svasdssvasds

เปิดเหตุผล ทำไมเทนนิสออสเตรเลียน โอเพ่น ถ่ายทอดสด ผ่าน YouTube ด้วยแอนิเมชัน

เปิดเหตุผล ทำไมเทนนิสออสเตรเลียน โอเพ่น ถ่ายทอดสด ผ่าน YouTube ด้วยแอนิเมชัน

ชวนส่องเทนนิส ออสเตรเลียน โอเพ่น 2025 ใช้เทคโนโลยีอะไรในการแปลงภาพการแข่งขันเทนนิสจริงๆ ให้กลายเป็นตัวการ์ตูนแอนิเมชัน Animation ถ่ายทอดสดผ่าน YouTube ไปทั่วโลก

SHORT CUT

  • เทนนิส Australian Open 2025 ใช้เทคโนโลยีแอนิเมชันถ่ายทอดสดผ่าน YouTube เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์ 
  • แม้จะขายสิทธิ์ถ่ายทอดสดแบบเอกสิทธิ์ให้พันธมิตรสื่อทั่วโลกไปแล้ว เทคโนโลยีนี้จับการเคลื่อนไหว 29 จุดบนตัวนักกีฬาแบบเรียลไทม์และสร้างภาพ 3 มิติ มีความล่าช้าเพียง 2 นาที พร้อมซิงก์เสียงบรรยายและปฏิกิริยาของผู้เล่น
  • แม้เทคโนโลยียังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เช่น การเคลื่อนไหวของนิ้วที่ยังไม่แสดงผล แต่ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ชมถึง 4 เท่าจากปีก่อน เทคโนโลยีนี้คล้ายกับที่ Disney+ เคยใช้ในการถ่ายทอด NFL ในรูปแบบการ์ตูน The Simpsons

ชวนส่องเทนนิส ออสเตรเลียน โอเพ่น 2025 ใช้เทคโนโลยีอะไรในการแปลงภาพการแข่งขันเทนนิสจริงๆ ให้กลายเป็นตัวการ์ตูนแอนิเมชัน Animation ถ่ายทอดสดผ่าน YouTube ไปทั่วโลก

ช่วงเวลาเดือนมกราคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาของการแข่งขันเทนนิสแกรนด์ สแลมแรกของปีอย่าง ออสเตรเลียน โอเพ่น , ซึ่งในออสเตรเลียน 2025 ครั้งนี้ก็ได้รับความสนใจจากแฟนกีฬาชาวไทยอย่างมากมาย จากการที่เจ้าบูม กษิดิศ สำเร็จ ได้ลงแข่งรายการแกรนด์ สแลม รอบเมนท์ดรอว์เป็นครั้งแรก แม้จะแพ้ให้กับ ดานิล เมดเวเดฟ  มือ 5 ของโลกไปก็ตาม แต่กระแสความชื่นชมเจ้าบูมก็มีมากมายเลย 

และนอกจากแสงสปอตไลท์ที่จับจ้องไปยัง "เจ้าบูม" แล้ว ยังมีประเด็นเทคโนโลยีที่ถูกพูดถึงไม่น้อยเลย , นั่นคือ ศึกเทนนิส ออสเตรเลียน โอเพ่น 2025 มีการถ่ายทอดสดผ่าน YouTube และถ่ายทอดด้วย ภาพ การ์ตูนแอนิเมชัน

 หลายๆคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงลูกสักหลาด อาจจะมีข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใด ออสเตรเลียน โอเพ่น จึงใช้ภาพ แอนิเมชัน Animation ในการถ่ายทอดสดผ่านทาง YouTube

เปิดเหตุผล ทำไมเทนนิส ออสเตรเลียน โอเพ่น จึงถ่ายทอดสด ผ่าน YouTube ด้วย แอนิเมชัน

ใช้เทคโนโลยีอะไรในการสร้างแอนิเมชัน 

คำตอบของ คำถามนี้ คือ ,เพราะทาง ออสเตรเลียน โอเพ่น ต้องการ หลบเลี่ยงประเด็นลิขสิทธิ์ โดยใช้ เทคโนโลยี เข้ามามีส่วนช่วยเหลือ  , ทั้งนี้ ฝ่ายจัดการแข่งขันเทนนิสออสเตรเลียน โอเพ่น จะสามารถแชร์การแข่งขันเหล่านี้บนช่องทางโซเชียลมีเดียของตนเองได้อย่างอิสระ แม้ว่าจะได้ขายสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันจริงๆ แบบเอกสิทธิ์ในราคาสูงให้กับสื่อช่องพันธมิตรต่างๆ ทั่วโลกไปแล้วก็ตาม 
 

โดย ออสเตรเลียน โอเพ่น เลือกการใช้ การถ่ายทอดสด ผ่านสร้างภาพการ์ตูนแทนที่จะถ่ายภาพจริง ลงใน YouTube , โดย เทคโนโลยีที่ใช้นี้พัฒนาโดย AO Labs ของ ฝ่ายจัดการแข่งขันเทนนิส Australian Open เอง อาศัยการจับภาพโครงของนักเทนนิส เป็น โครงกระดูก skeleton 29 จุด ด้วยกล้อง 12 ตัว จากนั้นจึงสร้างภาพการ์ตูน 3 มิติมาถ่ายทอด 

เซ็นเซอร์บนสนามจริงที่ สนามเทนนิสคอร์ทหลักอย่าง จะส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลเป็นการจำลองแมตช์แบบดิจิทัลแบบสดๆ โดยมีความล่าช้าเพียง 2 นาทีเท่านั้น แมตช์ในเวอร์ชันนี้ยังถูกซิงก์กับเสียงบรรยายสด เสียงเชียร์จากฝูงชน และเสียงจากกรรมการบนเก้าอี้ รวมถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น ท่าทางและปฏิกิริยาที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เล่นแต่ละคน
 

ทีมงานยอมรับว่าเทคโนโลยียังไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะตอนนี้ยังไม่สามารถจับความเคลื่อนไหวของมือได้ ตัวการ์ตูนของนักกีฬาเทนนิสจึงไม่มีนิ้ว 

ถ่ายทอดสดกีฬาผ่านแอนิเมชัน ไม่ใช่เรื่องใหม่ 

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ของการถ่ายทอดสดผ่านตัวการ์ตูน แอนิเมชัน  เพราะเทคโนโลยี AI นี้เปิดตัวครั้งแรกใน Australian Open เมื่อปี 2024  แต่ในขณะนั้นในปีที่แล้ว ยังดูสมจริงน้อยกว่าปัจจุบันมาก  โดยตามรายงานของ The Guardian ระบุว่า การแข่งขันในปีนี้มีจำนวนผู้ชมเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าจากปีที่แล้ว 

เทคโนโลยีนี้มีความคล้ายคลึงกับที่เคยใช้ในกรณีที่ Disney+ ถ่ายทอดเกมอเมริกันฟุตบอล  NFL ระหว่างทีม Dallas Cowboys และ Cincinnati Bengals ในฤดูกาลนี้ ในรูปแบบของ "The Simpsons" ในรายการ "Monday Night Football"

ที่มา : ausopen bbc

Belinda Bencic ระหว่างการแข่งขันเทนนิส ออสเตรเลียน โอเพ่น 2025 Credit ภาพ REUTERS

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related