ใจเย็น! ชาวเน็ตอย่าเพิ่งลั่นปุ่มแชร์โปรไฟล์ "พี่มาร์ก" เพราะการแชร์โปรไฟล์ Mark Zuckerberg ไม่ช่วยอะไร และไม่ได้เปิดการมองเห็นด้วย
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เชื่อว่าใครที่สิงสถิต อยู่ใน Facebook โซเชียลมีเดียสีฟ้า คงจะเห็นเพื่อนๆ หลายๆ คน กดปุ่ม "แชร์" รูปโปรไฟล์ Facebook ของ Mark Zuckerberg กันอยู่บ้าง โดยเป้าประสงค์ของการแชร์ดังกล่าว ก็เพื่อ "การแชร์รูป Mark Zuckerberg เพื่อเปิดการมองเห็น"
ในความเป็นจริงแล้ว การทำแบบนี้ , ยังไม่มีการยืนยันจาก Facebook หรือแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือใดๆ เลย ที่ระบุว่า “การแชร์รูปโปรไฟล์ของ Mark Zuckerberg จะช่วยเพิ่มการมองเห็น หรือช่วยให้เปิดการมองเห็นของเพจ บัญชีส่วนตัว หรือครีเอเตอร์บน Facebook”
หากมองพิจารณาให้ดีถึงปรากฏการณ์ไวรัลโซเชียลครั้งนี้ ต้องบอกเลยว่า แทบหาที่มาที่ไปที่แท้จริง ไม่ได้ เพราะภาพโปรไฟล์ของผู้ก่อตั้ง Facebook เขาลงเอาไว้ ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2024 โดยไม่มีอะไรพิเศษ เป็นแค่ภาพของ Mark Zuckerberg ที่สวมแว่นตาอัจฉริยะ Ray-Ban Meta ที่ร่วมมือกับ Ray-Ban เท่านั้น
โดย ในช่วงที่ผ่านมา ภาพนี้ ถูกแชร์ต่อไปพร้อมกับข้อความ เช่น "Mark Zuckerberg คือบอสใหญ่" หรือ "เจ้านายแห่ง Facebook" และบางคนเชื่อว่า หากเห็นภาพโปรไฟล์นี้บนไทมไลน์ ระบบจะเปิดการมองเห็นให้กับโพสต์ต่างๆ ซึ่ง ทั้งหมดยังไม่เป็นความจริง ใดๆ
ถึงตอนนี้ ณ เวลานี้ หลังวันวาเลนไทน์ 2025 1 วัน มีการแชร์รูปไปแล้ว มากกว่า 38,000 แชร์ และมีคอมเมนต์ ใต้ภาพนี้ ราวๆ 155,400 คอมเมนต์
ความนิยมของ Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก และผู้ติดตามจำนวนมาก
ทุกคนรู้จัก Mark Zuckerberg ในฐานะผู้ก่อตั้ง Facebook และเขามีผู้ติดตามทั่วโลกมากกว่า 119 ล้านคน บัญชีของเขาทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์มาก เมื่อมีการแชร์ภาพจากเขา เพื่อนๆ บน Facebook ของเราที่กดติดตามก็จะเห็นโพสต์นี้ได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับที่ผู้ใช้งานเห็นคอนเทนต์ในกระแสต่างๆ ที่เพื่อนแชร์ต่อๆ กัน
คำพูดที่ใช้ในการแชร์ภาพเช่น "แชร์แล้วช่วยเปิดการมองเห็น" หรือ "บอสใหญ่มาเองเปิดการมองเห็น" ชวนให้คนเชื่อไปตามๆ กัน โดยเฉพาะในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการทำ Reels หรือหารายได้ ที่มักจะมีการแชร์ต่อกันในลักษณะนี้โดยไม่มีต้นทุนอะไร อีกทั้งยังมีกลุ่มความคิดว่า “เราเห็น = คนอื่นก็ต้องเห็น” ทำให้เชื่อไปกับความเชื่อผิดๆ นี้ได้ง่ายขึ้น
เหตุการณ์นี้เตือนให้เห็นถึงความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในยุคดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย การขาดความเข้าใจและการตรวจสอบข้อมูลที่ดีอาจนำไปสู่การเชื่อข่าวปลอมและเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพใช้ประโยชน์จากเรา
เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ครั้งหนึ่งเมื่อ Facebook เคยประสบปัญหาล่ม และมีการแชร์ว่า "พิมพ์ XOXO แล้ว Facebook จะหายล่ม" ในช่วงมีนาคม 2019 ซึ่งในเวลานั้น Facebook เพิ่งเปิดลูกเล่นใหม่ที่ทำให้การพิมพ์ XOXO แสดงผลในรูปแบบที่น่าสนใจ แต่มันไม่ได้มีผลต่อการทำให้ Facebook หายล่มแต่อย่างใด ทุกคนกลับมาใช้งานได้ตามปกติเมื่อระบบกลับมาใช้งานได้ปกติ
ที่มา medium
ข่าวที่เกี่ยวข้อง