SHORT CUT
ชวนส่องนโยบายหลัก เรื่องเด่นด้านเทคโนโลยี ของ 3 รัฐบาล 3 นายกฯ ทั้งยุค ทักษิณ ชินวัตร , พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ในยุคล่าสุด นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน
โลกที่หมุนทุกวันนี้ ปี 2024 มีเรื่องดิจิทัลฯ มาเกี่ยวข้องแทบทุกเรื่อง ตั้งแต่ ลืมตาตื่นนอน จนกระทั่ง ทิ้งหัวลงบนหมอนและหลับไป ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกๆเรื่อง ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและดิจิทัล ไม่มากก็น้อย
ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ตอนนี้ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เรื่องดิจิทัล มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ ดังนั้น เรื่องนโยบาย ดิจิทัล จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญ
เราลองมาดูกันว่า ในช่วงเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา ในยุคผู้นำอย่าง ทักษิณ ชินวัตร , พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือ เศรษฐา ทวีสิน ผู้นำคนปัจจุบัน , เรื่องเด่น เรื่องดิจิทัลของแต่ละยุคฯ นั้นมีอะไรบ้าง ?
เราที่อยู่บนปี 2024 อาจจะรู้จักแต่ "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" แต่รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยในอดีตนั้น ไม่ได้มีกระทรวงนี้มาแต่แรก แต่จะมี กระทรวงที่ชื่อว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ โดยในช่วงเวลานั้น ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ ของไทยอยู่
ณ ห้วงเวลานั้น ในยุคที่ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำประเทศ ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปี 2549 นั้น เขาเองก็เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญ กับความรู้เรื่องเทคโนโลยีให้กับคนในประเทศ โดยในรัฐบาลทักษิณ เคยมี นโยบาย คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้อย่างไร้พรมแดน
โดยโครงการนี้เริ่มต้นเมื่อ 22 เม.ย. 2546 ในห้วงเวลานั้น เครื่องมือสำคัญ ‘คอมพิวเตอร์’ กลับกลายเป็นสิ่งที่ประชาชนยากจะเอื้อมถึงด้วยเงื่อนไขเรื่องราคา และเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีด้วยราคาที่จับต้องได้ และผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีในวงกว้าง โดยเฉพาะในหมู่นักเรียน นักศึกษาที่จะได้มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นวงจรการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงในประเทศ หลังรัฐบาลไทยรักไทย เข้ามาบริหารประเทศ จึงมีการดำเนินโครงการ “คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร” ราคาถูกสำหรับประชาชน ในรัฐบาลทักษิณเกิดขึ้น
โดยโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร รับผิดชอบดำเนินการโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่มี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือ หมอเลี้ยบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ICT ณ เวลานั้น
ขณะที่ ในยุคของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ปี 2557 - ปี 2566 นั้น จุดเด่นของรัฐบาลยุคลุงตู่ ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาเป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อปี 2559 คือเรื่อง "สังคมไร้เงินสด"
โดยในช่วงรัฐบาลประยุทธ์ นั้น ถือเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เพราะอย่างน้อยๆก็กินเวลานานหลายปี และเทคโนโลยีก็ขยับไปไกลมาก โดยพลเอกรัฐบาลประยุทธ์ มีความพยายามพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ “สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)” เตรียมพร้อมให้ประชาชนในทุกระดับเข้าถึงประโยชน์จากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างบริการพร้อมเพย์ (PromptPay) จนมาถึงแอปเป๋าตัง ซึ่งเป็นช่องทางที่ช่วยให้คนไทย ถือเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ปัจจุบันคนไทยทุกกลุ่ม สามารถทำธุรกิจและทำการติดต่อค้าขายทางออนไลน์ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งมีการพัฒนากฎหมายที่รองรับการประกอบธุรกรรมทางออนไลน์
ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ เริ่มมีความคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ ในรูปแบบ internet และ mobile banking หรือ e-payment ต่าง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด คือการพัฒนาระบบพร้อมเพย์ของรัฐบาล และแอปเป๋าตังค์ ที่ถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญของประเทศในการปรับตัวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด และเอื้ออำนวยให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ เป็นไปโดยง่ายและสะดวกมากขึ้น
ขณะที่ ในยุคปัจจุบัน ยุครัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และมี ประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็น รมว.ดีอี (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) นั้น มีจุดเด่นอยู่เรื่อง นวัตกรรม AI ซึ่งคือเทรนด์ของโลกอนาคตอย่างแท้จริง โดยรัฐบาลเพื่อไทย มีเตรียมความพร้อมรับ AI และการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มที่ โดยรัฐบาลเพื่อไทยจะต้องมีการคัดกรองโดย National AI Service Platform ที่รวมบริการด้าน AI บนคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) ทั้งจะให้สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (BDI) พัฒนา Thai Large Language Model (Thai LLM) เป็น โครงสร้างพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์สำหรับภาษาไทย เนื่องจากโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นพื้นฐานเอไอปัจจุบันสร้างบนภาษาอังกฤษ ซึ่งเก่ง และเสถียรภาพอย่างมาก แต่เมื่อใช้ภาษาไทยที่ใช้บริบทและวัฒนธรรมอีกแบบคงไม่มีใครพัฒนาได้ดีกว่าคนไทย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง ยอมรับว่า ยังมีความกังวลเรื่องเทคโนโลยี AI ของต่างประเทศ แม้พวกเขาจะพัฒนาโมเดล AI ภาษาไทยขึ้นมาแล้ว แต่ทาง DE ก็จะพยายามตามให้ทัน เพื่อไม่ให้ต้องพึ่งพาหรือเป็นทาสเทคโนโลยีต่างประเทศ
ที่สำคัญ คือ นโยบายด้านเทคโนโลยี ของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน คือต้องเตรียมพร้อมด้านจริยธรรม/กฎหมาย/สังคม (AI Ethics, Governance, Regulation) พัฒนาทักษะ เสริมสร้างความรู้/ทักษะ AI สำหรับ SMEs และประชาชน การ Upskill/Reskill/Newskill ด้าน AI สำหรับบุคลากรทุกภาคส่วน และเร่งเรื่อง AI Use Case ทั้งรัฐ และเอกชน เช่น AI Use Case การพยากรณ์อากาศอัจฉริยะ ข้อมูลพยากรณ์กลุ่มฝนเชิงพื้นที่ระดับอำเภอ (พยากรณ์ระยะก่อนหน้า 3 ชั่วโมง แม่นยำ 90%) บริเวณ 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ และแผนที่เสี่ยงภัยสภาวะฝนตกหนักถึงหนักมาก เป็นต้น
และที่สำคัญที่สุด และเรื่องที่เป็นไฮไลท์ คือเรื่อง เงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่ทุกคนกำลังจับตามองกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง