แผนที่ช่วยให้มนุษย์ไม่หลงทาง เราพัฒนายุคสมัยจากกระดาษจนปัจจุบันเราใช้เสียงสั่งการเพื่อหาเส้นทางได้ แล้วในอนาคตจะยิ่งกว่านี้ไหม ชวนรู้จัก Geospatial Technology
เพราะนวัตกรรมก่อเกิดขึ้นทุกวัน แต่นวัตกรรมที่เป็นสารตั้งต้นซึ่งจะอยู่ต่อไปเพื่อให้เทคโนโลยีรุ่นใหม่ต่อยอดต่อไปได้ หนึ่งในนั้นคือ แผนที่นำทาง ที่ทำให้มนุษย์ไม่หลงทางอีกต่อไป
วันที่ 22 มิ.ย. 2566 สื่อเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ ได้จัดงาน Springnews digital life forum 2023 ณ โรงภาพยนต์ Screen X Paragon Cineplex ชั้น 5 สยามพารากอน
ในช่วงหนึ่ง ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ โฆษก GISTDA และผู้อำนวยการสำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ ได้ขึ้นกล่าว เพื่อบอกเล่าถึงมุมมองและภารกิจของ Gistda ในหัวข้อ เทคโนโลยีใหม่ เปลี่ยนไทย เปลี่ยนโลก โดย ดร.สยามกล่าวว่า
ในมุมมองของ Gistda เทคโนโลยีที่น่าสนใจและสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาต่อยอด หนึ่งในนั้นคือ Geospatial Technology เทคโนโลยีนี้จะมาเปลี่ยนโลกของเราแน่นอน
ดร.สยามให้ความเห็นว่า Geospatial Technology เป็นเบื้องหลังความสำเร็จของแอปพลิเคชันเจ้าดังหลายเจ้าในโทรศัพท์มือถือของเรา และนวัตกรรมที่จะมาขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปข้างหน้า คือ โลเคชัน
ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวกับสถานที่ ตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เป็นข้อมูลที่สำคัญในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้แตกต่างออกจากนวัตกรรมอื่น ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปตท. เผยความสำคัญของเทคโนโลยีและดิจิทัล ต่อธุรกิจและอนาคตของมนุษย์
ChatGPT ไม่ใช่เรื่องใหม่ NECTEC ชี้ เราทุกคนช่วยพัฒนากันมานานแล้ว
ห้ามพลาด! SPRiNG ชวนร่วมงาน “Digital Life Forum 2023” นวัตกรรม เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนโลก
เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีนำทาง แรกเริ่มเราใช้แผนที่ที่เป็นกระดาษ ต่อมาเราพัฒนาเป็น GPS ในรถยนต์ ถัดมาเรานำแผนที่มาอยู่ในโทรศัพท์มือถือของเราได้ นำโดย Google Map และในปัจจุบัน มันนำทางเราไปที่ไหนก็ได้อัตโนมัติในขณะที่เรานั่งอยู่เฉย ๆ และคอยออกคำสั่ง นี่คือนวัตกรรมที่มหัศจรรย์มาก
การมีอยู่ของนวัตกรรมนำทาง ทำให้เราไม่ต้องไปศึกษาเรียนรู้การดูแผนที่ เราไม่ต้องเปิดกระดาษดู ไม่ต้องเข้าใจแผนที่ แค่บอกว่า เราต้องการไปไหน นี่คือสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตเราตลอดไป
และที่สำคัญยิ่งกว่าคือเทคโนโลยี Small Satellites หรือสัญญาณดาวเทียม ที่เป็นอุปกรณ์สนับสนุนการนำทางหลัก ในการระบุตำแหน่งของทุกคน ทุกสิ่งที่อยู่บนโลก สามารถคำนวนได้ว่าจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ระยะทางเท่าไหร่ เดินทางไปอย่างไร
ดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพทำให้เรามองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
ในด้านการเดินทาง จะดีกว่าไหมถ้าในอนาคตเราจะสามารถมองเห็นได้มากกว่าปัจจุบัน ตอนนี้ในแผนที่นำทางเราเห็นเลนถนนเป็นเพียงแค่ถนนเส้นเดียว แต่หากเรามี GNSS Solution เราจะสามารถมองเห็นได้ว่าถนนนี้มีกี่เลน 3 หรือ 4 เลน เพื่อให้เราคำนวนสภาพการจราจรได้แม่นยำมากขึ้น และนี้คือเส้นทางที่จะนำเราไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับหรือรถยนต์อัตโนมัติที่เสถียรมากขึ้นในอนาคตได้
ช่วยเราคำนวนพื้นที่ป่าและคาร์อบอนเครดิตได้อย่างรวดเร็ว
อีกประเด็นคือ เทรนด์ในปัจจุบัน เราคุยกันถึงคาร์บอนเครดิต เราคุยถึงเรื่อง Clean Energy หรือ Net Zero เพราะฉะนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าประเทศเรากักเก็บคาร์บอนไว้อยู่เท่าไหร่
ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ ประมาณ 100 เท่าของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเยอะมาก หากใช้วิธีสำรวจป่าไม้แบบเดิม ๆ และกลับมาบอกว่าเราได้ป่าไม้เท่าไหร่ ได้คาร์บอนเท่าไหร่ ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้น ข้อมูลจากดาวเทียมเท่านั้นที่จะสามารถประเมินคาร์บอนทั้งประเทศ หรือกักเก็บคาร์บอนในประเทศได้ในระยะเวลาอันสั้น และสามารถติดตามได้ตลอดเวลา
ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ลดเวลาการทำนาทำไร่
ภาคการเกษตร ไม่ใช่เพียงแค่การใช้โดรน ใช่ IOT ควบคุมการพ่นยาหรือการใส่ปุ๋ย แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนใหม่แล้ว เราสามารถรู้ได้ว่าพื้นที่ตรงนั้นควรใส่ปุ๋ยเท่าไหร่ ควรใส่ยาเท่าไหร่ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น และมันจะเข้ามาในชีวิตประจำวันของเกษตรกรเพื่อให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
ช่วยให้ภาคธุรกิจนำไปต่อยอดและแข่งขันให้เกิดโลกใหม่ในอนาคตต่อไป
ดังนั้น Location-Based Intelligence สำคัญมาก มันคือเทคโนโลยีที่จะช่วยเก็บตำแหน่ง โลเคชัน ซึ่งมีธุรกิจมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจ เป็นฐานเพื่อพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ การบริการใหม่ ๆ หรือใช้ในการแข่งขันกับคู่ต่อสู้ในภาคธุรกิจ