ความขัดแย้งของสองยักษ์ระดับโลก ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในเรื่องของเศรษฐกิจและธุรกิจ รวมทั้งการที่โลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องปรับตัวให้ทัน
ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นางสาวฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน, Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนาบนเวทีงานสัมมนา “Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม” ในประเด็นอนาคต...ทิศทางโลกขัดแย้ง ว่า ปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ของจีนและสหรัฐเรียกได้ว่าผ่อนคลายลงมากที่สุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด19 เนื่องจากคู่ขัดแย้งสำคัญต่างประสบปัญหาภายใน
อย่างสหรัฐมีความกังวลว่าเศรษฐกิจจะถดถอย จีนกำลังทยอยเปิดเมืองแต่ก็อาจทำให้การระบาดรุนแรงขึ้น ทำให้ต่างฝ่ายต้องกลับมาสนใจตัวเองมากขึ้น ไม่มีเวลาทะเลาะกันเหมือนเดิม
แต่ถัดไปจากนี้อีก 3 ปีข้างหน้า มีโอกาสที่ทั้งสองประเทศ จะทะเลาะกันมากขึ้น อย่างในปี 2027 จะครบ 100 ปี กองทัพจีนจะยิ่งดุดันขึ้น ส่วนข้อสงสัยที่ว่าจะมีสงครามโลก เกิดขึ้นหรือไม่ มีความเป็นไปได้สองอย่างคือ เกิดด้วยความตั้งใจ กับ ไม่ได้ตั้งใจ แต่เหตุการณ์พาไป ต่างจากสงครามของรัสเซีย-ยูเครน คือชัดเจนว่าสั่งให้เกิด โดยการประเมินว่าจะเป็นความขัดแย้งไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องใหญ่
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
ฉันเจ็บไม่เป็นไร...แต่เธอต้องเจ็บไปด้วยกัน
ดร.อาร์ม และคุณฐิติมา มองปัญหาเรื่องตรรกะการค้าขายที่เปลี่ยนไปเช่นเดียวกันว่า รูปแบบการค้าขายในยุคนี้ ไม่ใช่การค้าขายแบบเจ็บด้วยกัน แต่กลายเป็นเราเจ็บไม่เป็นไรแต่ต้องให้เธอเจ็บมากกว่า ทำให้มีความเสี่ยงในแง่ของการทำธุรกิจมากขึ้น
ดังนั้น สถานการณ์ความตึงเครียดจะมีโอกาสเกิดเหตุไม่คาดคิด แบบเหตุการณ์พาไปทำให้กลายเป็น sleep walking to war ที่ยังมีการรบกันในเรื่องเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
ดังนั้น การสร้างสงครามโลกกับจีนซึ่งเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีเป็นโรงงานของโลกอันดับต้นๆ ที่มีการใช้งานมาอย่างยาวนาน ถามว่าจะทำได้ไหม อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง เพราะฝั่งยุโรปก็มีแนวทางในการย้ายฐานการผลิตมากขึ้นทำให้จีนก็ต้องขยายอิทธิพลของตัวเองเช่นกัน เพราะสงครามยุคนี้คือสงครามเทคโนโลยี
เมื่อครั้งโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เคยเกิดการแบนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เหมือนเป็นจุดเริ่มต้น แต่ก็เป็นการต่อต้านเล็กๆ เรียกว่าแค่น้ำจิ้มในเรื่องความผันผวนและตึงเครียด ซึ่งหลังจากนี้อีก 3 ปีน่าจะมีเหตุการณ์ที่ตึงเครียดมากกว่าเดิม
นอกจากนี้ การที่จีนเปิดการประชุมใหญ่โครงการ “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” หรือ “One Belt and One Road” ที่จะมีการเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เห็นถึงการจับมือกันของหลายประเทศที่อาจจะเป็นตัวผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นขึ้นมาได้ ส่วนไทยซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งใน strategic location เราจึงต้องมีแผนการในอนาคตที่ชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสังคมผู้สูงวัยที่ไม่ควรทำให้เป็นกลุ่มคนที่รัฐบาลต้องแบกรับ อย่างญี่ปุ่นมองว่าประเทศของตนเองมีผู้สูงวัยที่ร่ำรวยและอิ่มตัวไม่สามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ได้
ขณะที่จีนมองว่าเป็นโอกาส เพราะยังมีประชากรที่ยังไม่ยกระดับเป็นชนชั้นกลาง นั่นหมายถึงมีโอกาสในการยกระดับการบริโภคเป็นชั้นใหม่ ไทยจึงต้องมองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เป็นโอกาสครั้งใหม่ด้วย
ประเด็นถัดมาคือ เราคิดน้อยเกินไปในการมองไทยเป็นอาเซียนภาคพื้น ขณะที่เวียดนามและลาวยังโตได้จากฐานเศรษฐกิจที่ยังต่ำ ไทยจึงต้องเกาะภูมิภาคให้โต ต้องเกาะเวียดนาม เกาะลาว เพื่อสร้างประโยชน์ในการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ของภูมิภาคให้มากขึ้น
ทางด้านของ ดร.ฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน, SCB EIC
เมือโลกเริ่มแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ ธุรกิจไทยจะได้รับกระทบทางบวกและลบ อีไอซี วิเคราะห์ภาพรวมของทิศทางโลกเป็น 2 แบบว่า
ผลทางบวก
ผลทางลบ
ดังนั้น สิ่งที่ประเทศกำลังพัฒนาหรือรายได้ไม่เยอะอย่างไทย ที่ยังต้องการพึ่งพาเศรษฐกิจโลก ก็ต้องเปิดโอกาสในการเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ พึ่งพาความรู้เยอะๆ แม้จะเจอผลกระทบเยอะ แต่ก็ต้องหาหนทางการปรับตัวให้ทันกับยุคสมัย