดนี้มีที่มา เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ได้โพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัวใจความว่า
# ความเสี่ยงสูงน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2565 ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก !!!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หลายประเทศทั่วโลก ผจญ Global Warming ทั้ง "ไฟป่า" "อากาศร้อน" และ "ภัยแล้ง"
น้ำท่วมเกาหลีใต้ กรุงโซล ฝนตกหนักสุดรอบ 80 ปี สะท้อนภาวะโลกที่เปลี่ยนไป
ระวัง กรุงเทพฯฝนตกหนักมาก 7-9 ส.ค.65 นี้ และอาจเกิดน้ำท่วมขัง
อ.ธรณ์ ชี้ ภาวะโลกร้อน เกี่ยวข้องทุกปัญหา น้ำท่วมกทม. - ญี่ปุ่นร้อนจัด
ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ทำให้สถานการณ์รุนแรง หรือเบาลงประกอบไปด้วย
นอกจากนี้ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญอีกท่านหนึ่ง อย่างอาจารย์ สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมก็โพสต์ลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ในประเด็นเดียวกันนั่นก็คือ กรุงเทพฯเตรียมรับมือ Extream rainfall หรือฝนจะตกหนักขึ้นกว่าเดิมจากปรากฎการณ์ลานิญญาที่ยาวนานขึ้นและแข็งแกร่งขึ้น ใจความว่า
Extreame rainfall..ใกล้มาถึงกรุงเทพแล้ว
1.ปรากฎการณ์ที่ฝนตกหนักในพื้นที่บางแห่งได้เริ่มเกิดขึ้นให้เห็นเป็นประจำโดยเฉพาะในเขตกทม. สมุทรปราการและจังหวัดที่ใกล้กับทะเลแล้ว สาเหตุสำคัญมาจากปัจจัย3อย่างคือโลกร้อนขึ้น+ปรากฎการณ์ลานิญา+ฤดูของลมมรสุม...
ปัจจุบันโลกร้อนขึ้นจากช่วงก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรมถึง1.2องศาเซลเซียสทำให้มีไอน้ำจากทะเล(water vapor) ระเหยขึ้นถึง7% จากก่อนยุคอุตสาหกรรม น้ำจากทะเลและมหาสมุทรระเหยกลายเป็นเมฆบนท้องฟ้าเมื่อมีปริมาณมากจะรวมตัวกลายเป็นเมฆฝนครึ้มลอยเข้าฝั่งตามทิศทางลม
หากลมแรงก็ลอยลึกเข้าไปอีก มาเจออากาศที่เย็นกว่าทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นฝนตกลงมายิ่งผสมกับสภาวะลานีญาซึ่งเป็นภาวะที่น้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิคร้อนขึ้นและพัดมายังฝั่งตะวันตกแถบอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ทำให้เกิดเมฆฝนในมหาสมุทรมากขึ้นและเป็นเหตุให้พื้นที่ใกล้เคียงมีฝนตกหนักมากขึ้นไปอีก ยิ่งหากเป็นช่วงฤดูมรสุมด้วยแล้วลมจะพัดพาเอาไอน้ำเข้าฝั่งมากขึ้นด้วยหากกลายเป็นเป็นพายุโซนร้อนหรือพายุดีเปรสชั่นหรือความกดอากาศต่ำทำให้ฝนตกบนฝั่งรุนแรงมากขึ้นไปอีกเท่าตัว
.................................
2.พื้นที่เป็นเมืองมีตึกสูงจำนวนมากหรือเป็นที่ราบลุ่มมีต้นไม้จำนวนมากอยู่ใกล้ทะเลและเป็นร่องลมพัดผ่าน จะเกิดปรากฎการณ์ฝนตก หนักมากเพราะอาคารสูงต่างๆและต้นไม้หนาแน่นจะลดความเร็วของลมลง จึงทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นหย่อมๆในเมืองดังกล่าวเกิดน้ำท่วมหนักได้ ดังเช่นกรุงโซลเกาหลีใต้ บางเมืองในประเทศจีนและบังคลาเทศ
................................
3.ปีนี้ปรากฎการณ์ลานีญาเกิดขึ้นเกือบตลอดปี2565 กรุงเทพและสมุทรปราการเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมสูงเนื่องจากมีปัจจัยครบคืออยู่ในร่องมรสุม ใกล้ทะเล อาคารสูงจำนวนมากและสภาวะลานิญาที่ทำให้ฝนตกหนัก+น้ำทะเลหนุน+น้ำเหนือไหลหลาก +อยู่ในที่ลุ่มต่ำ ดังนั้นช่วงปลายเดือนสิงหาคมและกันยายนมีความเสี่ยงในเรื่องน้ำท่วม..ซึ่งต้องรีบป้องกันอย่างเร่งด่วน
................................
4.จากการคาดการณ์ด้วยclimate change model พบว่าประเทศไทยจะได้รับความเสี่ยงจากฝนตกหนัก80-100%จากที่เคยเกิดขึ้นในอดีตซึ่งช่วงนี้ฝนตกที่ภาคเหนือและอีสานหนักมากน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาที่ชัยนาทและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่จังหวัดลพบุรีมาเจอกันที่อยุธยาไหลมายังปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพและออกอ่าวไทยที่สมุทรปราการ หากอยุธยาและปทุมธานีรับไม่ไหวกรุงเทพคงไม่รอดแน่