BMW i7 เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% ที่ทางประเทศไทยนำมาต้อนรับผู้นำที่เข้ามาประชุมเอเปค APEC 2022 ซึ่งมีราคากว่า 7.59 ล้านบาท มาพร้อมสเปกที่วิ่งได้ไกล 625 กม. ต่อการชาร์จ
BMW i7 เป็นแพลตฟอร์มของ BMW ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ซึ่งความหรูหราของรถรุ่นนี้มาพร้อมที่จะใช้ต้อนรับผู้นำระดับโลกในการประชุมเอเปค 2022 (APEC 2022) ซึ่งสั่งนำเข้ามามากถึง 40 คัน
ความหรูหราและระบบอำนวยความสะดวกของ BMW i7
รูปแบบการต้อนรับแบบ “Great Entrance Moments”
ไฟหน้าคริสตัล ที่ทำมาจากแบรนด์ Swarovski พร้อมไฟเรืองแสง BMW ‘Iconic Glow’ ที่กระจังหน้าไตคู่
บรรยากาศในห้องโดยสารหรูหราเหนือระดับพร้อม My Modes ที่ปรับแต่งได้แบบส่วนตัว
สัมผัสบรรยากาศระดับโรงภาพยนตร์จาก Theatre Screen ขนาด 31.3 นิ้วที่ห้องโดยสารด้านหลัง
ห้องโดยสารที่มาพร้อม BMW Interaction Bar ที่มาพร้อมจอภาพโค้ง BMW Curved Display ขนาด 14.9 นิ้ว ที่สามารถควบคุมแบบมัลติฟังก์ชั่น
ระบบความบันเทิงที่มาพร้อมจอ BMW Theather ขนาด 31.3 นิ้ว ที่จะมอบภาพแบบพาโรนามาอย่างเต็มรูปแบบ ความละเอียดชัดระดับ 8K
หลังคากระจกพาโนรามาหรือที่เรียกว่า Sky Lounge ช่วยให้ห้องโดยสารปลอดภัยสว่างไสวในตอนกลางวันและเติมบรรยากาศในช่วงกลางคืนด้วยเอฟเฟกต์ LED ที่ส่องสว่างไสวทั่วภายในรถ
My Modes และ BMW Iconic Sounds ที่มาพร้อมฟังก์ชั่นอย่างครบครัน ซึ่งได้จำลองเสียงเครื่องยนต์จาก Hans Zimmer ซึ่งจะทำให้มอบความเพลิดเพลินและสนุกสนานกับผู้โดยสารและผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี
ระบบเสียงรอบทิศทาง Bowers & Wilkins Diamond ลำโพง 39 ดอก ส่งต่อความเพลิดเพลินอย่างมีระดับผ่านเสียงดนตรี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
สเปกที่น่าสนใจของ BMW i7
พุ่งทะยานด้วยขุมกำลังแรงพร้อมเอาต์พุต 400 กิโลวัตต์* (544 แรงม้า*)
แรงบิดสูงสุด 745 นิวตันเมตร* เพื่อความปราดเปรียวในการขับขี่เต็มพิกัด
อัตราเร่ง 0–100 กม./ชม. สุดเร้าใจใน 4.7 วินาที*
เงียบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยระบบขับเคลื่อน eDrive เปี่ยมนวัตกรรม
จริงแล้ว BMW i7 มีระบบขับขี่อัจฉริยะ Autonomous Driving ระดับ 2 แต่ยังไม่สามารถใช้ในประเทศไทยได้เนื่องจากยังไม่รองรับ แต่ในอนาคตคาดว่ามีแววที่รถยนต์ไร้คนขับจะสามารถวิ่งในประเทศไทย แต่ยังคงต้องรอการพัฒนาต่อไป
ประสิทธิภาพแบตเตอรี่ของ BMW i7 และระยะทางที่สามารถวิ่งได้
ระยะทางที่สามารถขับขี่ได้โดยใช้พลังงานไฟฟ้ากว่า 625 กม.
จัดเต็มด้วยเทคโนโลยีเพื่อความประหยัด เช่น การนำพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเบรกกลับมาใช้ใหม่ ใช้พลังต่ำเพียง 19.6–18.4 กิโลวัตต์ชั่วโมง/100 กม.
ให้ประสิทธิภาพสูงสุดด้วยโครงสร้างน้ำหนักเบาและการออกแบบตามหลักแอโรไดนามิกส์
สามารถชาร์จพลังงานจาก 10% ถึง 80% ที่สถานีชาร์จกำลังสูงด้วยกำลัง 195 กิโลวัตต์* ได้ใน 34 นาที
ในการประชุมครั้งนี้ยังได้มีการเปิดตัวสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EleX by EGAT ที่ทำเนียบรัฐบาล
ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT จำนวน 1 สถานี ประกอบด้วย เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรง 1 เครื่อง และเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ 2 เครื่อง สำหรับเป็นสวัสดิการภายในส่วนราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547 รวมทั้งยกระดับการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้ EV ให้เป็นวาระแห่งชาติตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล
สถานีดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไทยในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคคมนาคมขนส่งอย่างจริงจัง อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมพร้อมรองรับการให้บริการแก่ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ในการต้อนรับผู้นำประเทศที่เดินทางมาร่วมประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย - แปซิฟิก (APEC 2022) ระหว่างวันที่ 16 - 19 พฤศจิกายนนี้