กรณี Apple ฟ้องร้อง Fruit Union Suisse องค์กรการเกษตร สวิตเซอร์แลนด์ ที่ก่อตั้งมากว่า 111 ปี ว่าละเมิดเครื่องหมายการค้า และความเป็นมาของโลโก้ Apple กว่าจะเป็นเวอร์ชั่นในปัจจุบัน ก็ต้องผ่านกระบวนการขบคิดต่างๆ มาอย่างมากมาย
จากกรณี Apple บริษัทด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ยื่นฟ้อง Fruit Union Suisse องค์กรการเกษตร สวิตเซอร์แลนด์ ที่ก่อตั้งมากว่า 111 ปี ว่าละเมิดเครื่องหมายการค้า
โดยโลโก้ของ Fruit Union Suisse เป็นการผสมผสานระหว่างผลแอปเปิล กับธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสร้างความงุนงงให้กับ Jimmy Mariéthoz ผู้อำนวยการ Fruit Union Suisse เป็นอย่างมาก เพราะโลโก้ขององค์กรดังกล่าว เป็นลักษณะของผลแอปเปิลทั่วๆ ไป ไม่ได้มีลักษณะใกล้เคียงกับแอปเปิลที่มีรอยกัดของแบรนด์ Apple แต่อย่างใด
โดยก่อนหน้านี้ เมื่อ 6 ปีที่แล้ว Apple ได้ยื่นคำขอต่อสถาบันทรัพย์สินทางปัญญา ของสวิสเซอร์แลนด์ (IPI) เพื่อขอสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับภาพโลโก้ขาวดำ ของ “แอปเปิลพันธุ์ Granny Smith” ที่ครอบคลุมหลายรายการสินค้า ซึ่งทาง IPI ก็ได้อนุมัติเพียงบางส่วน ก่อนที่ Apple จะทำการยื่นอุทธรณ์ในเวลาต่อมา อีกทั้งได้ส่งคำขอในลักษณะเดียวกันไปยังหน่วยงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในหลายๆ ประเทศทั่วโลก
และไม่ว่าบทสรุปของคดีดังกล่าวจะออกมาอย่างไร แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงการใหความสำคัญกับแบรนด์ของ Apple เป็นอย่างมาก โดยกว่าจะออกมาเป็นโลโก้ Apple ในปัจจุบัน ก็ต้องผ่านกระบวนการขบคิดต่างๆ อย่างมากมาย
บทความที่น่าสนใจ
ผู้ถือหุ้นรายย่อย STARK ลงชื่อแล้วกว่า 660 ราย ความเสียหายทะลุ 1 พันล้านบาท
หุ้น Apple ขึ้น New High ในรอบ 17 เดือน ราคาพุ่ง 183.79 ดอลลาร์ต่อหุ้น
Sam Altman ผู้สร้าง ChatGPT คิดล้ำ พัฒนา AI วิเคราะห์ม่านตาแจกคริปโท Worldcoin
โดยโลโก้แรกของ Apple เกิดขึ้นในปี 2519 เป็นภาพลายเส้นบอกเล่าเรื่องราวของ “เซอร์ไอแซก นิวตัน” (Isaac Newton) ที่นั่งอยู่ใต้ต้นไม้ ก่อนผลแอปเปิลจะหล่นลงใส่หัว จนเป็นที่มาของ “ทฤษฎีแรงโน้มถ่วง” อันลือลั่น
ซึ่งโลโก้ดังกล่าวต้องการสื่อความหมายว่า Apple คือผลไม้ (สินค้า) แห่งปัญญา เป็นผลงานการออกแบบของ Ronald Wayne หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Apple ในยุคบุกเบิก
แต่โลโก้แรกก็ได้ใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น หลังจาก Ronald Wayne ถอนตัวออกบริษัท ต่อมา Steve jobs ผู้ก่อตั้งและบริหาร Apple ก็ได้ว่าจ้างบริษัท Rigis McKena ให้ทำการออกแบบโลโก้ Apple ให้ใหม่ โดยคราวนี้ jobs ได้บรีฟกับ Rob Janoff หัวหน้าทีมออกแบบว่า เขาต้องการให้โลโก้ของดูทันสมัย จดจำได้ง่าย
หลังจากนั้น Janoff ก็ได้ทำการออกแบบโลโก้ออกมา 2 เวอร์ชั่น เป็นรูปแอปเปิลหลากหลายเฉดสี (สีรุ้ง) ที่มีรอยกัด กับแบบไม่มีรอยกัด และแบบที่มีรอยกัด ก็ผ่านเข้ารอบในที่สุด
โดย Janoff ได้บอกเล่าถึงไอเดียของเขาว่า ที่ต้องเป็นแอปเปิลสีรุ้ง ก็เนื่องมาจากในเวลานั้น คอมพิวเตอร์ของ Apple เป็นเจ้าแรกที่ผลิตจอสีออกมา จึงนำจุดเด่นตรงนี้มาสร้างเป็นจุดขาย
ส่วนรอยกัด (bite) เป็นคำพ้องเสียงกับหน่วยปริมาณ data (byte) ซึ่งเชื่อมโยงถึงความเป็นบริษัทด้านคอมพิวเตอร์ได้คมคาย โดย “โลโก้สีรุ้ง” ได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2520 จนถึงปี 2541 เป็นเวลานานกว่า 20 ปี
และหลังจาก Steve jobs ได้กลับมาบริหาร Apple อีกครั้ง นโยบายของเขาก็คือ Apple ต้องเป็นมากกว่าบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ และได้มีการวางแผนจะผลิตสินค้าเทคโนโลยีอื่นๆ ออกมาตีตลาดมากมาย Apple จึงได้มีการปรับสีของโลโก้ให้เป็นสีโทนเดียว แต่คงไว้ซึ่งรอยกัด และรูปทรงที่เรียบง่าย มาจนถึงทุกวันนี้
อ้างอิง