ดราม่า Voucher ทิพย์ ดารุมะซูชิ ที่เกิดขึ้นล่าสุด ชวนย้อนรอย คดีดัง แหลมเกตุ ซีฟู้ด เมื่อปี 2562 Voucher ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่ทิ่มแทงใจผู้บริโภคที่โดยลอยแพ ปิดร้านหนีจนฟ้องร้องเป็นคดี สองบทเรียนที่ร้านอาหารทั้งสองได้ทำลายความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงทิ้งด้วยมือตัวเอง
ประเด็นดราม่าร้อนแรงในวงการอาหารเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมาเกี่ยวกับ ร้านอาหารญี่ปุ่น ดารุมะซูชิ (Daruma Sushi) ปิดหน้าร้านทุกสาขาแบบไม่มีกำหนด โดยไม่มีคำชี้แจง จึงทำให้กลุ่มลูกค้าบางส่วนที่ซื้อโปรโมชั่น ‘บุฟเฟต์แซลมอน’ คูปองล่วงหน้า (Voucher) ในราคา 199 บาท (เมื่อซื้อ 5 ใบขึ้นไป) จากราคาเต็ม 499 บาท เกิดความสงสัยและกังวลว่าจะซื้อ Voucher ทิพย์ ไปแทน
ถ้ายังพอจำกันได้ เมื่อปี 2562 ก็เคยมีข่าวดราม่าร้านอาหาร แหลมเกตุ ร้านซีฟู้ดชื่อดังจากชลบุรีที่มีชื่อเสียงยาวนานกว่า 30 ปี เปิดขาย Voucher ในราคาถูกจนตาลุกในราคาโปรโมชั่นเริ่มตั้งแต่ 100 บาท จากราคาปกติ 888 บาท แต่เริ่มได้กลิ่นความผิดปกติหลังจากที่ลูกค้าต้องโทรจองคิวโต๊ะล่วงหน้านานหลายเดือน จนทำให้หมดอายุใช้คูปองกันไม่ทันเวลาที่กำหนด จนภายหลังได้มีประกาศ “ยกเลิกและงดให้บริการทุกโปรโมชั่น” และ ปิดร้านอาหารปิดถาวรทุกสาขา ในที่สุด ทำให้ลูกค้ารวมตัวกันยื่นแจ้งความเพื่อดำเนินคดี
จึงได้บทสรุป เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.63 ศาลอาญา พิพากษาให้ บริษัท แหลมเกตุ อินฟินิท จำกัด , นายอพิชาต บวรบัญชารักษ์ หรือโจม พารุณจุลกะ ,น.ส.ประภัสสร บวรบัญชา มีความผิดฐานร่วมกันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด คุณภาพ ปริมาณ ในสินค้าหรือบริการด้วยการโฆษณาข้อความอันเป็นเท็จ ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 เเละ พรบ.คอมฯจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดรวม 723 กระทงให้จำคุกจำเลยที่ 2,3 ทุกกระทง กระทงละ 2ปี รวมจำคุกคนละ 1,446 ปี ปรับรวม 3.6 ล้านบาท และบริษัทต้องชดใช้ด้วยการคืนเงินผู้เสียหายร่วม 2.5 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทนายรณณรงค์ แนะช่องทางเรียกเงินคืน ปมร้านบุฟเฟ่ต์ลอยแพ - ซื้อ Voucher ทิพย์
สคบ.เตือนร้านบุฟเฟ่ต์แซลมอน ยังแอบขายคูปองทิพย์ จ่องัดกฎหมายหนักเอาผิด
ไปต่อไม่ถูก ร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าดังขาย Voucher แล้วเพจหายลูกค้าหวั่นถูกเท
ทั้งนี้จากกรณี ดารุมะ ซูชิ (Daruma Sushi) โดยนอกจากผู้บริโภคจำนวนมากที่อาจต้องสูญเงินไปฟรี ยังรวมถึงผู้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารที่ร่วมเป็นหุ้นส่วนลงขันเงินเปิดสาขาต่างๆ มากมาย ถึง 2.5 ล้านต่อสาขา เช่น คุณ กฤชฐารวีร พิจิตรพงศ์ชัย หรือ เพชร (Krittharawee Arys Pichitpongchai) ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชี้แจงอัปเดตว่ากำลังรวมตัวกับเจ้าของสาขาอื่นๆ เพื่อรวมหลักฐานแจ้งความดำเนินคดีเช่นกัน
ทัศนคติดีมากเลย นี่หรือป่าวที่เค้าเรียกว่าใช้ใจทำงาน #ดารุมะ pic.twitter.com/3nKDny74JC
— 🌸NI~🆖~ER🌸 (@JinJin_Infinty) June 18, 2022
ในส่วนของพนักงานร้านอาหาร ดารุมะ ซูชิ (Daruma Sushi) ก็ดูเหมือนว่าจะได้รับข่าวร้ายนี้พร้อมๆ กับผู้บริโภคเช่นกัน โดนลอยแพ ตกงานฟ้าผ่า เคว้งคว้าง ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่กับร้านอาหารแห่งนี้ แต่ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ในเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมร้านอาหาร จึงทำให้มีร้านอาหารอื่นต่างยื่นข้อเสนอให้กับพนักงานเปิดโอกาสให้เข้ามาร่วมงานด้วยกัน
#ดารุมะ สาขานี้คือวันที่จะเปิดคือวันที่มีเรื่องพอดีอ่ะ ชอบความร้านต่างๆช่วย ทั้งพนง. ทั้งลูกค้า pic.twitter.com/dK16IX2Obc
— นิวนิว lll (@NewNewSN) June 19, 2022
แน่นอนว่าทั้งหมดนี้คือวงจรของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ คนฉวยโอกาสทางธุรกิจ ที่ใช้จิตวิทยาผ่านการทำการตลาด หลอกล่อให้ ผู้บริโภค ผู้ลงทุน ติดกับดัก ภาพลักษณ์และราคา ที่ร้านอาหารทั้งสองแห่งได้สร้างสั่งสมมาจนเป็นที่น่าเชื่อถือ แต่ก็ทำลายคุณค่านั่นลงเองกับมือ อาจจะด้วยเหตุผลเบื้องหลังที่เราเองก็ไม่สามารถไปค้นจิตใจของผู้บริหารเองได้
ก็ได้แต่เดาใจว่า อาจเป็นเพราะมาจากการทุ่มการตลาดเพื่อดึงดูดความสนใจและต้องการเม็ดเงินจากการปล่อยให้มีการจอง Voucher ล่วงหน้านี้เพื่อหวังจะบินไว้แล้วล่วงหน้า เศรษฐิจเช่นนี้ที่ทุกธุรกิจต้องรัดเข้มขัดให้แน่นและใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า พนักงานกินเงินเดือนเองก็หวังความคุ้มค่าจากราคาสินค้าและบริการอย่างสูงสุดเช่นกัน การนำช่องว่างนี้มาหากินกับเงินผู้บริโภคถือเป็นการทรยศอาชีพและสั่นคลอนวงการอุตสาหกรรมร้านอาหารไม่น้อย เพราะหลังบทเรียนสองครั้งนี้คงทำให้การจับจ่ายต้องผ่านการคิดทบทวนกันหลายตลบ กว่าจะควักเงินออกจากกระเป๋า ก็ยิ่งเป็นการตัดความต้องการซื้อที่หดหายลงตลอดช่วงเวลาที่ค่าครองชีพทะยานแตะสถิติใหม่ทุกวันตลอดปี 2565
ข้อมูลทางธุรกิจ ดารุมะ ซูชิ (Daruma Sushi) พบว่า ยังคงทำกำไร ตลอดสามปีที่ผ่านมา ทางสำนักข่าว อิศรา ได้นำข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้าถึงข้อมูลงบการเงินปี 2564 ณ วันที่ 17 มิ.ย.2565 แจ้งว่ามีรายได้รวม 45,621,832.60 บาท
ต้นทุนขาย 24,329,662.14 บาท ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ 17,907,662.46 บาท รายจ่ายรวม 42,237,324.60 บาท
กำไรสุทธิ 1,256,609.03 บาท ส่วนในปี 2562-2563 กำไรสุทธิอยู่ที่ 1,778,984.00 บาท และ1,004,376.11 บาท ตามลำดับ
สำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกรณี ดารุมะ ซูชิ (Daruma Sushi) Voucher ทิพย์ นี้เข้าร้องเรียนได้ที่
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ บุฟเฟ่ต์
บุฟเฟ่ต์’ มาจากภาษาฝรั่งเศส เป็นวัฒนธรรมการกินแบบ all you can eat คือ “กินเท่าใดก็จ่ายราคาเดียว” จากหลักฐานพบว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศสวีเดน หรือชาวไวกิ้งที่หิวโหยจากการเดินทางออกเรือเป็นเวลานานๆ เมื่อกลับมาถึงบ้านชาวบ้านจึงทำการต้อนรับด้วยการจัดโต๊ะที่มีอาหารปริมาณเยอะๆ ไว้รอ แล้วก็กลายเป็นธรรมเนียมต่อมาในศตวรรษที่ 16 ถือเป็นการจัดโต๊ะสำหรับต้อนรับแขกที่เรียกว่า brännvinsbord ซึ่งหมายถึง "โต๊ะแห่งวิญญาณ" ซึ่งชาวฝรั่งเศสรับไปปรับใช้ในศตวรรษที่ 18 โดยทำคลอดคำ “Buffet” ที่มีความหมายว่า ตู้เก็บจานช้อนจนติดหู และกลาย “Buffet” เป็นที่นิยมทั่วโลกเมื่อราวทศวรรษที่ 1940 ที่ร้านอาหาร Herb McDonald ในลาสเวกัส โดยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดให้นักพนันอยู่ในกาสิโนในนานๆ ด้วยการเสิร์ฟอาหารไม่อั้นนั่นเอง
ที่มา