สีแพนโทน (PANTONE) จะใช้ไม่ได้แล้วใน Photoshop , Illustrator และโปรแกรมในตระกูล Adobe ส่วนใครจะใช้ต้องเสียเงินเพิ่ม 15 ดอลลาร์/เดือน
แพนโทน (PANTONE) บริษัทมาตรฐานกลางของสี ประกาศแยกทางกับ Adobe เจ้าของโปรแกรม Photoshop , Illustrator ไม่ให้ผู้ใช้ใชงานโค้ดสีของ PANTONE ได้อีกต่อไป แต่หากต้องการใช้งานต้องจ่ายเงินให้แอปฯของแพนโทน ชื่อ PANTONE Connect เดือนละ 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 500 บาท)
ก่อนจะเข้าใจผิด
คำว่า สีแพนโทน (PANTONE) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสีชมพู-สีฟ้าและสีอื่น ๆ โทนมินิมอลจะใช้ไม่ได้ใน Photoshop , Illustrator แต่หมายถึงโค้ตสีกลางที่เอาไว้ใช้ในการอ้างอิงสำหรับงานพิมพ์ สิ่งทอ และสินค้าต่าง ๆ
แพนโทน (PANTONE) เป็นบริษัทที่ทำมาตรฐานกลางสำหรับสี เพราะในอดีตก่อนยุคคอมพิวเตอร์การที่โรงพิมพ์แต่ละโรงจะพิมพ์สีออกมาได้นั้นก็ต้องมีค่าสีกลางจากลูกค้าว่า โลโก้ฉันต้องเป็นสีนี้เท่านั้นนะ! (ลองนึกภาพถ้าโลโก้สีเพี้ยนแม่จะเป็นของแท้ เราก็จะคิดว่ามันเป็นของ .....(ปลอม).... แน่นอน)
แพนโทนเป็นมาตรฐานสี
ซึ่งพอเรานึกถึงสีแพนโทน คนทั่วไปก็จะนึกถึงสีชมพูนวล ๆ สีฟ้ามินิมอล สีน้ำตาลคูล ๆ แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นแค่ชื่อบริษัทไม่ใช่ชื่อสี
ทำไมต้องมีแพนโทน (PANTONE)
เวลาเราพูดถึงสีแค่ สีน้ำเงิน ก็มีหลากหลายแสนเฉดสีแล้ว ดังนั้นการที่มี แพนโทน (PANTONE) เป็นมาตรฐานอ้างอิงจะทำให้ทุกคนคุยภาษาเดียวกันว่า สีน้ำเงินแพนโทน 2195C นะ
อ่านเรื่องราวอื่น ๆ
สีเดียวกันคนละจอก็เห็นคนละสี
พอมาในยุคดิจิทัลการออกแบบในจอคอมพิวเตอร์แม้จะเป็นสีเดียวกันแต่จอคนละประเภทก็แสดงผลคนละสีแถมระบบจอภาพก็มีวิธีการทำงานต่างจากงานพิมพ์ด้วย
ระบบสีพื้นฐานในจอคอมเกิดจากระบบ RGB คือ แดง (Red) เขียว (Green) และ น้ำเงิน (Blue) ซึ่งเป็นสีที่ใช้ในการแสดงผลของจอคอมพิวเตอร์ เราลองเอาแว่นขยายมาส่องจอคอมก็จะรู้ว่ามันเกิดจากเม็ดสีสามสีนี้กระพริบจนเกิดเป็นสี
ส่วน ระบบสีพื้นฐานในการพิมพ์ CMYK ย่อมาจาก ฟ้า (Cyan) แดงอมม่วง (Magenta) เหลือง (Yellow) และดำ (Key) เป็นการนำหมึกสีต่าง ๆ มาฉาบลงบนแม่พิมพ์ทีละสัจนกลายเป็นสีต่าง ๆ ที่เราเห็น
ซึ่งเวลาสั่งพิมพ์เราก็ต้องเทียบสีตัวอย่างในงานพิมพ์ด้วยเพื่อให้ออกมาตามที่เราต้องการ แต่ก็จะมีบางสีที่เป็นสีเฉพาะ ไม่ควรเพี้ยนหรือไม่ควรเกิดจากการผสมกันปกติ เช่น โลโก้ของแบรนด์ สมมุติถ้าเราเห็นสีเขียวของโลโก้ Grab จางลงมาผิดโทน เข้าใจผิดเป็น LINE Man หายนะคงไม่น้อย
ซึ่ง แพนโทน (PANTONE) นี้สามารถนำมาอ้างอิงได้ตั้งแต่กล่องบรรจุภัณฑ์ ป้ายโฆษณา และไปจนถึงสิ่งทอเลย
ดังนั้นเหล่านักออกแบบจึงต้องใช้ระบบสีกลางมาอ้างอิง เช่นมาตรฐานของ แพนโทน (PANTONE) ซึ่งรูปแบบมาตรฐานของ แพนโทน ก้มีทั้งเป็นเล่ม เป็นสติ๊กเกอร์ที่เอาไว้ติดอ้างอิงไปกับสินค้านั้น ๆ เช่น ฉลากขวด สีเสื้อผ้า เป็นต้น
PANTONE แยกทาง ADOBE แล้วเรายังใช้ได้อยู่ไหม ?
ถ้าสรุปแบบเข้าใจง่าย สีบนโลกดิจิทัลไม่มีลิขสิทธิ์ ไม่ว่าเราจะต้องใจเลื่อนหาเป็นชั่วโมงก็ตาม ดังนั้นเรายังใช้ได้ปกติ แม้ว่ามันจะบังเอินไปตรงกับสีในชุดของแพนโทนก็ตาม แต่ ชุดสีที่ตรงกับมาตรฐานสีบนโลกความเป็นจริงมีลิขสิทธิ์ ดังนั้นคนที่จะใช้ PANTONE ก็ต้องมานั่งหาเองว่า สีแพนโทนที่ตัวเองจะใช้มันเบอร์อะไรและใช้สีอะไรในคอม ซึ่งก่อนที่เขาจะแยกทางกันมันสามารถกดได้เลยในโปรแกรม
แต่ก็มีวิธีที่ชาวเน็ตใช้งานชุดสีนี้แบบฟรี ๆ แค่ต้องกดมากขั้นตอนหน่อย
เห็นแบบนี้แล้วคุณว่ากระทบกับงานของคุณหรือไม่ ?