svasdssvasds

ส่อง 18 หมวดสินค้า-บริการ ถ้าขึ้นราคาสูง-บ่อย ความเชื่อมั่นรัฐบาลจะระส่ำ

ส่อง 18 หมวดสินค้า-บริการ ถ้าขึ้นราคาสูง-บ่อย ความเชื่อมั่นรัฐบาลจะระส่ำ

เปิด 18 หมวดสินค้า-บริการ ที่หากขึ้นราคาสูง-บ่อยเกินไป จะพาให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลระส่ำ

จากสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ทั้งจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงักทันที และภาวะสงครามที่ต่อเนื่องมาจากการสู้รบระหว่างยูเครนและรัสเซีย ทำให้ราคาสินค้าต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เงินในมือประชาชนมีมูลค่าน้อยลงกลายเป็นภาวะเงินเฟ้อตามมา

SPRiNG จะชวนคุณมาดู 18 หมวด สินค้าและบริการ ที่หากปรับราคาขึ้นสูงหรือบ่อยเกินไปจะทำให้ความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อรัฐบาลลดลง จากประกาศมาตรลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ที่กระทรวงพาณิชย์ ออกมา

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ส่อง 18 หมวดสินค้า-บริการ ถ้าขึ้นราคาสูง-บ่อย ความเชื่อมั่นรัฐบาลจะระส่ำ

18 หมวดสินค้า-บริการ ที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน

  1. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  2. หมวดอาหารสด
  3. อาหารกระป๋อง
  4. ข้าวสารถุง
  5. ซอสปรุงรส
  6. น้ำมันพืช
  7. น้ำอัดลม
  8. นมและผลิตภัณฑ์จากนม
  9. เครื่องใช้ไฟฟ้า
  10. ผลิตภัณฑ์ซักล้าง
  11. ปุ๋ย
  12. ยาฆ่าแมลง
  13. อาหารสัตว์
  14. เหล็ก
  15. ปูนซีเมนต์
  16. กระดาษ
  17. ยา เวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์
  18. บริการผ่านห้าง ค้าปลีก-ส่ง

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกชีวัดออกมาผ่านสิ่งที่เรียกว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค” ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงถึงทัศนคติของผู้บริโภคต่อตลาดแรงงาน ภาวะเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายในอนาคต โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง

หากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจในอนาคตยังคงมีแนวโน้มที่ดี ผู้บริโภคก็จะใช้จ่าย และลงทุนเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นไปด้วย ในทางกลับกันหากผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่น กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตก็จะลดลงตามไปด้วย

นั่นแปลว่าถ้าสินค้า-บริการปรับขึ้นราคา คนก็จะอยากซื้อของ-จับจ่ายใช้สอยลดลง และเมื่อลดลงก็จะทำให้ดัชนีชีวัดลดลงตามไปด้วย

ข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมีนาคม 2565 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.8 เทียบกับระดับ 44.6.ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคตก็ปรับลดลงเช่นกัน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวลดลงจากระดับ 35.1 มาอยู่ที่ระดับ 34.5 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดลงจากระดับ 50.9 มาอยู่ที่ระดับ 50.0

เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ.ที่ยังมีความเสี่ยงจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย–ยูเครน ราคาน้้ามันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้น และราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นประกอบกับ สถานการณ์โควิด-19 ที่ยังระบาดอยู่

หากย้อนกลับไปในช่วงที่โควิด-19 ระบาดรอบแรก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ลดลงไปอยู่ที่ 33.3 ช่วงเวลานั้นผู้คนต่างตั้งคำถามและขาดความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลเองก็พยายามออกนโยบายให้ดชนีชี้วัดนี้กลับขึ้นมาด้วยนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน เรารักกัน

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค มี.ค. 65

ตรึงราคาแต่จะตรึงได้นานแค่ไหน ?

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาสินค้า เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 65 ว่า เป็นผลกระทบมาจากราคาน้ำมัน เรื่องนี้รัฐบาลได้ช่วยในการตรึงราคาในระยะเวลาหนึ่งตอนนี้เป็นการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายที่จะต้องดำเนินการ ที่สำคัญต้องรับความจริงว่า เมื่อมีการปรับราคาน้ำมันจะมีผลกระทบต่อต้นทุนและค่าขนส่งสินค้า จะไปกระทบกับราคาสินค้าที่จำหน่ายให้กับผู้บริโภคด้วย

"ที่ต้องช่วยดูให้ดีที่สุดคือสินค้าที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีอยู่ 18 รายการ จะพยายามช่วยยืดระยะเวลาอั้นให้ได้นานที่สุด แต่บางตัวก็จำเป็น กรมการค้าภายในช่วยดูลึกลงไปในรายละเอียด เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขณะนี้ยังไม่มีการอนุมัติให้สินค้ารายการใดปรับราคาขึ้น สำหรับ 18 รายการนี้”

ต้องจับตามองต่อว่าหลังจากนี้ 18 หมวดสินค้านี้จะตรึงราคาไม่ให้ขึ้นไว้ได้นานแค่ไหน เพราะยิ่งตรึงราคาผู้ประกอบการเองก็ยิ่งได้รับผลกระทบ แต่ถ้าไม่ตรึงราคาผู้บริโภคเองก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน