svasdssvasds

"แบตเตอรี่ EV" จากใยกัญชง อนาคตธุรกิจกัญชงในประเทศไทย เป็นไปได้ไหม?

"แบตเตอรี่ EV" จากใยกัญชง อนาคตธุรกิจกัญชงในประเทศไทย เป็นไปได้ไหม?

ทางสปริงนิวส์ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ (อ.อ๊อด) อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของแบตเตอรี่ EV จากกัญชงในไทยและอนาคตของธุรกิจกัญชงในไทย

เรื่องราวของ "ใยกัญชง" ในประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี 2535 ซึ่งพืช "กัญชง" อยู่ในโครงการของราชเสาวนีย ซึ่งของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในช่วงรัชกาลที่ 9

ประโยชน์และคุณสมบัติของ "ใยกัญชง"

"ใยกัญชง" มีความเหนียวมากกว่าพลาสติก ซึ่งในยุคก่อนได้มีการให้ชาวเขาและชาวบ้านประชาชนคนไทยสามารถปลูกเพื่อใช้ "ใยกัญชง" เพื่อมาผลิตสิ่งทอได้ในปี 2535 ซึ่งกรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยที่ราบสูง ได้ร่วมกับ อย. เพื่อสนับสนุนการปลูกและผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆด้วยใยกัญชง 

ซึ่งในปี 2540 รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ (อ.อ๊อด) ได้เป็นนักวิจัยในโครงการนี้ได้ร่วมสนับสนุนและมีความพยายามเพื่อจะนำ "ต้นกัญชง" ออกจากบัญชียาเสพติด

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ ได้พูดถึงใยกัญชงที่ถูกนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆเช่น การผลิตเสื้อเกราะกันกระสุน แต่เนื่องจากเส้นใยเคฟล่าที่มีความเหนียวมากกว่าเข้ามาทดแทน ทำให้ใยกัญชงไม่ได้ถูกนำมาใช้อีกต่อไป

แต่หลังจากนั้นไม่นานก็กลับมานิยมใช้ในปี 2550-2560 เนื่องจากมีการพัฒนาสายพันธุ์ของกัญชงให้มีความเหนียวมากขึ้น แต่ในประเทศไทยเองก็ยังมีเพียงแค่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ในโครงการ Royal Project Foundation ที่มีชื่อว่า RPF-1 , RPF-2 RPF-3 , RPF-4 ซึ่งยังคงมีข้อด้อยคือ ความสั้นของต้นกัญชง ที่ทำให้ผลิตได้ช้าและอาจยังไม่คุ้มค่าต่อการปลูก

 

เนื่องจากในต่างประเทศการพัฒนาสายพันธุ์กัญชงไปไกลมากกว่า ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ของฝรั่งเศสที่ทำให้ใยกัญชงมีความยาวกว่า 

การใช้ "ใยกัญชง" ยังคงเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอื่นๆเช่น รถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ยุโรปอย่าง Mercedes-Benz , BMW ก็มีการนำใยกัญชงไปใช้ทดแทนเส้นใยแก้ว และไฟเบอร์กลาส ซึ่งการใช้ใยกัญชงที่มาจากธรรมชาติจะทำให้บริษัทต่างๆยังได้สนับสนุนในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

ในด้านเครื่องแต่งกายก็มีหลากหลายนำเส้นใยกัญชงไปใช้ เช่น Nike , Vans หรือ Converse ก็ได้มีการนำไปใช้ทำตัวรองเท้า

กัญชงมาเปลี่ยนแนวในช่วงปี 2560 มีการนำดอกมาใช้ ผลิตสารที่ชื่อว่า CBD ซึ่งสารนี้ไม่เสพติด ไม่มีความมึนเมาจากกัญชง มีคุณสมบัติ ต้านอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านอาการชักเกร็ง การลดน้ำตาลและไขมันได้ดีมาก

หรือแม้กระทั่งในด้านสิ่งก่อสร้างอย่างอิฐมวลเบาก็มีการผสมเส้นใยกัญชงเข้ากับซีเมนต์ทำให้มีความเหนียวแน่นและทนทาน จนในปัจจุบันเข้ามาสู่อุตสาหกรรม "แบตเตอรี่" 

ในยุโรปและอเมริกาได้มีการต่อยอดในการนำ "กัญชง" ไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม , อาหาร ,ยารักษาโรค และรวมถึงอาหารสัตว์ด้วย

ย้อนกลับมาที่ประเทศไทยมีการปลดล็อกโดยกฎกระทรวงไทยในปี 2564 ให้สามารถใช้สาร "CBD" ที่มาจากกัญชงได้ โดยไม่ถือเป็นสารเสพติด

ซึ่งในมาตรา 429 , 439 ได้อนุญาต "CBD" ในอาหาร , เครื่องดื่ม , เครื่องสำอาง สามารถที่ใช้เป็นยาได้ด้วย ซึ่งในฝั่งของกรมปศุสัตว์ก็กำลังพัฒนาและร่างกฎเกี่ยวกับอาหารสัตว์อยู่ในขณะนี้

ณ ปีนี้ 2565 ทางผู้ประกอบการมีเวลาเตรียมตัว 1 ปี ในการสร้างโรงงานต่างๆ แต่ในไทยเน้นปลูกและผลิตสินค้าจากดอกกัญชงเป็นหลัก เพราะใยกัญชงมีราคาที่ต่ำเพียงกิโลละ 5 บาท ผู้ปลูกและผลิตส่วนใหญ่จึงเน้นไปผลิตดอกกัญชงเพื่อสกัดออกมาเป็น CBD

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกของเอเชีย ที่อนุมัติสาร CBD ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้บริโภค เกษตรกรที่ปลูก ส่งผลต่อเศรษฐกิจก็สามารถสร้างโรงงานสกัดเป็น CBD

การรีไซเคิลของแบตเตอรี่จากใยกัญชง เทียบกับแบตเตอรี่ทั่วไป

ปัจจุบัน "ใยกัญชง" ได้รับความสนใจจากบริษัทแบตเตอรี่เป็นพิเศษ เนื่องจากหากการผลิตใช้เส้นใยกัญชง จะสามารถลดภาษีและได้ในด้านคาร์บอนเครดิต และเส้นใยกัญชงมีความเหนียวกว่าพลาสติกทั่วไปด้วยซ้ำ ประสิทธิภาพดีกว่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

กัญชงเองเป็นพืชไร่ที่มีวัฎจักรสั้น 2-3 เดือนขึ้นก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ และปลูกได้แบบ Outdoor ได้ฤดู ประเทศออสเตรเลียก็ปลูกกัญชงเป็นน้ำมัน

ทางผู้เขียนเมื่อได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ "ใยกัญชง" ในประเทศไทย สามารถคาดการณ์แนวโน้มว่าประเทศไทยอาจจะมีการนำใยกัญชงมาใช้ได้ในอนาคต

แต่ต้องการการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสามารถผลิตใยกัญชงได้เป็นจำนวนมากขึ้น เพื่อแก้จุดด้อยของสายพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งในอนาคตหากมีการพัฒนาทำให้ต้นกัญชงในไทยผลิตได้เป็นจำนวนมาก อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจกัญชงก็จะเติบโตได้ง่ายยิ่งขึ้น 

related