ถ้าทำธุรกิจแล้วไม่ใส่ใจเรื่องการจัดการของเสีย ลดการสร้างมลภาวะ ไม่คำนึงถึง "ความยั่งยืน" อนาคตจะไม่มีใครค้าขายด้วย! ยิ่งในยุค(หลัง)โควิด ธุรกิจ Food Delivery เฟื่องฟู แต่ขยะท่วมท้นอย่างหนัก SPRiNG จึงนำเทรนด์แพ็กเกจจิงอาหารมาบอกต่อ
จะกินข้าวนอกบ้านหรือสั่งมากินที่บ้านก็ตาม แพ็กเกจจิงอาหาร ที่ใช้บ่งบอกได้ว่าคุณใส่ใจเรื่อง ความยั่งยืน หรือไม่ และถ้าคุณให้ความสำคัญในเรื่องนี้แล้ว คนในแวดวงธุรกิจอาหารควรใส่ใจยิ่งกว่า
ชวนดู 8 เทรนด์แพ็กเกจจิงอาหารที่ผู้ประกอบการต้องเอาใจลงไปเล่น
ความยั่งยืน (Sustainability) เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคเจน Z เช่น หากเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีบริการ Food Delivery อาจเลือกใช้แพ็กเกจจิงที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลมากขึ้น โดยลองเปลี่ยนจากการใช้แพ็กเกจจิงพลาสติกเป็น วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ อย่างกระดาษ หรือป่าน หรือถ้าเป็นผู้ผลิตแพ็กเกจจิง อาจผลิตแพ็กเกจจิงที่มีขนาดเล็กลงก็จะประหยัดวัสดุได้มากขึ้น
นอกจาก QR Code ที่เราเริ่มคุ้นเคย อาจใช้เทคโนโลยี AR ช่วยสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้แก่ลูกค้า หรือทำให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้นด้วย Near Field Communication (NFC) เทคโนโลยีสื่อสารระยะสั้นแบบไร้สาย ที่ผู้บริโภคสามารถนำสมาร์ทโฟนที่มี NFT ไปอยู่ใกล้ๆ ฉลากสินค้าที่ติดเทคโนโลยี NFC เอาไว้ ก็จะเห็นข้อมูลสินค้าที่ละเอียดยิ่งขึ้น หรือในด้านการชำระเงิน สามารถใช้สมาร์ทโฟนที่เปิดใช้งาน NFC ได้ สแกนจ่ายกับเครื่องรูดบัตรที่ติดตั้ง NFC ได้เช่นกัน
แพ็กเกจจิงที่ดีควรเห็นฉลากและแสดงข้อมูลชัดเจน ข้อนี้ผู้ประกอบการสามารถสื่อสารผ่านแพ็กเกจจิงอาหารได้ ด้วยข้อความที่อ่านได้ชัดเจน เลี่ยงการใส่เชิงอรรถหรือข้อความตัวเล็กๆ จิ๋วๆ ในลักษณะข้อความแฝง ร่วมกับการใช้แพ็กเกจจิงที่มีความใส มองเห็นอาหารหรือวัตถุดิบที่อยู่ภายใน สะท้อนถึงความจริงใจ ความโปร่งใสในการทำธุรกิจ
............................................................................
อ่านเพิ่มเติมเรื่องอาหารกับการสร้างความยั่งยืน
............................................................................
การเพิ่ม Personalization ลงในแพ็กเกจจิงอาหาร เป็นการเพิ่มความเฉพาะเจาะจงเพื่อดึงดูดความสนใจ ตลอดจนทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต เช่น การใส่ชื่อ งานอดิเรก อาชีพ ดีไซน์ที่เป็นสัญลักษณ์ ข้อความ ฯลฯ ลงบนแพ็กเกจจิง รวมถึงการใช้ Digital Printing พิมพ์ฉลากดิจิทัลออกมาตามรูปแบบที่ต้องการ เพื่อบ่งบอกตัวตนหรือความชอบ
เทรนด์ข้อนี้เป็นการทำให้พกอาหาร หรือรับส่งอาหารสะดวกยิ่งขึ้น โตไปกับเทรนด์ Food Delivery ทั้งยังสอดคล้องกับการที่มนุษย์เดินทางไปไหนมาไหน ไม่อยู่กับที่ เช่น แพ็กเกจจิงสำหรับ McBike ของ McDonald ที่ออกแบบมาตั้งแต่ 2015 ให้ผู้ขับขี่จักรยานสามารถหิ้วเบอร์เกอร์ ของทอด และเครื่องดื่มได้สะดวกๆ ด้วยการสอดกล่องเข้าไปในแฮนด์จักรยานได้เลย
หรือแพ็กเกจจิงแบบใช้ซ้ำของ PriestmanGoode แบรนด์ที่วิจัยวัสดุและออกแบบแพ็กเกจจิงสำหรับระบบส่งอาหาร เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ ซึ่งก็คือ ภาชนะพลาสติกชีวภาพที่ส่งคืนไปยังร้านอาหารที่ซื้อกลับมากินที่บ้านได้ ในด้านแนวคิดภาชนะรูปชามข้าวนี้ ทำมาจากเปลือกเมล็ดโกโก้ ไมซีเลียม และเปลือกสับปะรด ที่ออกแบบเป็นกล่องข้าววางซ้อนกันเหมือนปิ่นโต โดยใช้ฐานของอันหนึ่งเป็นฝาของอีกอันหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องมีฝาเพื่อแยกปิดแต่ละชั้นเพิ่มมาอีก
มินิมอล (Minimalism) เป็นอีกเทรนด์ที่มาแรงและสร้างกำไรให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจได้ ด้วยการออกแบบฉลากที่ไม่รก ดีไซน์ไม่ซับซ้อนจนเกินไป ขอแค่บนแพ็กเกจจิงอาหารแสดงข้อมูลสำคัญๆ ได้อย่างชัดเจน ไม่ดูเยอะดูล้น ลูกค้าก็ประทับได้
ดีไซน์สไตล์วินเทจช่วยให้สัมผัสได้ถึงความเรียบง่ายและความสงบสุขของวันวาน ข้อนี้จะเหมาะอย่างยิ่งหากคุณทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เคยใช้งานในอดีต สินค้าเกี่ยวกับผู้สูงอายุหรือตอบโจทย์สังคมสูงวัย หรือไม่ต้องถึงช่วงอายุดังกล่าว การพาผู้บริโภคที่เป็นวัยรุ่น วัยทำงาน ย้อนเวลาผ่านแพ็กเกจจิงอาหารที่ใส่ความโมเดิร์นลงไป อาจช่วยดึงดูดความสนใจและทำให้พวกเขามาเป็นลูกค้าในอนาคตได้
อีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจสำหรับการออกแบบแพ็กเกจจิงคือ การไล่ระดับสี ด้วยการใช้สีสันที่สดใสและสนุกสนานเพื่อให้แบรนด์โดดเด่นกว่าคู่แข่ง มาไล่ระดับเพื่อเพิ่มความซับซ้อน ดึงดูดสายตา ชวนค้นหา และเพิ่มมิติให้แพ็กเกจจิงอีกด้วย
............................................................................
ที่มา
............................................................................