svasdssvasds

depa พบ เกษตรกรไทยเยอะแต่สร้างรายได้น้อย ชู 5 มาตรฐานเทคโนโลยีเพิ่มรายได้

depa พบ เกษตรกรไทยเยอะแต่สร้างรายได้น้อย ชู 5 มาตรฐานเทคโนโลยีเพิ่มรายได้

depa พบ ไทยมีเกษตรกรเยอะแต่สร้างรายได้น้อย ผศ.ดร.ณัฐพล ชู 5 มาตรฐานเทคโนโลยีเพิ่มรายได้ ยกระดับมาตรฐานบุคลากรไทยให้สู้กับต่างชาติได้ และประชาชนยังได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa กล่าวในงานสัมมนา “POSTTODAY SMART CITY THAILAND 2024” หัวข้อนโยบายผลักดัน Smart City ระบุถึงข้อมูลที่พบว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่ยังคงเป็นเกษตรกร ที่ 8 ล้านครัวเรือน และธุรกิจขนาดเล็กเป็นจำนวน 3.2 ล้านราย และ บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ราว 15,000 ราย แต่หากมองต่อมาจะพบว่า สัดส่วนการสร้างรายได้ต่อจำนวนประชากรบริษัทเอกชนขนาดใหญ่กับสามารถสร้างรายได้มากกว่า เกษตรกรที่มีจำนวนมาก

"ดังนั้นการทำให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีและเพิ่มรายได้ต่อจำนวนประชากรให้สูงมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ต้นทุนได้ทรัพยากรมนุษย์ Upskill-Reskill) ของประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ"

ผอ.depa ให้คำนิยามความเป็น “เมืองอัจฉริยะ” ว่า คนระดับล่าง ๆ หรือ SME หรือ ประชาชนส่วนใหญ่ 10 กว่าล้านคนของสัดส่วนข้อมูลข้างต้น จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล

เทคโนโลยีและเมืองอัจฉริยะจะทำให้คนไทยมีรายได้มากขึ้นได้อย่างไร ?

  1. ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ว่า หนึ่งปีสองปีสามปีสี่ปีจะทำอะไร เช่น เมืองคยองจี ของเกาหลีตั้งเป้าหมายอยากเป็นเมืองอัจฉริยะด้าน Startups ใช้เวลา 10 ปีแต่มีการวัดผลทุกสามปีสี่ปี 
  2. จะต้องออกแบบเมืองในงบลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา และเรื่องของดิจิทัล ถ้าไม่มีก็ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ของการเป็นเมืองอัจฉริยะในการขอรับสิทธิ ไม่ว่าจะระดับจังหวัด เทศบาล อบต จะต้องมีเรื่องของการลงทุนในเชิง Physical และ Non-Physical ด้วย
  3. สำคัญมากต้องมีการวางแผนมีการจัดการให้เมืองนั้นๆ มี Data จะมาทั้งสถิติ หรือ Data จากเรื่องที่เกิดขึ้นในเมืองบางเมืองเริ่มเก็บภาพแต่ไม่ลิงก์กัน บางเมืองเริ่มใช้เซ็นเซอร์แต่ไม่ลิงก์กัน เพราะฉะนั้นแผนงานในการพัฒนาเดต้าต้องมาเป็นแพ็คเกจถ้าไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรก็มีแนวทางคือ บริษัทเอกชนที่ลงไปพัฒนาเรื่องเดต้าในพื้นที่ได้สิทธิภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิม สมัยก่อนมีลิมิตแค็ปวงเงิน เดี๋ยวนี้โชคดีล่าสุด ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ บอกคือ No Cap คือ ไม่มีวงเงินแล้ว ในการลดหย่อนภาษี
  4. ทุกเมืองจะต้องทำตามมาตรฐาน 7 ประการ คือ 7 Smart แต่ 7 ข้อนี้ แต่บางเมืองอาจจะมีแค่สองสามสี่ หรือ หนี่งหรือสอง แต่ความจริง requirements ต้องมีเรื่องของสิ่งแวดล้อมบวกหนึ่งเป็นสอง แต่ละเมืองต้องเลือก First Priority ของการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้มาก่อน เพราะแต่ละเมืองไม่ เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องทำให้ครบทั้ง 7 ด้าน
  5. สุดท้ายเน้นเอกชนลงทุนมากกว่ารัฐ นี่คือกระบวนการที่เกิดขึ้นในเมือง

สุดท้าย ผศ.ดร.ณัฐพล มองว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ควรจะมี 3 สิ่งเพื่อเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่

  1. Blockchain as a Service
  2. Big data as a service 
  3. AI as a service

 

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

related