svasdssvasds

7 พื้นที่เฝ้าระวังน้ำเพิ่มสูง 0.20 - 0.40 เมตร ช่วงวันที่ 23 - 30 ต.ค.

7 พื้นที่เฝ้าระวังน้ำเพิ่มสูง 0.20 - 0.40 เมตร ช่วงวันที่ 23 - 30 ต.ค.

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เปิดเผย 7 พื้นที่เสี่ยง ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำเพิ่มสูงกว่าเดิม 0.20 - 0.40 เมตร ในช่วงวันที่ 23 - 30 ต.ค. 64 นี้ มีที่ไหนบ้างเช็กได้เลย!

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ในช่วงวันที่ 14 - 17 ต.ค. 64 ส่งผลให้มีฝนตกหนัก บริเวณลุ่มน้ำปีง เจ้าพระยา สะแกกรัง ท่าจีน และป่าสัก ทำให้เกิดน้ำไหลล้นทางระบายน้ำลันเขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี รวมทั้งทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิง แม่น้ำสะแกกรัง แม่น้ำป่าสัก คลองชัยนาท-ป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช. ได้ประเมิน และวิเคราะห์ปริมาณฝนตก (ONE MAP) ร่วมกับ กรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คาดการณ์ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากแม่น้ำปิง จะทำให้มีน้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เพิ่มสูงสุดจากอัตรา 2,484 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 3,000 - 3,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 22 ต.ค. 64 โดยจะบริหารจัดการน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา ด้วยการหน่วงน้ำและผันน้ำเข้าคลองต่าง ๆ ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท อยู่ในเกณฑ์ 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนเจ้าพระยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ประมาณ 0.20 -0.40 เมตร ในช่วงวันที่ 23-30 ต.ค. 64 ดังนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1.จังหวัดนครสวรรค์ บริเวณตำบลย่านมัทรี ตำบลยางขาว ตำบลน้ำทรง ตำบลพยุหะ และตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี

2.จังหวัดอุทัยธานี บริเวณตำบลท่าซุง ตำบลเกาะเทโพ และตำบลหาดทนง อำเภอเมืองอุทัยธานี

3.จังหวัดชัยนาท บริเวณตำบลชัยนาท ตำบลบ้านกล้วย ตำบลท่าชัย ตำบลในเมือง ตำบล

เขาท่าพระ ตำบลหาดท่าเสา และตำบลธรรมมูล อำเภอเมืองชัยนาท ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ ตำบลคุ้งสำเภา ตำบลวัดโคก ตำบลศิลาดาน และตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ ตำบลโพนางดำออก และตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา

4.จังหวัดสิงห์บุรี บริเวณตำบลประศุก ตำบลชีน้ำร้าย ตำบลอินทร์บุรี ตำบลท่างาม ตำบล

ทับยา และตำบลน้ำตาล ตำบลโพกรวม ตำบลบางกระบือ ตำบลบางมัญ ตำบลบางพุทรา ตำบลต้นโพธิ์ ตำบลม่วงหมู่ และอำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี ตำบลหัวป่า ตำบลพรหมบุรี ตำบลโรงช้าง ตำบลบ้านแป้ง ตำบลบางน้ำเชี่ยว ตำบลพระงาม และตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี

5.จังหวัดอ่างทอง บริเวณตำบลราชสถิต ตำบลชะไว ตำบลไขโย ตำบลหลักฟ้า ตำบลชัยฤทธิ์

ตำบลไชยภูมิ ตำบลเทวราช และตำบลจระเข้ร้อง อำเภอไซโย ตำบลป่าโมก ตำบลบางปลากด ตำบลโรงช้าง ตำบลบางเสด็จ และตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก

6.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณคลองบางบาล และแม่น้ำน้อย บริเวณตำบลหัวเวียง

อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด และตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ ตำบลบ้านกุ่ม ตำบลไทรน้อย ตำบลบางบาล ตำบลบางชะนี ตำบลบางหัก และตำบลบางหลวงโดด อำเภอบางบาล

7.จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

7 พื้นที่ระวังน้ำเพิ่มสูง

สำหรับแม่น้ำท่าจีน มีปริมาณน้ำไหลล้นข้ามทางระบายน้ำล้น เขื่อนกระเสียว และไหลไปสมทบกับ ปริมาณน้ำท่ที่เกิดจากฝนตกด้านท้ายเขื่อน ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงแม่น้ำท่าจีน 150-200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ทั้งนี้จะบริหารจัดการโดยผันน้ำเข้าทุ่งโพธิ์พระยา เพื่อลดปริมาณน้ำหลาก ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำท่าจีน ตั้งแต่จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ประมาณ 0.30 - 0.50 เมตร ในช่วงวันที่ 20-27 ต.ค. 64

 

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1.ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงและพื้นที่ที่ยังคง

มีสถานการณ์น้ำท่วมขังอยู่ แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนล่วงหน้า พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่จีน เตรียมพร้อมรับมือต่อไป

2.ตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำ พร้อมทั้งตรวจสอบความแข็งแรงและจุดรั่วซึมของแนวป้องกันน้ำท่วม และดำเนินการซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้เพื่อป้องกันระดับน้ำล้นข้ามแนวคันกั้นน้ำ

3.ปรับแผนบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและเร่งระบายน้ำ

ในลำน้ำ แม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนเพื่อลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัยและให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

4.เตรียมแผนรองรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ

รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

 

ประกาศน้ำท่วม

ประกาศน้ำท่วม

ที่มา กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ