SHORT CUT
เทคโนโลยีช่วยคนพิการเชียร์บอลมันส์ขึ้น! และฟุตบอลเป็นเรื่องของทุกคน เทคฯช่วยให้มันไร้พรมแดน คนพิการก็เข้าถึงมันได้ , นิวคาสเซิล เปิดตัวเสื้อ ติดระบบสั่น ช่วยแฟนบอลหูหนวกสัมผัสเสียงเชียร์ในสนาม
สโมสรนิวคาสเซิลเปิดตัวเสื้อรุ่นพิเศษ ติดระบบสั่น เพิ่มเทคโนโลยีการสัมผัส ช่วยแฟนบอลหูหนวกสัมผัสเสียงเชียร์ เสมือนเป็นผู้ชมที่ได้ยินจริงๆ สัมผัสได้
สโมสรนิวคาสเซิล ทีมดังแห่งภาคอีสานของอังกฤษ ใช้ เทคโนโลยีช่วยคนพิการเชียร์บอลมันส์ขึ้น ด้วยการ เปิดตัวเสื้อรุ่นพิเศษ ติดระบบสั่น ระบบสัมผัส haptic technology เพื่อให้แฟนบอล "ทูน อาร์มี่" ที่พิการทางการได้ยิน สามารถเข้าถึง เสียง ผ่านการสั่นสะเทือนของเสื้อรุ่นนี้ เสมือนเป็นผู้ชมที่ได้ยินจริงๆ สัมผัสได้ในสนามฟุตบอล
โดยปกติแล้ว สำหรับแฟนบอลคนหูหนวก หรือผู้พิการทางได้ยิน จะใช้วิธีการปกติที่พวกเขาจะสื่อสารหรือรับรู้ได้ คือการใช้ภาษามือกับการอ่าน แต่หากคนหูหนวกนั้นเข้าสนามฟุตบอล พวกเขาจะรับรู้ถึงเสียงเชียร์ในสนามได้อย่างไร ?
นี่คืออีกหนึ่งปัญหา ที่นิวคาสเซิล มองเห็น และอยากปรับปรุง ให้เกมฟุตบอล เข้าถึง "หัวใจ" เข้าถึงการสัมผัส บรรยากาศ อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น คนทั่วไป หรือ ผู้พิการ
นั่นจึงเป็นเหตุผล ทำให้ นิวคาสเซิ่ล จับมือกับ RNID (Royal National Institute for Deaf People ) หรือ สถาบันคนหูหนวกแห่งสหราชอาณาจักร พัฒนาเสื้อบอลรุ่นพิเศษ
โดย เสื้อบอลรุ่นพิเศษนี้ มี Sela บริษัทไลฟ์อีเวนท์สัญชาติซาอุดีอาระเบีย สปอนเซอร์หน้าอกของทีมสาลิกาดง ได้ติดอุปกรณ์พิเศษเข้าไปที่เสื้อ ซึ่งจะรับเสียงผ่านไมโครโฟน แล้วประมวลผลออกมาเป็นแรงสั่นสะเทือน เพื่อให้แฟนบอลหูหนวกที่สวมเสื้อแข่งรุ่นพิเศษนี้สัมผัสได้ถึงเสียงเชียร์จากแฟนบอลในสนาม และให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับแฟนบอลที่ได้ยินให้มากที่สุด
เสื้อรุ่นพิเศษนี้จะถูกมอบให้ RNID หรือ สถาบันคนหูหนวกแห่งสหราชอาณาจักร เพื่อให้แฟนบอลหูหนวก หรือบกพร่องทางการได้ยิน ได้สวมใส่ ในเกมพรีเมียร์ลีกนัดเปิดบ้านพบ ท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ วันเสาร์ที่ 13 เมษายน
และในเกมพรีเมียร์ลีก คืนนี้ , เสื้อแข่งของนักเตะจะติดโลโก้ของ RNID แทนที่ Sela ตามปกติ รวมถึงมีการขึ้นโลโก้ของ RNID ที่ป้ายโฆษณาข้างสนามด้วย
นิวคาสเซิ่ลและ Sela ตั้งใจให้นี่เป็นจุดเริ่มต้นในการทำให้เกมฟุตบอลทั้งใน เซนต์ เจมส์ พาร์ค รังเหย้าทีมสาลิกาดง ตลอดจนที่อื่น ๆ เข้าถึงแฟนบอลทุกคน ไม่ว่าจะมีความผิดปกติใด ได้สัมผัสถึงการแข่งขันและเสียงเชียร์ไปพร้อมกัน
จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี สามารถทำให้ ผู้คนสนุกสนาน เอนจอยกับชีวิตได้มากขึ้น และทำให้ ผู้ที่พิการ เข้าถึงอรรถรสของเกมฟุตบอล ซึ่งเป็นกีฬามหาชนได้มากขึ้นด้วย
ที่มา dailymail
ข่าวที่เกี่ยวข้อง