svasdssvasds

"ไม่ขาย" ทางการไต้หวัน สวน อีลอน มัสก์ แน่จริงก็เปิดใช้งาน X ในจีนให้ได้ก่อน

"ไม่ขาย" ทางการไต้หวัน สวน อีลอน มัสก์ แน่จริงก็เปิดใช้งาน X ในจีนให้ได้ก่อน

หลัง อีลอน มัสก์ แถลงข่าวในงานแประชุมสุดยอดทางธุรกิจว่า เขาเปรียบเทียบ "ไต้หวัน" คือ "ฮาวาย" รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ย้อนกลับ "ไต้หวันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจีน และไม่ขายประเทศ" ทำให้สถานการณ์คุกรุ่นขึ้นมาทันที

โจเซฟ วู รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์ข้อความบน Twitter ว่า

"ไต้หวันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ PRC (สาธารณรัฐประชาชนจีน) และแน่นอนว่าไม่ได้มีไว้ขาย"

หลังคำพูดนี้ถูกโพสต์ออกมา ทำให้สื่อหลายสำนัก จับตามองไปที่การแสดงความคิดเห็นของอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของแพลตฟอร์ม Twitter หรือ X ได้เข้าร่วมงานสัมมนา All-in Summit ในรูปแบบ Video Conference ว่า

"ผมคิดว่าตนเองเข้าใจจีนดี จากการพูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงต่างๆ มาหลายครั้ง และนโยบายของจีนคือการรวมไต้หวันกับจีนอีกครั้ง อาจจะคล้ายกับฮาวายหรืออะไรทำนองนั้น"

และนั่นทำให้ นายวู รีทวิตคลิปดังกล่าวและประกาศกร้าวว่า ไต้หวันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจีน และถ้า มัสก์ แน่จริง ก็เปิดใช้งาน X ในประเทศจีนให้สำเร็จก่อน 

นอกจากการตอบคำถามของ อีลอน มัสก์ แล้ว ยังมีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ โดย ปักกิ่ง อ้างว่า "ไต้หวันปกครองตนเอง" และนำมาซึ่งความตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา รวมทั้งการที่จีน ทำการฝึกซ้อมทางอากาศและทางเรือรอบๆ ไต้หวัน เสมือนการแสดงศักยภาพทางการทหารตามปกติทั่วเกาะ 

การกระทำดังกล่าว ส่งผลให้ ไต้หวัน ตรวจพบเครื่องบินทหารจีนมากกว่า 40 ลำและเรือประมาณ 10 ลำในน่านน้ำของตน 

ซึ่งก่อนหน้านี้ นายวู เคยเขียนไว้ใน X ว่า การซ้อมรบของจีนมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งอิทธิพลต่อการเลือกตั้งของไต้หวันในเดือนมกราคม

“สาธารณรัฐประชาชนจีน แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ต้องการกำหนดรูปแบบการเลือกตั้งระดับชาติของไต้หวันที่กำลังจะมาถึงและมันขึ้นอยู่กับพลเมืองของเราที่จะตัดสินใจ ไม่ใช่คนอันธพาลข้างบ้าน”

ทั้งนี้ อีลอน มัสก์ มีโรงงานผลิต Tesla ในเซี่ยงไฮ้ซึ่งเขาเพิ่งไปเยือนจีนเมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมาและได้พบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศของจีน เกี่ยวกับการขยายธุรกิจ Tesla ในประเทศ 

แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐ จะตกต่ำลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้จะกลับมาพูดคุยกันได้อีกครั้งแต่ทั้งสองประเทศยังคงมีความขัดแย้งในประเด็นต่างๆ มากมาย รวมถึงกรณีของ "ไต้หวัน" ที่เป็นจุดสำคัญของความขัดแย้งทั้งสองประเทศ

 

ที่มา : BBC, Twitter

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related