สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ร่วมกับกูรูด้านอนาคตศาสตร์จากฝรั่งเศส จัดงาน Thailand Global Innovation Forum 2022 (TGIF 2022) เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ "ชาติแห่งนวัตกรรม"
การร่วมมือของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ได้รับเกียรติจาก ดร.เรเน่ รอห์เบรค ศาสตราจารย์ด้านนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง และผู้อำนวยการศูนย์คาดการณ์อนาคต EDHEC Business School โรงเรียนธุรกิจชั้นนำจากประเทศฝรั่งเศส
ร่วมพูดบรรยายในหัวข้อ "Global Foresight : Futures of Innovation Nation" และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น "Global Innovation Index(GII) นวัตกรรมไทยในเวทีโลก"
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ NIA ได้กล่าวถึง องค์การมหาชน ในฐานะ "หน่วยงานบูรณากรเชิงระบบ (System Integrator)"
โดยเน้นการให้ทุน SME สำหรับสร้างธุรกิจนวัตกรรม โดยเฉพาะ ระบบนิเวศของวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Ecosystem) , ธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) และพัฒนานวัตกรรมบนฐานเทคโนโลยีเชิงลึก (DeepTech)
และมุ่งพัฒนาขับเคลื่อน 3 ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ดังนี้
เศรษฐกิจฐานราก เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
เศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สนับสนุนความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และการศึกษาวิจัยเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทย
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ได้เผยถึงการปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น System Integrator สู่การเป็น ผู้อำนวยความสะดวกทางนวัตกรรม (Focal Facilitator) ผ่านกลยุทธ์ 4 ด้าน ดังนี้
1.ทำให้ระบบนวัตกรรมไทยเป็นระบบที่เปิดกว้าง เพิ่มจำนวนธุรกิจนวัตกรรมให้มีศักยภาพที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศ
2.พลิกโฉมระบบการเงินนวัตกรรมไทย ผ่านการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ สนับสนุนการเติบโตและเข้าถึงได้
3.สร้างระบบข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม ส่งเสริมการใช้ข้อมูลนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ประกอบการ
4.เป็นองค์กรสมรรถนะสูงที่พร้อมต่อความเปลี่ยนแปลง รวมถึงสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล
โดยการขับเคลื่อนและยกระดับความสามารถที่ว่ามาทั้งหมด เพื่อผลักดันและยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศไทยให้มุ่งสู่การเป็น "ชาติแห่งนวัตกรรม" (Innovation Nation)
โดยมุ่งเน้น 6 ประเด็นสำคัญดังนี้
1.รัฐคือ Sandbox และ Accelerator ของนวัตกรรม
2.เร่งการเติบโตในการลงทุนทางนวัตกรรมเชื่อมกับการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
3.กระตุ้นกิจกรรมและสร้างฐานข้อมูลตลาดการเงินนวัตกรรมและตลาดทุนทางเทคโนโลยี
4.เพิ่มจำนวนวิสาหกิจฐานนวัตกรรมเพื่อการปฎิรูปโครงสร้างทางธุรกิจ
5.กระตุ้นการจดทะเบียนและใช้ประโยชน์สิทธิบัตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ
6.เพิ่มจำนวนนวัตกรรมฐานความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
ดร.เรเน่ รอห์เบรค ศาตราจารย์ด้านนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง และผู้อำนวยการศูนย์คาดการณ์อนาคตจาก EDHEC Business School ได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้แก่
1.Thailand 4.0 เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าสู่การส่งเสริมเทคโนโลยี โดยเน้น 4 เทคโนโลยีหลัก คือ เทคโนโลยีชีวภาพ , เทคโนโลยีนาโน , เทคโนโลยีวัสดุขั้นสูง และเทคโนโลยีดิจิทัล
2.การขยายตัวของการค้าบริการระหว่างประเทศ โดยเปลี่ยนจากการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว สู่การบริการระดับมืออาชีพที่ทำการค้าทางอ้อมผ่านห่วงโซ่มูลค่า ที่คาดจะขยายตัวอย่างก้าวกระโดดอีก 10 ปีข้างหน้า
3.การผลักดันไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความรู้ บริษัทจะต้องมีพนักงานที่มีการศึกษาระดับปริญญาด้านการผลิต สังคมศาสตร์ ไอที และการแนะแนวอาชีพที่มีคุณภาพ และกระตุ้นความต้องการทักษะระดับสูงในตลาดแรงงานไทย
4.การพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจสีเขียว มาพร้อมจำนวนแรงงานที่น้อยลง เน้นการทำงานเชิงคุณภาพมากขึ้น จะทำให้ผลิตภัณพ์สีเขียวหรือ Eco มีราคาที่สูงขึ้น
ดร.เรเน่ ได้กล่าวเพิ่มเติมทิ้งท้ายไว้ว่า
องค์กรที่ควรรับมือความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วยโมเดลฟิวเจอร์ฟิตเนส (FUTURE FITNESS MODEL) จะประกอบด้วย
การเรียนรู้ (Perceiveing) คือการสำรวจและศึกษาสัญญานการเปลี่ยนแปลง เพื่อรับมือกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้น
การคาดการณ์ (Prospecting) ซึ่งคาดผลที่จะเกิดขึ้น จะเพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจ
การทดลอง (Probing) จะทำให้แก้ปัญหาได้ด้วยทรัพยากรที่มี
และควรมีความสามารถในการคาดการณ์อนาคต จัดอบรมศึกษาเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานในระดับผู้จัดการ
การร่วมมือระหว่างผู้นำและเครือข่ายพันธมิตรจะทำให้องค์กรพร้อมและมีความสนุกในการทำงานกับนวัตกรรม