svasdssvasds

อินเดียเสิร์ฟ นิวเคลียร์ตามสั่ง! พุ่งเป้า ไปไหนก็ได้ รับสถานการณ์โลกเดือด

อินเดียเสิร์ฟ นิวเคลียร์ตามสั่ง! พุ่งเป้า ไปไหนก็ได้ รับสถานการณ์โลกเดือด

อินเดีย ล้ำ ยิงขีปนาวุธครั้งเดียว พุ่งเข้าเป้าได้หลายสาย รับสถานการณ์ความตรึงเครียด ยูเครน-ไต้หวัน ลุยตามแผนสหรัฐฯ ล้อมกรอบจีน เทคโนโลยีปล่อยขีปนาวุธจากหลายทางด้วยจุดเดียว

SHORT CUT

  • อินเดียพัฒนาเทคโนโลยีปล่อยขีปนาวุธจากหลายทางด้วยจุดเดียว
  • ส่งผลให้โลกไปสู่ยุคที่เกรงกลัวอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง ในวันที่เกิดสถานการณ์ตรึงเครียดทั่วภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นสงคราม รัสเซีย-เครน ความตึงเครียดช่องแคบไต้หวัน
  • ในวันที่อินเดียพัฒนาเทคโนโลยีสอดรับนโยบายสหรัฐที่พยายามตีกรอบจีน โดยกลุ่มพันธมิตรที่มีความขัดแย้งกับจีน

อินเดีย ล้ำ ยิงขีปนาวุธครั้งเดียว พุ่งเข้าเป้าได้หลายสาย รับสถานการณ์ความตรึงเครียด ยูเครน-ไต้หวัน ลุยตามแผนสหรัฐฯ ล้อมกรอบจีน เทคโนโลยีปล่อยขีปนาวุธจากหลายทางด้วยจุดเดียว

ความขัดแย้งระดับโลกนำไปสู่การพัฒนาอาวุธให้ทันสมัยและรุนแรงมากขึ้น อินเดียสามารถพัฒนาเครื่องยิงขีปนาวุธ ที่ยิงจากจุดเดียว แต่สามารถพุ่งเป้าได้หลายๆ สาย สร้างความตื่นเต้นให้กับทั่วโลก

สอดรับกับสถานการณ์ความขัดแย้งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสงครามในยูเครน หรือความตรึงเครียดในช่องแคบไต้หวัน ทำให้สถานการณ์โลกยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

อินเดียเสิร์ฟ นิวเคลียร์ตามสั่ง! พุ่งเป้า ไปไหนก็ได้ รับสถานการณ์โลกเดือด

เทคโนโลยีปล่อยขีปนาวุธจากหลายทางด้วยจุดเดียว

นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีของอินเดียกล่าวว่า อินเดียได้ทำการทดสอบขีปนาวุธที่ผลิตในประเทศด้วยเทคโนโลยีการขนส่งผ่านยานพาหนะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (MIRV) และสามารถกำหนดเป้าหมายการโจมตีได้อย่างอิสระเป็นจำนวนมากเสร็จสิ้นแล้ว

เป็นโครงการพัฒนาล่าสุดในส่วนขีปนาวุธอัคนีที่สามารถใช้นิวเคลียร์ได้ โดยตั้งชื่อตามภาษาสันสกฤตว่า "อัคนี" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่เปิดตัวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983

อินเดียเสิร์ฟ นิวเคลียร์ตามสั่ง! พุ่งเป้า ไปไหนก็ได้ รับสถานการณ์โลกเดือด

เทคโนโลยีนี้สามาถปล่อยหัวรบหลายหัวไปยังเป้าหมายที่แตกต่างกันได้ และสามารถสั่งการผ่านจุดศูนย์กลางเดียวกันอย่าง Agni-V ซึ่งมีระยะทางการยิง 5,000 กิโลเมตร (3,100 ไมล์)

โมดีกล่าวว่าเขา "ภูมิใจ" ที่เปิดตัว "การทดสอบการบินครั้งแรกของขีปนาวุธ Agni-5 ที่พัฒนาในประเทศอินเดียเอง ด้วยเทคโนโลยี Multiple Independently Targetable Re-entry Vehicle (MIRV)"

รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม Rajnath Singh กล่าวว่าอินเดียได้ "เข้าร่วมกับกลุ่มประเทศที่เลือกสรร" ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีขีปนาวุธ

อินเดียเสิร์ฟ นิวเคลียร์ตามสั่ง! พุ่งเป้า ไปไหนก็ได้ รับสถานการณ์โลกเดือด

ในปี 2021 อินเดียประสบความสำเร็จในการทดสอบ Agni-V ซึ่งเป็นขีปนาวุธข้ามทวีปที่สามารถใช้นิวเคลียร์ได้ เชื่อกันว่าสามารถพุ่งเป้าไปที่จีนได้เกือบทั้งหมด อินเดียยังสามารถโจมตีได้ทุกที่ในบริเวณที่มีชายแดนติดกับปากีสถาน ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งสำคัญของอินเดียที่ได้ทำสงครามกันถึง 3 ครั้งนับตั้งแต่ทั้งสองประเทศได้รับเอกราชจากนักอาณานิคมชาวอังกฤษในปี 1947

ความขัดแย้งผลักดันการพัฒนานิวเคลียร์

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อินเดียได้ขยายความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศกับประเทศตะวันตก รวมทั้งการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

โดยอาวุธดังกล่าวมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส จีน และรัสเซียเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้ขีปนาวุธ MIRV อยู่แล้ว

อินเดียเสิร์ฟ นิวเคลียร์ตามสั่ง! พุ่งเป้า ไปไหนก็ได้ รับสถานการณ์โลกเดือด

ขีปนาวุธอินเดียได้รับการพัฒนาโดยหน่วยงานวิจัยทางทหารของประเทศ องค์การวิจัยและพัฒนากลาโหม

อินเดียเองพัฒนาระบบขีปนาวุธระยะกลางและระยะไกลของตนตั้งแต่ทศวรรษ 1990 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนเริ่มมีทีท่าที่แข็งกร้าวมากขึ้น

สอดรับกับสถานการณ์ความตรึงเครียดที่มากขึ้นระหว่างจีนกับชาติตะวันตก ที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรง จากความขัดแย้งทั้งในยูเครนและไต้หวัน

อินเดียเสิร์ฟ นิวเคลียร์ตามสั่ง! พุ่งเป้า ไปไหนก็ได้ รับสถานการณ์โลกเดือด

ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาวุธของอินเดียในครั้งนี้จึงเป็นการเสริมสร้างศัยกภาพทางด้านอาวุธที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนจากชาติตะวันตก เป็นไปตามนโยบายของสหรัฐอเมริกาที่พยายามล้อมกรอบและกดดันจีนโดยชาติพันธมิตร ที่มีความขัดแย้งกับจีน

จำนวนหัวรบนิวเคลียร์ที่ชาติมหาอำนาจครอบครอง

มีรายงานว่า รัสเซียมีตวนหัวรบนิวเคลีย์ประมาณ 5,800 หัวรบ

ขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 5,200 หัวรบ

จีนมีจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 400 หัวรบ

อินเดียมีจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 160 หัวรบ

และเกาหลีเหนือมีจำนวนหัวรบเคลียร์ประมาณ 10-20 หัวรบ

อินเดียเสิร์ฟ นิวเคลียร์ตามสั่ง! พุ่งเป้า ไปไหนก็ได้ รับสถานการณ์โลกเดือด

ทำให้สถานการณ์โลกในด้านการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีการใช้อาวุธจึงน่าจับตาว่าจะเป็นอย่างไรต่อ เพราะสถานการณ์ปัจจุบันไม่ต่างจากเราอยู่ในยุคนิวเคลีย์ก็ว่าได้

ที่มา

Aljazeera / Latimes / AP /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related