svasdssvasds

คนยุโรปจะอดเล่น Facebook – IG? ไทยเกี่ยวไหม

คนยุโรปจะอดเล่น Facebook – IG? ไทยเกี่ยวไหม

META บริษัทแม่ของ Facebook เขาเกรี้ยวกราด เผย ถ้ากฎหมายคุ้มครองส่วนบุคคลของผู้บริโภค ในยุโรปยังเป็นแบบนี้ ก็คงต้องแยกทาง

Digital life วันนี้ เฟรมขอพามาอัพเดทสถานการณ์โซเชียลในยุโรปกันหน่อยเพราะล่าสุดทาง META บริษัทแม่ของ Facebook เขาเกรี้ยวกราดมาก ออกมาเปิดเผยว่า ถ้ากฎหมายคุ้มครองส่วนบุคคลของผู้บริโภค ในยุโรปยังเป็นแบบนี้ก็คงต้องแยกทาง จบกันแต่เพียงเท่านี้ เนื่องด้วยรายได้ของ Facebook – IG ก็มาจากการที่ลูกค้าซื้อโฆษณาเพื่อยิง AD ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง

แล้วอั้ยกฎหมายที่ว่ามันคืออะไร มันสร้างความกวนใจให้กับ META ได้ขนาดนี้เลยหรอ

กฎหมายนี้มีชื่อว่า "General Data Protection Regulation" หรือ GDPR 

ใจความสำคัญของกฎหมายนี้คือการดูแลข้อมูลส่วนบุคคล ที่อาจจะถูก บริษัทต่างๆเก็บไปเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ และ ยังมีข้อนึงที่สำคัญคือห้ามนำข้อมูลออกจากยุโรปไปเก็บในเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ อีกด้วย ซึ่งที่เก็บข้อมูลของ facebook อยู่ที่ สหรัฐฯ

ซึ่งกฎหมายนี้จะบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2018 สงสัยมั้ยหละว่าทำไมเข้ายังทำแบบนั้นได้ตลอดมา

ก็เพราะว่ามันมีการตกลงการค้ากันระหว่าง “กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐและคณะกรรมาธิการยุโรป” “Privacy Shield” ที่ทำให้ทุกธุรกิจสามารถย้ายข้อมูลไปเก็บในสหรัฐฯ ได้ แต่มีข้อแม้ว่าคุณต้องรับประกันนะว่าข้อมูลของผู้บริโภคจะปลอดภัย แต่ประวัติที่ผ่านมาของ meta ไม่เป็นเช่นนั้น ทางยุโรปจึงจับตาและแข้มงวดขึ้นกว่าเดิม จนมีการขึ้นศาล และแน่นอนเขาเคยถูกตัดสินว่ามีความผิด  ขัดต่อกฎหมาย GDPR

 

เรื่องของการขู่ปิด หรือระงับการให้บริการของ META เช่นนี้ เคยเกิดขึ้นแล้วใน ออสเตรเลีย เมื่อกุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว โอ๊ะ ช่วงเดียวกันพอดี ที่รัฐบาลออสเตรเลียเสนอกฎหมายให้โซเชียลมีเดีย ต้องจ่ายเงินค่า content ให้กับสำนักข่าว เมื่อถูกกดแชร์ต่อบนแพลตฟอร์มของพวกเขาซึ่งในครั้งนั้น เขาประกาศว่า พวกเขาจะปิดกั้นไม่ให้ผู้ใช้ในออสเตรเลีย ดูหรือแชร์คอนเทนต์อีกต่อไป

อะกลับมาที่บ้านของเราบ้าง หลายคนเริ่มสงสัยแล้วบ้านเรามีกฎหมายแบบนี้ไหม เฟรมตอบเลยว่ามี!

บ้านเราเรียกกฎหมายนี้ว่า “PDPA” ย่ามาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่แต่เดิมจะเริ่มใช้กันมานานแล้ว แต่ก็เจอโรคเลื่อน จนมาถึงปีนี้ ก็ยังไม่มีผลบังคับใช้ต้องจับตารอดู วันที่กำหนดคือ 1 มิถุนายน 65

ส่วนตัวเฟรมว่าข้อดีมันก็มีนะ ที่เราจะไม่ต้องรับสาย บ. ห้างร้านที่เราไม่อยากจะรับเช่น ประกัน หรือบัตรเครดิตเพราะถ้าเรามั่นใจว่าไม่เคยให้ข้อมูลกับ บ.เหล่านั้นไป เราสามารถฟ้องร้องด้ทันที

ส่วนข้อเสียก็จะไปหนักกับฝั่งที่ทำธุรกิจทั้งเล็กและใหญ่โดยเฉพาะการขายของออนไลน์ เพราะทีนี้เราก็ไม่รู้ว่าเราจะยิงแอดโฆษณาถึงกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ หรือถ้า worst case เลยก็อาจจะโดนขู่ปิดแบบยุโรปก็เป็นได้

เคยถามตัวเองกันไหมว่า ถ้าในชีวิตเราไม่มี facebook และ Ig เราจะอยู่ได้ไหมลองหาคำตอบและอาจต้องมองๆหาลู่ทางอื่นๆไว้ด้วยนะคะ

 

เพราะดิจิทัลไม่แค่เทรนด์ แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตเรา มาอัพเดทไปพร้อมกันกับเฟรมนะคะ