คำที่ใช้เรียก พระลาสิกขา ตามความหมายใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีระบุไว้ อยู่ 2 คำ คือ ทิด และ สมี ซึ่งมีเงื่อนไขแตกต่างกันตามความประพฤติส่วนบุคคล
ในช่วงปีที่ผ่านมาได้มีข่าวพระนักเทศน์คนดังหลายรูปได้ทำการลาสิกขา ศึกออกมาจากผ้าเหลือง กลายเป็น ฆราวาส ทั่วไป ซึ่งในทางพระวินัยได้บัญญัติคำศัพท์ที่ใช้เรียก ไว้เฉพาะดังนี้
ตามความหมายใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้แปลความหมายไว้ว่า
น. คำนำหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด. (กร่อนมาจากคำว่า บัณฑิต).
ซึ่งใช้กับผู้ที่บวชเรียนแล้วลาสิกาอย่างถูกต้องตามพระวินัยเท่านั้น
คลิปพิธีลาสิกขาของพระตามธรรมเนียมปฏิบัติ
ส่วนคำว่า
(๑) [สะหฺมี] น. คำเรียกพระภิกษุผู้ต้องอธิกรณ์ขั้นปาราชิก เช่น ในกรณีของ สมีเณรคำ หรือ สมียันตระ
(๒) (โบ) น. คำใช้เรียกพระภิกษุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรุปให้ ดราม่า อดีต "หลวงพี่กาโตะ" ปม คลิปฉาว-3แสน-ล่องหน-จนสึก!
น้าเน็ก ขอโทษ ทิดไพรวัลย์ ยืนยันไม่มีความจำเป็นต้องเกาะใครดัง
สรุปให้ ย้อนรอย “อดีตพระยันตระ” จากพระชื่อดัง ถูกแฉ ล่วงละเมิดสีกา
โดยในทาง พจนานุกรม อ.เปลื้อง ณ นคร ได้ระบุความหมายของคำว่า สมี ไว้ว่า
น. คำเรียกคนถูกไล่สึกจากพระ เพราะต้องอาบัติปาราชิก บุคคลที่เป็นสมีจะบวชอีกไม่ได้ตลอดชีวิต
คำว่า ปาราชิก นั้นแปลว่า ผู้ต้องพ่ายแพ้ในตัวเองไม่สามารถปฏิบัติในพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้ได้
ดั้งนั้นพระที่กระทำความผิดเข้าข่าย ข้อห้ามพระวินัยในปาราชิก 4 จนเป็นเหตุให้ถึงขั้น อาบัติปาราชิก มีด้วยกันดังนี้
ซึ่งทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมานั้นล้วนเป็น อาบัติหนัก ทั้งนี้ในพระวินัยกล่าวว่า แม้จะกระทำเพียงข้อใดข้อหนึ่ง ต้องขาดจาการเป็นภิกษุทันทีและจะไม่สามารถกลับมาบวชได้อีกตลอดชีวิต