งานวิจัยใหม่ได้เผยว่า น้ำฝนที่ใช้ดื่มกินอยู่ตอนนี้อาจไม่สะอาดเท่าอดีตแล้ว เพราะปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีและอนุภาคฝุ่นควัน เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและภูมิต่ำได้ง่าย ๆ
ในยุคสมัยก่อนปีค.ศ. 2000 พ่อแม่ปู่ย่าตายายของใครหลาย ๆ คนอาจจะมีการรองน้ำฝนเพื่อไว้ใช้กิน อาบน้ำ ล้างผัก ล้างจานหรือการซักผ้า ตามการใช้ชีวิตในไทยสมัยก่อน แต่ตอนนี้การทำอย่างนั้นอาจจะไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป เพราะในชั้นบรรยากาศของยุคปัจจุบัน เริ่มแสดงให้เห็นว่า มลพิษที่ปะปนในอากาศกำลังส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ระบุว่า น้ำฝนในปัจจุบันมีสารปนเปื้อนจำนวนหนึ่ง เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต ฝุ่น อนุภาคควันและสารเคมีอื่น ๆ หากคุณเก็บน้ำฝนจากหลังคาโดยตรง น้ำนั้นอาจมีการปนเปื้อนของ มูลสัตว์หรือเชื้อโรคที่ติดมากับสัตว์ได้ด้วย หรือหากหลังคาบ้านของใครใช้ท่อระบายน้ำแบบเก่า ใช้วัสดุอย่าง แร่ใยหิน ตะกั่วและทองแดง แร่เหล่านี้อาจจะปนเปื้อนไปในน้ำที่คุณเข้าไปดื่มได้
หรืออาจเก็บน้ำไว้ในภาชนะแบบเปิด ก็อาจเต็มไปด้วยแมลงและสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย เช่น ใบไม้ที่ตายแล้ว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทาง CDC แนะนำว่า ควรใช้น้ำฝนเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ แทน เช่นการนำไปรดน้ำต้นไม้ หรือคุณจะต้องมีระบบการเก็บน้ำที่สะอาดสามารถฆ่าเชื้อโรคที่มากับน้ำฝนได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะใช้สารเคมี การต้มหรือการกลั่น สิ่งสกปรกที่ว่ามาก็สามารถขจัดออกไปได้ แต่สุดท้ายเราก็จะกลับมาคำถามที่ว่า สรุปแล้วน้ำฝนยังปลอดภัยจริงไหม?
มนุษย์เราก้าวผ่านยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงมามากเหลือเกิน การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Environmental Science & Technology เดือนสิงหาคม 2565 นักวิจัยได้อธิบายว่า น้ำฝนทั่วโลกมีความเข้มข้นของ PFAS ที่เป็นพิษ (Perfluoro and Polyfluorinated Alkyl Substances) ซึ่งอาจส่งผลเสียด้านสุขภาพ นั่นจึงหมายความน้ำ น้ำฝนในปัจจุบันไม่ปลอดภัยเพียงพอที่จะดื่ม หากปราศจากการกรองหรือการกลั่น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
นักวิทย์เตือน อย่าหากิน “น้ำฝน” หลังพบมีสารก่อมะเร็งทั่วโลก!
งานวิจัย เผย ละออง "เกลือทะเล" ช่วยลด "พายุฝนฟ้าคะนอง" เหนือท้องมหาสมุทรได้
ความหวังใหม่ นักวิจัยจีนประดิษฐ์อุปกรณ์แยกเกลือจากน้ำเค็มด้วยแสงอาทิตย์
อ.ธรณ์ ชี้ ภาวะโลกร้อน เกี่ยวข้องทุกปัญหา น้ำท่วมกทม. - ญี่ปุ่นร้อนจัด
ทุกๆ 1 นาที มีต้นไม้ถูกไฟป่าเผา ในพื้นที่ราว 16 สนามฟุตบอลในปี 2021
แล้ว PFAS คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน?
PFAS เป็นคำศัพท์รวมสำหรับกลุ่มสารเคมีและสารที่มนุษย์สร้างขึ้นมากกว่า 1,400 สาร เป็นสารที่ใช้ในอดีต จำพวก ผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งทอ โฟมดับเพลิง เครื่องครัว บรรจุภัณฑ์อาหารเคลือบสาร nonstick สนามหญ้าเทียมและสายกีตาร์ ตามที่ Lan Cousins ผู้เขียนการศึกษานี้และเป็นนักเคมีสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์มในสวีเดนกล่าว
ในปัจจุบันมีการศึกษากรดเพอร์ฟลูออไรอัลคิล perfluoroalkyl acids (PFAAs) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของของ PFAS นอกจากนี้การสำรวจกรด erfluorooctanesulfonic (PFOS), กรด perfluorooctanoic (PFOA), กรด perfluorohexanesulfonic (PFHxS) และกรด perfluorononanoic (PFNA) ก็เป็นจุดสนใจหลักของการศึกษา
งานวิจัยในอดีตเผยให้เราเห็นว่า สารเคมีเหล่านี้มีพิษร้ายแรงและสามารถก่อให้เกิดปัญหาได้มากมาย รวมถึงก่อให้เกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ ของลำไส้ ตับ และไทรอยด์ได้ด้วย เนื่องจากสารเหล่านี้มีความสามารถในการลดประสิทธิภาพของวัคซีนในเด็ก และอาจมีแนวโน้มก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม แต่แนวคิดนี้ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดมากนัก
PFAS เป็นสารที่ไม่สลายตัวได้ง่าย ๆ นั่นหมายความว่า พวกมันจะยังคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลังถูกผลิตและปล่อยออกมา ซึ่งนักวิทย์ให้ชื่อสารเหล่านี้ว่า “สารเคมีตลอดกาล”
น้ำฝนที่ปนเปื้อน
การศึกษานี้ นักวิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างน้ำฝนทั่วโลก ที่เผยให้เราเห็นว่ากรด PFAS ยังคงมีปริมาณมากในน้ำฝนทุกที่บนโลก โดยมีความเข้มข้นสูงกว่าเกณฑ์ด้านความปลอดภัยที่กำหนดโดย EPA และหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันในแต่ละประเทศการค้นพบที่โดดเด่นที่สุดคือ ระดับ PFOA ในน้ำฝนนั้นสูงกว่าระดับความปลอดภัยของ EPA (Environmental Protection Agency) อย่างน้อยประมาณ 10 เท่า ในทุกตำแหน่งที่สุ่มจากตัวอย่างบนโลกใบนี้ รวมถึงที่ราบสูงทิเบตและแอนตาร์กติกา นักวิจัยยังไม่แน่ใจว่า PFAS จะกระจายไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลที่สุดในโลกได้อย่างไร แต่ทีมงานก็ได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า PFAS บนพื้นผิวมหาสมุทรกำลังเป็นเคลื่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโดยการเกิดของของละอองน้ำ จากนั้นพวกมันก็ส่งต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ หรือก็คือ ฝน นั่นเอง และที่เป็นไปได้อีกทางหนึ่งคือ การรั่วไหลของสาร PFAS สู่สิ่งแวดล้อมมาจากหลุมฝังกลบขยะ
นักวิทย์กล่าวว่า ยังเร็วไปที่จะคาดการณ์ผลกระทบด้านสาธารณสุขโดยรวมจากน้ำฝนที่อุดมไปด้วย PFAS ที่อาจเกิดขึ้นทั่วโลก แต่มันก็อาจจะกำลังก่อตัวให้รุนแรงขึ้นก็ได้
ผลกระทบของ PFAS น่าจะเกิดมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่ผู้คนยังพึ่งพาน้ำฝนเป็นแหล่งน้ำดื่มเพียงแหล่งเดียวของพวกเขา เพราะแม้แต่บางพื้นที่ของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ที่การดื่มน้ำฝนเป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ
แต่แม้ว่าน้ำฝนจะได้รับการบำบัดอย่างเหมาะสม แต่ก็ยังไม่มีการรับประกันว่า PFAS จะถูกกำจัดออกไป PFAS และสามารถพบได้ในระดับต่ำในน้ำดื่มจากก๊อกและขวด แม้จะอยู่ในระดับที่ปลอดภัยก็ตาม
สรุปโดยผู้เขียน
งานวิจัยนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำฝนทั่วโลก และพบกับกรดตระกูล PFAS จำนวนมากถูกแพร่กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งกรดนี้มีความเป็นพิษและสามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ในมนุษย์ได้ เช่น มะเร็งชนิดต่าง ๆ ของลำไส้ ตับ และไทรอยด์ และอาจมีแนวโน้มสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
นักวิทย์ยังคงสรุปไม่ได้ว่า ผลต่อสุขภาวะที่อาจเกิดขึ้นจากการกินน้ำฝนจะรุนแรงแค่ไหน แต่มันกำลังก่อตัวขึ้นหากรับประทานน้ำฝนช่วงนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากกรดเหล่านี้เกิดจากสารเคมีกว่า 1,400 ตัวที่มนุษย์สร้างขึ้นในอดีต และปะปนอยู่ในธรรมชาติ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น ยังคงคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดกับประเทศกำลังพัฒนาที่ยังมีการบริโภคน้ำฝนอยู่เป็นกิจวัตร และรู้หรือไม่ว่า สารเคมีจากอุตสาหกรรมกำลังก่อตัวรุนแรงขึ้น เพราะกว่าสารเคมีและมลพาจะเริ่มออกฤทธิ์หลังมีการปล่อยออกมาก็ประมาณ 100 ปีได้ และตอนนี้ก็เริ่มแล้ว
ชั้นบรรยากาศบนโลกในปัจจุบัน ไม่เหมือนกับอดีตที่ผ่านมา มันไม่สะอาด เต็มไปด้วยฝุ่นควัน สารพิษที่ปล่อยออกมาจากโรงงาน และอีกสารพัดสารที่ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ สุดท้ายก็กลายเป็นการสะสมทั้งในน้ำและอากาศ จนกลายมาเป็นการกลั่นจนกลายเป็นละอองและไปสู่การเป็นฝน
ดังนั้น สิ่งที่แนะนำให้ดีที่สุดในการป้องกันคือ การเลี่ยงการทานน้ำฝนโดยตรง ต้องมีการกลั่นและกรองให้สะอาดของนำมาใช้หรือนำมาดื่ม และหากต้องแก้ปัญหานี้ที่ต้นเหตุก็ต้องช่วยกันทำให้ชั้นบรรยากาศสะอาดไร้สารพิษมากที่สุด ลดการเผาป่า เผานา ลดมลพาฝุ่นควัน ที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการช่วยกันให้คุณภาพอากาศดีขึ้น
ที่มาข้อมูล