svasdssvasds

บิ๊กโจ๊ก มอง ตำรวจต้องมีส่วนใน SmartCity เทคโนโลยีอย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้

บิ๊กโจ๊ก มอง ตำรวจต้องมีส่วนใน SmartCity เทคโนโลยีอย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้

บิ๊กโจ๊ก มอง SmartCity ตำรวจต้องมีส่วนร่วม การใช้เทคโนโลยีอย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้ การจะทำให้บ้านเมืองปลอดภัย ต้องเริ่มจากเมืองสะอาดและสว่าง

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รอง ผบ.ตร.) ระบุภายหลังงานสัมมนา Thailand Smart City : Bangkok Model จัดโดย โพสต์ทูเดย์ ในฐานะสื่อใหม่ภายใต้ เนชั่น กรุ๊ป และเนชั่นทีวี ว่าโครงการ Smart Safety Zone ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถือเป็นโครงการหนึ่งที่ประชาชนให้การที่ตอบโจทย์ประชาชนมากที่สุด

"ปัจจุบันไทยมีสถานีตำรวจทั้งหมด 1,484 สถานี ซึ่งเป้าหมายของ โครงการ Smart Safety Zone ตั้งใจจะให้ครอบคลุมทุกสถานีทั่วประเทศ แต่ในระยะแรกจะเน้นไปยังสถานีตำรวจในกรุงเทพเป็นหลักก่อน 88 สถานี ซึ่งเชื่อว่ากลางปีหน้าจะให้บริการครบทุกพื้นที่กรุงเทพฯ" พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รอง ผบ.ตร.)

โครงการ Smart Safety Zone เป็นโครงการที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการทำหัวเมืองต่าง ๆ กลายเป็นเมืองอัจฉริยะ เพราะ Smart City จะต้องประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ เทคโนโลยี , คน และ ชุมชน ที่จะต้องอยู่ร่วมกันให้ได้

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ระบุว่า จากผลการดำเนินงานพบว่า พื้นที่นำร่อง ประชาชนเชื่อมั่นและหวาดกลัวต่ออาชญากรรมน้อยลง เพราะฉะนั้นการทำให้เมืองอัจฉริยะ ไม่ใช่แค่เอาเทคโนโลยีมาใช้ แต่ต้องใช้การสร้างความปลอดภัย ติดตั้งไฟส่องสว่าง ตีเส้นให้ชัดเจน ตัดไม้ใบหญ้าให้สะอาด เพื่อให้ประชาชนอุ่นใจในการเดินทาง

งานสัมมนา Thailand Smart City : Bangkok Model พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รอง ผบ.ตร.)

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างที่ใกล้ที่สุดที่ตำรวจได้มีส่วนร่วม คือ ป้ายรถประจำทางที่ชำรุดและเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของอาชญากรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม ตำรวจจึงประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ซ่อมบำรุง ติดตั้งไฟให้สว่าง ทำความสะอาด ก็เป็นจุดเล็ก ๆ ที่ตำรวจทำได้เพื่อพัฒนาสังคม ถ้าป้ายรถเมล์มีผู้ไร้บ้าน ตำรวจก็นำร่องพาไปส่งให้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ได้ทันที เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาในการพัฒนาเมือง

related