ระบบจ่ายไฟไร้สาย ล่าสุดสตาร์ทอัปจากนิวซีแลนด์ร่วมมือ กำลังทดสอบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สาย ซึ่งอนาคตเสาไฟอาจไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปและทุกอย่างจะสะดวกสบายยิ่งขึ้นโดยเฉพาะวงการยานยนต์ไฟฟ้า
ระบบจ่ายไฟไร้สาย ฟังดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ แต่จริงแล้วแนวคิดนี้ Nikola Tesla ที่คิดจะผลิตพลังงานไร้สายตั้งแต่ปี 1890 ซึ่งเรียกว่า เทสลาคอยล์
แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวได้รับการยอมรับและเตรียมไว้สำหรับกรณีศึกษาในระดับสาธารณูปโภคแล้ว ซึ่งโครงการนำร่องครั้งแรกนี้ Powerco ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายไฟฟ้ารายใหญ่อันดับสองของนิวซีแลนด์จะทดสอบเทคโนโลยี Emrod โดยเริ่มในปี 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เทคโนโลยีนี้เรียกว่า Rectenna คือการใช้เสาอากาศในการส่งพลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นไมโครเวฟคล้ายลำแสง จึงไม่มีจุดอับและสามารถใช้ได้ในพื้นที่ห่างไกลนั่นเอง
หากถามว่าการส่งไฟฟ้าผ่านอากาศแบบนี้อันตรายไหม ทางบริษัทได้อธิบายระบบไว้ว่า ตัวส่งพลังงาน จะทำการปิดการส่งพลังงานทันทีเมื่อมีสิ่งกีดขวาง เช่น นก , เฮลิคอปเตอร์ และการส่งสัญญาณเหล่านี้สามารถทำงานได้ในทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็น ฝน , หมอก หรือฝุ่นละอองหนา
เสาอากาศไร้สายของ Emrod เป็นสื่อกลาง เช่น สายเคเบิล หมายความว่าหน้าที่ของพวกเขาคือเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟ ซึ่งอนาคตเทคโนโลยี Emrod จะสามารถใช้บนภูมิประเทศที่ยากลำบาก เช่น แดดจัด ลมแรง และเทคโนโลยีนี้สามารถทนน้ำได้อีกด้วย ซึ่งจะลดปัญหาพื้นที่ห่างไกลที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตามทางบริษัทยังต้องทำการวิจัยและพิสูจน์เทคโนโลยีนี้ต่อไปเพื่อให้ทั่วโลกรับรู้ว่าปลอดภัยและใช้งานได้จริง ซึ่งในปัจจุบันยังต้องมีการลงทุนที่สูง ค่าบำรุงรักษา แต่การที่ไม่ต้องเดินสายไฟ จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และยังได้เรื่องความสวยงามที่ไม่จำเป็นต้องมีเสาไฟไปบดบังวิวธรรมชาติอีกด้วย
ซึ่งนี่อาจเป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดไปสู่ ถนนชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไร้สาย ที่รับพลังงานจากอากาศ และไม่จำเป็นต้องเดินสายหรือรื้อถอนถนนให้ยุ่งยากอีกต่อไป
ที่ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงถนนชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไร้สายกันไปว่าเป็นไปได้ยากในประเทศไทย แต่หากเทคโนโลยีของ Emrod ใช้งานได้จริง ก็มีแนวโน้มว่าประเทศไทยจะมีโอกาสได้ใช้ "ถนนชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไร้สาย" ได้ไม่ยาก
ปัจจุบันในประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องเสาไฟที่มีสายพันกันและอาจก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจทำให้สิ่งเหล่านี้หายไปในบางพื้นที่ เช่นพื้นที่สร้างใหม่อย่าง EEC อาจนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ และจะช่วยให้ทั้งปลอดภัยและสวยงามไม่บดบังธรรมชาติอีกด้วย
ที่มา : popularmechanics