WHA group ผู้นำอันดับหนึ่งทั้งด้านโลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภคและไฟฟ้ารวมถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มของไทย ได้ร่วมมือกับ BYD เซ็นสัญญาซื้อขายที่ดินกว่า 600 ไร่ ณ นิคมอุตสาหกรรมระยอง 36 ซึ่งเป็นดีลครั้งใหญ่สุดในรอบ 20 ปี ของ WHA Group
การลงทุนครั้งนี้ทำให้เห็นถึงกลยุทธ์ของ WHA Group เกี่ยวกับการสนับสนุนโครงการ EEC (Eastern Economic Corridor) หรือโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด้านตะวันออก และการดึงดูดอุตสาหกรรม (S-Curve Industry) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
การตั้งโรงงานในต่างประเทศครั้งนี้เป็นครั้งแรกของ BYD ซึ่งเมื่อโรงงานสร้างเสร็จสมบูรณ์จะทำให้บริษัท บีวายดี (ประเทศไทย) จำกัด สามารถผลิตรถยนต์ EV พวงมาลัยขวา ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ได้ถึง 150,000 คันต่อปี ซึ่งจะผลิตในนิคมอุตสาหกรรมระยอง 36 โดยจะเริ่มผลิตได้ในปี 2567 นี้ และทำการส่งออกไปยังประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนและยุโรปด้วย
ปัจจุบันบีวายดี (BYD) ได้ดำเนินธุรกิจมากว่า 27 ปีเต็ม และได้ประกาศหยุดผลิตรถยนต์ประเภทสันดาป (รถน้ำมัน) ไปเมื่อเดือนเมษายนปี 2565 นี้ ทำให้การสร้างโรงงานครั้งนี้จะเป็นการเน้นผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) และรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) อย่างเต็มตัว
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม บริษัทบีวายดี ได้แต่งตั้งบริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด (Rever Automotive Company Limited) ซึ่งก่อตั้งโดยทายาทรุ่นที่ 3 ของ ‘สยามกลการ’ ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของ BYD พร้อมตั้งเป้าหมายยอดขายปีแรกกว่า 10,000 คัน
นางสาว จรีพร จารุกสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA Group ได้กล่าวถึงอนาคตของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทย และพร้อมต้อนรับบีวายดีเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 และยังได้พูดถึงระบบสาธารณูปโภคและบริการระดับเวิลด์คลาส ที่พร้อมที่จะขยายธุรกิจร่วมไปกับบีวายดี และยกระดับความเป็นองค์กรข้ามชาติของบริษัท
มร.หลิว เสวียเลี่ยง ผู้จัดการทั่วไป และฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของบริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด ได้พูดถึงการเลือกสรรทำเลครั้งนี้ ได้ระบุว่า “หลังจากที่ได้ทำการค้นหาและคัดเลือกอย่างละเอียด “นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอสเอ ระยอง 36 ได้กลายเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบที่สุด”
WHA Group และ BYD ประเทศไทย ได้เป็นก้าวสำคัญของการก้าวสู่ศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันบีไอโอ ได้อนุมัติโครงการยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้วกว่า 26 โครงการจาก 17 บริษัท คิดเป็นยอดกำลังการผลิตรถไฟฟ้า 830,000 คัน และคาดการณ์ว่าภายในต้นปี 2566 ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1,000,000 คัน และภายในปี 2573 ประเทศไทยจะมีรถยนต์ EV จะมีสัดส่วน 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของประเทศไทยหรือ 700,000 คันต่อปี