คนไทยก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานอวกาศสำคัญๆ มาโดยตลอด
ที่ผ่านมาคนไทยเคยไปทำงานร่วมกับ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ องค์การนาซา (NASA) ก็มีอยู่หลายท่าน
ดร.ก้องภพ อยู่เย็น สร้างอุปกรณ์เพื่อรับคลื่นไมโครเวฟจากนอกโลก เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของจักรวาล
ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ อดีตวิศวกรนาซ่า โดยรับผิดชอบการวิจัยและพัฒนาวัสดุเซรามิก ซึ่งประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยานอวกาศ
ดร.ธวัช วิรัตติพงศ์ ตำแหน่งผู้จัดการโครงการออกแบบประกอบและติดตั้งเครื่องรับสัญญาณยานอวกาศจากนอกโลกของห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน (Jet Propulsion Laboratory) โดยรับผิดชอบในส่วนของการผลิตงานแบบไม่มีคนออกไปสำรวจอวกาศ เช่น วอยเอจเจอร์ ดีพอิมแพ็ค มาร์สโรเวอร์ ยานที่สำรวจโลกหรือโอโซน เป็นต้น
รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ นักวิจัย NASA Langley Research Center Hampton, Virginia
ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ประดิษฐ์เครื่องมือช่วยลงจอดบนดาวอังคารได้เป็นคนแรกในโลกให้ NASA ยานอวกาศไวกิ้ง
พีรวรรณ วิวัฒนานนท์ post doctoral researcher หรือเป็นนักวิจัยด้านอุปกรณ์ที่จะนำไปใส่ในดาวเทียม ประจำองค์การนาซา
หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2558 นาซา ได้ถ่ายทอดสดผ่านช่อง นาซา ทีวี บนเว็บไซต์ยูทูป แสดงวินาทีประวัติศาสตร์ที่ยานอวกาศ "นิว โฮไรซอน" (New Horizons) ยานไร้คนขับขนาดเท่าเปียโน สำเร็จภารกิจในการบินผ่านดาวเคราะห์แคระ "พลูโต" เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลังจากเดินทางตั้งแต่ปี 2006 เป็นระยะเวลากว่า 9 ปี โดยภาพจะส่งกลับมาถึงโลก และวัยรุ่นไทยได้เข้าไปรบกวนช่องแชทของการถ่ายทอดสดดังกล่าว ทำให้ นาซาแบนไทยออกจากช่องแชท
เมื่อปีที่แล้ว 2562 มี 4 เด็กไทยที่ได้ตั๋วทัวร์นาซา ได้แก่
น.ส.ชนิศา พร้อมพัฒนภักดี
น.ร.อ.จิรภัทร คำนิล
นายถิรวัฒน์ บุญสร้าง
นายกันตพิสิฐ ลิ้มศุภพุฒิกุล
ล่าสุดปีนี้ 2563 นักเรียนชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้ประดิษฐ์ดาวเทียมเยาวชนไทยดวงแรก “BCCSAT-1” ในโครงการ “BCC SPACE PROGRAM : การส่งดาวเทียม BCCSAT-1 เข้าสู่อวกาศ” โครงการที่กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจด้านเทคโนโลยีอวกาศ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี