โควิด19 สายพันธุ์บราซิล กำลังจะกลายเป็นสายพันธุ์ที่อันตรายที่สุด เพราะมีการกลายพันธุ์ซ้อนอีกขั้น อีกทั้งสามารถต้านภูมิคุ้มกันร่างกายได้มากขึ้นอีก และที่สำคัญสามารถแพร่ระบาดได้เร็วกว่าเดิม 2.5 เท่า แต่ในไทยยังไม่มีการระบาดของเชื้อชนิดนี้
นับตั้งแต่โควิด19 เริ่มแพร่ระบาดจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนเมื่อปลายปี 2019 จนถึงทุกวันนี้มีการกลายพันธุ์ไปแล้วหลักๆ 8 ชนิด และที่มีการกลายพันธุ์ไปในวงกว้างและแพร่ระบาดอย่างรุนแรง นั่นคือ โควิดสายพันธุ์บราซิล
โดย นักวิจัยในบราซิลและสหราชอาณาจักรได้ตรวจพบเชื้อโควิด19สายพันธุ์บราซิลเป็นครั้งแรก ที่เมืองมาเนาส์ ทางตอนเหนือของประเทศบราซิล เมื่อปลายปี 2020 และเรียกเชื้อโควิด19 กลายพันธุ์ที่ยังพบนี้ว่า "P1"
โควิดสายพันธุ์บราซิลนั้นถือว่าอันตราย เพราะแม้แต่คนที่เคยติดเชื้อโควิด19 มาก่อนแล้ว ก็อาจเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด19 กลายพันธุ์บราซิลซ้ำได้อีก
โดย เชื้อโควิด "P1" อาจทำลายระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ทำให้มีโอกาสที่จะกลับมาติดเชื้อโควิด19 P1 ได้ระหว่าง 25-60%
ด้าน เฟลิเป้ นาเซซ่า นักไวรัสวิทยาและนักวิจัยที่ศูนย์ ออสวัลโด ครูซ ฟาวน์เดชั่น กล่าวกับเผยว่า เชื้อไวรัสโควิด19 กลายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ดูเหมือนมีความแข็งแกร่งมากขึ้นถ้าไม่มีการหยุดยั้ง...
ล่าสุด ผลวิจัยจากสถาบันสุขภาพฟิโอครัซ (Fiocruz) ระบุว่า โควิดสายพันธุ์บราซิล หรือ P1 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในบราซิล และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก กำลังกลายพันธุ์บริเวณหนามของไวรัส ทำให้เชื้อตัวนี้ดื้อต่อวัคซีน เชื้อมีความต้านทานต่อภูมิคุ้มกันของของร่างกายมากขึ้น กล่าวง่ายๆคือ "เชื้อโควิดแข็งแกร่งมากขึ้น" และสามารถแพร่ระบาดได้มากกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 2.5 เท่า
ทั้งนี้ โควิดกลายพันธุ์เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้มีการแพร่ระบาดในบราซิลอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 350,000 คน มากเป็นอันดับสองของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา และมีผู้ติดเชื้อสะสม 13.7 ล้านคน
นอกจากนี้ การระบาดของโควิดในบราซิลยังส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีอายุน้อยมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยข้อมูลของโรงพยาบาลแสดงให้เห็นว่าในเดือนมีนาคมผู้ป่วยหนักมากกว่าครึ่งหนึ่งมีอายุไม่เกิน 40 ปี
นอกจากไวรัสกลายพันธุ์ที่ส่งผลให้สถานการณ์โควิดในบราซิลย่ำแย่หนัก ส่งผลให้ประธานาธิบดีชาอีร์ โบลโซนาโร่ของบราซิลโดนพายุคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อการล้มเหลวในการรับมือวิกฤตโควิด19 ซึ่งประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดก็คือ ประธานาธิบดีบราซิล ไม่ยอมใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ เพราะกังวลถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่า
ทั้งนี้มีการเปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดโควิดที่เพิ่มขึ้นมากในบราซิลซึ่งเป็นอันดับ 3 ของโลกจากไวรัสกลายพันธุ์ P1 ที่ระบาดเร็วและแรงขึ้น พบว่า "เด็กทารก" และกลุ่ม "เด็กวัยรุ่น" ก็ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นด้วย อีกทั้งยังมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ รวมถึงกลุ่มเด็ก ๆ ด้วย โดยยอดติดเชื้อที่สูงมากกระทบหนักต่อระบบสาธารณสุขของบราซิลที่กำลังจะพังทลาย เพราะปัจจุบัน ผู้ป่วยโคม่าที่รักษาในห้อง ICU ของโรงพยาบาลตามรัฐต่างๆของบราซิล 22 รัฐ จาก 26 รัฐในประเทศ มากจนเกิน 80% แล้ว
ที่ผ่านมา จากสถิติที่เพิ่งได้รับการเปิดเผยออกมา พบว่า โควิด19 ทำให้ "เด็กทารก" ในบราซิลมากกว่า 1,300 คนแล้ว นับตั้งแต่เกิดการระบาด และพบว่าเด็กทารกหลายเคสในบราซิลถูกปฏิเสธการรักษา เนื่องจาก ในหลักสาธารณสุขของบราซิล ตอนนี้ยังคิดว่าโรคโควิด19ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก เพราะที่ผ่านมาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ มักไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ มากเท่ากับกลุ่มผู้ใหญ่
มีการคาดการณ์กันว่า หากโควิดหมดลง จะมีชาวบราซิลอีกหลายล้านคนยากจนลง ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีคนจนในบราซิลที่อยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจนจาก 7 ล้านคน พุ่งขึ้นเป็น 21 ล้านคน
ดังนั้น ตอนนี้ ผู้คนกำลังหิวโหย และสิ้นหวัง ตัวเลขผู้เสียชีวิตของเด็กทารกและเด็กเล็ก อายุ 0-9 ขวบ คือ 1,300 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวเลขผู้เสียชีวิตสะสม 3 แสนกว่าคน ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่า ความเสี่ยงการเสียชีวิตของคนวัยนี้ยังนับว่า “ต่ำมาก ๆ” โดยพบเป็นสัดส่วนเพียงไม่ถึง 0.4% เท่านั้น แต่แพทย์บางคนที่ต้องทำงานในห้อง ICU กลับมองว่า ตัวเลขนี้น่ากลัวทีเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• มัสยิดในเมกกะทำพิธีละหมาดเว้นระยะห่าง ต้องฉีดวัคซีนโควิด19 เท่านั้น
• จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เชื่อว่าวัคซีนมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง
• ขายดีจนปลดล็อกสกินทอง! เปิดลิสต์สินค้าขาดตลาดช่วงโควิด19ต่างประเทศ