svasdssvasds

ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 8 ก.ย. 67 ปรากฏสว่างเด่นชัดตลอดคืน

ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 8 ก.ย. 67 ปรากฏสว่างเด่นชัดตลอดคืน

สดร. เผย "ดาวเสาร์ใกล้โลก" มากที่สุดในรอบปี 8 ก.ย. นี้ จะสังเกตดาวเสาร์ได้ทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ปรากฏสว่างเด่นชัดตลอดทั้งคืน

SHORT CUT

  • "ดาวเสาร์ใกล้โลก" มากที่สุดในรอบปี 8 ก.ย. นี้ จะสังเกตดาวเสาร์ได้ทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
  • โคจรมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หมายถึง ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงกันในแนวเส้นตรง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกที่สุดในรอบปี
  • มุมเอียงของวงแหวนดาวเสาร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการโคจรของดาวเสาร์รอบดวงอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 29.4 ปี ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบ

สดร. เผย "ดาวเสาร์ใกล้โลก" มากที่สุดในรอบปี 8 ก.ย. นี้ จะสังเกตดาวเสาร์ได้ทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ปรากฏสว่างเด่นชัดตลอดทั้งคืน

เพจเฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า วันที่ 8 กันยายน 2567  “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี”  โดยจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Saturn Opposition) หมายถึง ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงกันในแนวเส้นตรง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่างจากโลกประมาณ 1,295 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าวจะสังเกตดาวเสาร์ได้ทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ปรากฏสว่างเด่นชัดตลอดทั้งคืน 

 

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 ระนาบวงแหวนของดาวเสาร์จะเอียงทำมุมกับโลกประมาณ 4 องศา เป็นผลให้มองเห็นวงแหวนของดาวเสาร์ได้ไม่ชัดเจนนัก และมุมเอียงจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568 จะเป็นช่วงที่วงแหวนดาวเสาร์มีมุมเอียงน้อยที่สุด ผู้สังเกตบนโลกจึงมองเห็นดาวเสาร์ "ไร้วงแหวน"

ซึ่งมุมเอียงของวงแหวนดาวเสาร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการโคจรของดาวเสาร์รอบดวงอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 29.4 ปี ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบ ส่งผลให้ดาวเสาร์จะปรากฏเสมือน "ไร้วงแหวน" เมื่อมองจากโลกในทุกๆ 15 ปี เป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจในการสังเกตการณ์ดาวเสาร์ ทำให้เราได้เห็นความสวยงามที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี

ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 8 ก.ย. 67 สว่างชัดตลอดคืน

NARIT เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ "ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี" ในวันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 18:00 - 22:00 น. ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 5 แห่ง ได้แก่

  • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา

 

ที่มา : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related