ChatGPT กำลังเป็นกระแสทั่วโลก จนอาจกระทบมาถึงสื่อ ทางสปริงนิวส์อยากเสนอแนวคิดที่ว่าด้วย "ถ้า ChatGPT เกิดขึ้น จะกระทบสื่ออย่างรุนแรง" ซึ่งเป็นความคิดเห็นที่น่าสนใจของ นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
ChatGPT คืออะไร?
ChatGPT (แชทจีพีที) คือแชทบอท AI ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสื่อสารข้อมูลที่ทำได้มากกว่าการเซิร์ทค้นหาข้อมูลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ , สรุป หรือรวบรวมข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างแม่นยำและครอบคลุมมากกว่าการค้นหาแบบทั่วๆไป ที่สำคัญแชทจีพีทียังสามารถโต้ตอบกับผู้ค้นหาได้อีกด้วย
ทำไม? ChatGPT จะส่งผลกระทบสื่อ
ทำความเข้าใจก่อนว่า อุตสาหกรรมสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน กำลังประสบปัญหาจากการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึ่มของแพลตฟอร์มที่สวิงไปมา จนไม่สามารถพึ่งพาได้ การใช้โซเชียลมีเดียของสื่อจึงไม่สามารถเข้าถึงผู้ชมได้เต็มที่เหมือนก่อน และรายได้ก็ลดลงอย่างน่ากลัว จนหลายสื่อต้องหาทางออกในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
แต่ 1 ในทางออกที่แทบทุกสื่อให้ความสำคัญคือ การพัฒนาคอนเท้นที่เป็นคำตอบให้กับประชาชนที่ใช้ Google หรือ Search engine ต่างๆในการค้นหาข้อมูลข่าวสาร ซึ่งทำให้ประชาชนเข้ามาที่เว็บไซต์โดยตรง หรือที่เรียกว่าการทำ SEO ให้แข็งแรง เพื่อให้เว็บไซต์ของสื่อต่างๆ ขึ้นเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆของผู้อ่าน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ทำไมต้องสื่อต้องทำแบบนั้น?
เพราะรายได้ของสื่อออนไลน์ที่มาจากแพลตฟอร์ม ไม่ได้ได้เงินค่าโฆษณาเต็ม 100% ถูกแพลตฟอร์มหักไปเกือบครึ่ง ดังนั้นสื่อก็ “จำเป็น” ต้องทำให้ผู้ชมเข้าถึงเว็บไซต์ “โดยตรง” เพื่อสร้างโอกาสในการมีพื้นที่โฆษณาเป็นของตัวเอง และมีรายได้จาก Direct sale มากพอที่จะหล่อเลี้ยงองค์กรและคนทำงาน
ถ้า ChatGPT มาล่ะ ? เท่ากับว่า เมื่อประชาชนค้นหาข้อมูลข่าวสาร โดยได้รับ “คำตอบ” จากระบบ ChatGPT แล้วล่ะก็ เขาจะเข้าเว็บข่าวทำไม แล้วมีโอกาสที่สื่อจะรอดได้มั้ย? ยาก! แต่มี! (ความเห็นส่วนตัว)
1. “Content is always King” ในมุมผมมองว่า สื่อก็ต้องปรับ Content direction, Brand identity, Presenter persona ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่คิดว่าเขาจะเชื่อเรา รักเรา มั่นใจเรา ไม่ใช่ทำข่าวเพื่อทุกคนอีกต่อไป
2. “DATA is Queen to support King” การวิเคราะห์กลุ่มผู้ชมเราให้ชัด การมองเห็นข้อมูลเชิงลึกในการพัฒนาคอนเท้น รู้ว่าทำคอนเท้นให้ใครดู และการพัฒนาสู่การเข้าถึงผู้ชมให้มากกว่าแค่ดู…
3. “Platform is Child’s but need priorities who No.1” หมดเวลาของการทำ 1 คอนเทนท์ ออกทุกแพลตฟอร์มแล้ว สื่อต้องวางจุดยืนให้ชัดจาก Data ว่าเราจะสื่อสารกับใคร และคนนั้นเขาอยู่แพลตฟอร์มไหน เช่น สื่อรุ่นใหม่ใช้ Tiktok สื่อดั้งเดิมอาจจะทำไม่ได้ก็อาจจะหันไปใช้ YouTube ที่เข้าถึงคนได้ตรงกว่า
สิ่งเหล่านี้เป็นมุมมองส่วนตัวของผมกับกระแส ChatGPT ที่คิดว่ากระทบรุนแรงแน่ๆ โดยเฉพาะคนไทย ที่มีที่พึ่งแค่แพลตฟอร์มต่างชาติเท่านั้น เขาปรับยังไง เราก็หนีไม่ออก และเมื่อเราต้องปรับตาม แน่นอนว่าจะส่งผลทางธุรกิจ และต่อมาก็จะส่งผลต่อพนักงาน และการทำอาชีพนี้โดยตรง
ดังนั้น “เราไม่มีวันชนะมัน แต่จะพัฒนาให้คอนเทนท์ให้ชนะมันได้อย่างไร?”
ที่มา : ระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์