svasdssvasds

นิด้าโพล เผย ปชช. ส่วนใหญ่เห็นด้วย จัด 7 สถานที่สำหรับชุมนุม ใน กทม.

นิด้าโพล เผย ปชช. ส่วนใหญ่เห็นด้วย จัด 7 สถานที่สำหรับชุมนุม ใน กทม.

"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจพบ คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ หนุนแนวคิด กทม. ไฟเขียว 7 สถานที่ จัดการชุมนุม ชี้ ไม่สร้างความเดือดร้อน กีดขวางจราจร แนะผู้ว่าฯ ชัชชาติ ดำเนินการตามกฎหมาย หากพบฝ่าฝืน

"นิด้าโพล" เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “กทม. ไฟเขียว 7 สถานที่จัดชุมนุมได้” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง 

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อคำสั่งผู้ว่าฯ กทม. ในการจัดให้มีสถานที่ใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ 7 แห่ง ในกรุงเทพฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 

  • ร้อยละ 54.89 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการจัดระเบียบให้การชุมนุมอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ไม่กีดขวางการจราจร และเจ้าหน้าที่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถแสดงออกทางความคิดได้ 
  • รองลงมา ร้อยละ 29.16 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ ทำให้การชุมนุมเป็นระเบียบ ไม่วุ่นวาย เจ้าหน้าที่สามารถดูแลและควบคุมได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน 
  • ร้อยละ 9.16 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ทำให้เกิดการชุมนุมบ่อยครั้งขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง อาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท และความขัดแย้งในสังคม
  • ร้อยละ 6.71 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ การชุมนุมสร้างความวุ่นวาย ทำให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อน กังวลว่าเจ้าหน้าที่จะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า กังวลว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จากการชุมนุม 
  • และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

นิด้าโพล เผย ปชช. ส่วนใหญ่เห็นด้วย จัด 7 สถานที่สำหรับชุมนุม ใน กทม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

สิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม. ควรดำเนินการ หากมีการชุมนุมที่ไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่จัดไว้ให้ แต่ไปอยู่บนท้องถนนแทน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง                                       

  • ร้อยละ 40.08 ระบุว่า ไม่อำนวยความสะดวกในการชุมนุม (เช่น ไม่จัดห้องน้ำให้) และดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ชุมนุม 
  • รองลงมา ร้อยละ 36.79 ระบุว่า อำนวยความสะดวกในการชุมนุมเหมือนเดิม 
  • ร้อยละ 22.44 ระบุว่า ไม่อำนวยความสะดวกในการชุมนุม (เช่น ไม่จัดห้องน้ำให้) เท่านั้น 
  • และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ กทม. ในการควบคุมการชุมนุมในกรุงเทพฯ ให้เป็นไปตามประกาศ กทม. เรื่อง จัดให้มีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ พบว่า ตัวอย่าง 

  • ร้อยละ 36.18 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา 
  •  ร้อยละ 26.26 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น 
  • ร้อยละ 22.60 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก 
  • ร้อยละ 14.65 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย 
  • และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ที่มา 

นิด้าโพล