ช่วงนี้ฝนตกหนักหลายพื้นที่เริ่มประสบกับปัญหาน้ำท่วม มาดูวิธีเตรียมพร้อมก่อนน้ำท่วม เพื่อความปลอดภัยของชีวิต และลดการสูญเสียกันเถอะ
การเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือน้ำท่วมจากฝนตกหนัก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ที่เคยมีน้ำท่วมมาก่อน หรือพื้นที่เสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นที่ราบลุ่มและริมแม่น้ำ การเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า จะช่วยให้เราสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ดี และทันท่วงที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
6 แอปเช็คน้ำท่วมที่ควรโหลดติดเครื่อง
โรคติดต่อช่วงน้ำท่วม หน้าฝนต้องระวัง
นายกสภาวิศวกร แนะสร้างแก้มลิงใต้ดินแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ต่ำใน กทม.
นอกจากนี้ สิ่งที่ควรระวัง คือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้านควรเคลื่อนย้ายไปไว้ในจุดที่ปลอดภัยน้ำท่วมไม่ถึง และติดตั้งให้มั่นคงป้องกันการหล่นน้ำขณะใช้งาน เช่น พัดลม หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เป็นต้น พร้อมทั้งยกระดับปลั๊กไฟฟ้าให้สูงขึ้นจากพื้นที่ ที่คิดว่าอาจเสี่ยงต่อน้ำท่วมประมาณ 1-2 เมตร
วิธีเตรียมพร้อมก่อนน้ำท่วม
1. ติดตามข่าวและสถานการณ์น้ำท่วมจากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งสัญญาณเตือนความผิดปกติต่างๆ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืนอย่างสม่ำเสมอ
2. จัดเตรียมน้ำสะอาดอาหารกระป๋อง หรืออาหารแห้งยาที่จำเป็นต่างๆ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาหยอดตา ยาใส่แผล ผงน้ำตาลเกลือแร่ ยาประจำตัวของผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้ชีวิต เช่น อุปกรณ์การสื่อสารพร้อมแบตเตอรี่สำรอง อุปกรณ์ชูชีพ เช่น ห่วงยางไฟฉาย หรือเทียนไข ไม้ขีดไฟ ถุงใส่ขยะ หรือถุงพลาสติก ให้เพียงพอให้สามารถยังชีพได้อย่างน้อย 3 ถึง 5 วัน และจดเบอร์โทรฉุกเฉินที่จำเป็นไว้ คือหมายเลข 1669 ขอความช่วยเหลือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หมายเลข 1784 และสายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422 ปรึกษากรณีเจ็บป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
3. ศึกษาแผนปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินของหมู่บ้าน หรือในชุมชน เกี่ยวกับสัญญาณเตือนภัยต่างๆ การติดต่อสื่อสารเส้นทางอพยพ และสถานที่ตั้งที่พักฉุกเฉิน หรือศูนย์อพยพในพื้นที่
4. จัดเตรียมช่องทาง หรือเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกับหน่วยงานกู้ภัยในท้องถิ่นชุมชน ในกรณีต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะบ้านที่มีกลุ่มเสี่ยงได้รับอันตรายจากน้ำท่วม เช่น เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ
5. หากมีสัตว์เลี้ยงให้จัดเตรียมสิ่งของจำเป็น สำหรับการดูแลสัตว์ เช่น อาหารพื้นที่หลบภัยสำหรับสัตว์ รวมทั้งการป้องกันโรคที่อาจเกิดมาจากสัตว์สู่คน เช่น โรคฉี่หนู เป็นต้น
6. การจัดเตรียมความพร้อมด้านระบบไฟฟ้าภายในบ้าน หรือระบบไฟสำรอง รวมทั้งถุงบรรจุทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วมหากจำเป็น