การระบุตำแหน่งและประเมินสถานที่เพื่อสร้าง "สถานีชาร์จ" ต้องใช้ทั้งระยะเวลาและกำลังคน เเต่ถ้านำเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI มาช่วย ก็จะสามารถลดขั้นตอนการทำงานเเละค่าใช้จ่าย
ในปัจจุบันโลกกำลังอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งเป็นการเดินทางสัญจรอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน จากความต้องการโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จ EV ที่ขยายตัวขึ้น ได้ทำให้คู่แข่งในธุรกิจ EV เพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย และส่งผลให้การแข่งขันเพื่อช่วงชิงทำเลที่ดี ทวีความดุเดือดขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม การระบุตำแหน่งและประเมินสถานที่สร้างจุดชาร์จในอนาคตนั้น ต้องใช้ทั้งระยะเวลาและกำลังคน ซึ่งนับเป็นความท้าทาย นอกจากนี้ ยังต้องใช้เงินลงทุนสูงและการลงทุนในระยะยาว ทั้งสำหรับการก่อสร้างและการดำเนินงานในสถานีชาร์จ ซึ่งหากการวางแผน และจัดสรรการลงทุนไม่ถูกต้อง ก็อาจส่งผลให้มีการสร้างจุดชาร์จในตำแหน่งที่ตั้งที่ไม่เหมาะสมได้
Thoughtworks บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีระดับโลก จึงได้พัฒนาแนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยในการวางแผนการสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จ EV รวมถึงยกระดับกระบวนการทำงานและปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด ขณะที่ยังคงสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับสูงสุด (ROI)
ในปัจจุบัน การระบุตำแหน่งและการคัดกรองจุดเหมาะสมสำหรับการสร้างจุดชาร์จ EV มีความซับซ้อนและต้องใช้ทรัพยากรบุคคลจำนวนมาก โดยการประเมินตำแหน่งที่ตั้งหนึ่งแห่ง อาจใช้ระยะเวลานานถึง 1 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติงาน และที่ตั้งของโครงการ และหากเป็นในทวีปยุโรป จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 20,000 – 50,000 ยูโร (ราว 770,000 – 1,925,000 บาท) ด้วยปัจจัยหลายอย่าง จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดำเนินการให้ได้ตรงตามเป้าหมาย
Ian Murdoch - Principal Advisory Consultant ของ Thoughtworks เปิดเผยว่า ในการพลิกแนวทางสร้างเครือข่ายชาร์จ EV นั้น ทาง Thoughtworks ได้ทดลองนำ AI มาใช้พัฒนาโครงการทดสอบความเป็นไปได้ (Proof of Concept) ซึ่งช่วยให้การประเมินสถานที่ตั้งทำได้รวดเร็วขึ้น จึงลดเวลาของขั้นตอนการทำงานที่นานถึงหนึ่งสัปดาห์ให้เหลือเพียงไม่กี่นาที
Murdoch อธิบายเพิ่มว่ากระบวนการใหม่นี้ ทำผ่านแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ ที่ผู้ใช้งานสามารถวาดตำแหน่งที่ต้องการสร้างจุดชาร์จลงไปบนแผนที่ เพื่อออกแบบเครือข่ายสถานีชาร์จ ซึ่งจะสร้าง Data Layer หรือตัวกลางส่งผ่านข้อมูลประกอบด้วยตำแหน่งที่น่าสนใจ (Points of Interest: POI) จุดชาร์จที่มีอยู่แล้ว และตำแหน่งที่เหมาะกับสร้างจุดชาร์จแห่งใหม่ภายในภูมิภาค และด้วยความสามารถในการเลือกสรรแนวทางแก้ไขปัญหาได้หลากหลายรูปแบบ ทำให้แอปพลิเคชันสามารถแนะนำการใช้งานที่เหมาะสมที่สุดตามความต้องการที่เฉพาะเจาะจงในด้านต่างๆ เช่น งบประมาณ ความหนาแน่นของจุดชาร์จ ความหนาแน่นของประชากร และความครอบคลุม POI
ทั้งนี้ เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI ช่วยให้กระบวนการออกแบบและสร้างเครือข่ายจุดชาร์จ EV รวดเร็วยิ่งขึ้นและลดความซับซ้อนลง อีกทั้งยังมีข้อดีหลายประการ ได้แก่
โดยอ้างอิงตามบริการที่ธุรกิจต้องการส่งมอบให้ลูกค้า เช่น การให้ความสำคัญกับตำแหน่งจุดชาร์จที่อยู่ใกล้ร้านคาเฟ่สำหรับครอบครัว หรือตำแหน่งจุดแวะพักสำหรับนักเดินทางระยะไกล
ขั้นตอนหลายอย่างในกระบวนการวางแผน ที่รวมถึงการสร้างแผนภาพ CAD คือการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ สำหรับการขอใบอนุญาต ซึ่งสามารถทำได้ผ่านระบบอัตโนมัติ ช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนการดำเนินงานลงได้อย่างมาก
โซลูชัน AI สามารถใช้ประเมินความสามารถทำกำไรของจุดชาร์จได้อย่างละเอียด โดยนำตัวแปรต่างๆ มาคำนวณ ช่วยให้ขั้นตอนการตัดสินใจทางธุรกิจทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ขณะที่ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับชาร์จ EV ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง AI สามารถช่วยขยายกระบวนการวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าถึงตำแหน่งที่สามารถสร้างจุดชาร์จได้หลายล้านแห่งทั่วโลก
AI สามารถปรับใช้กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ช่วยให้ธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถตัดสินใจโดยอ้างอิงกับข้อมูลและแนวโน้มตลาดล่าสุดได้
AI ยังช่วยให้การสร้างเครือข่ายจุดชาร์จ EV ขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆร่วมด้วย เช่น รูปแบบการสัญจรและจุดอิ่มตัวของเครือข่าย ซึ่งสร้างความมั่นใจได้ว่าสถานีชาร์จใหม่ๆ จะช่วยเสริมประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่
การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้การมีเครือข่ายจุดชาร์จ EV ที่มีประสิทธิภาพคือสิ่งสำคัญยิ่ง แนวทางการวางแผนแบบเดิมนั้นมีความล่าช้า ใช้กำลังคนจำนวนมาก และมีต้นทุนสูง แต่การใช้โซลูชัน AI ช่วยให้กระบวนการวางแผน เป็นไปได้แบบอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพ และขับเคลื่อนด้วยข้อมูล จึงสามารถยกระดับประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ และเตรียมพร้อมสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคต
ติดตามการ เทรนด์ AI เปลี่ยนโลก หรือ แนวทางป้องกันความปลอดภัยไซเบอร์ของคนไทย หรือ เทรนด์ความยั่งยืนกู้โลก
จากกูรูชั้นนำของเมืองไทย ในงานสัมมนาใหญ่ Next Step Thailand Tech & Sustain 2024 “อนาคตประเทศไทย ก้าวต่อไปของนวัตกรรม และ ความยั่งยืน” พบกันวันที่ 11 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท
ที่มา : thoughtworks
ข่าวที่เกี่ยวข้อง