svasdssvasds

รู้ไหมว่าตำแหน่งปวดท้องบอกโรคอะไรบ้าง?

รู้ไหมว่าตำแหน่งปวดท้องบอกโรคอะไรบ้าง?

อาการปวดท้องเป็นอีกอย่างที่หลายคนอาจละเลย เพราะซื้อยามากินแล้วก็หาย แต่เราควรสังเกตตัวเองด้วยว่าตำแหน่งปวดท้องอยู่ที่ตำแหน่งไหนซึ่งตำแหน่งที่ปวดนั้นสามารถบอกโรคได้

รู้ไหมว่าตำแหน่งปวดท้องบอกโรคอะไรบ้าง?

อาการปวดท้องและตำแหน่งที่ปวดสามารบอกถึงอาการผิดปกติของอวัยวะที่แตกต่างกัน

 

ตำแหน่งด้านขวาบน

"นิ่วในถุงน้ำดี"

ปวดท้องขวาบน หลังกินอาหารมื้อหลัก ถ้าปวดท้องไม่หายอาจจะเป็นถุงน้ำดีอักเสบ

ตำแหน่งด้านขวาล่าง

- ไส้ติ่งอักเสบ

เริ่มปวดที่ลิ้นปีหรือกลางสะดือและย้ายมาขวาล่าง อาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียนและท้องเสีย

ตำแหน่งด้านซ้ายบน

- ตับอ่อนอักเสบ

มีอาการปวดมากจนทะลุไปถึงด้านหลัง

- นิ่วในท่อไต

ถ้าไตอักเสบจะมีอาการปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะแสบขัดหรือมีเลือดปน

ตำแหน่งด้านซ้ายล่าง

- การอักเสบเฉียบพลันของลำไส้โป่งพองเป็นกระเปาะ

- ปีกมดลูกด้านซ้ายอักเสบ

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

ตำแหน่งบริเวณรอบสะดือ

ตรงกับตำแหน่งลำไส้เล็ก มักจะมีอาการปวดบิด ถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน หากกดแล้วปวดมากอาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ ปวดจนทนไม่ไหวให้พบแพทย์ทันที

ตำแหน่งท้องน้อย

- ปวดตรงตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะ และมดลูก

- ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปวดเวลาปัสสาวะ อาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

- ปวดท้องน้อย มีไข้สูง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น อาจจะเป็นมดลูกอักเสบ

- ปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน มีอาการปวดเรื้อรัง แสดงว่ามดลูกมีปัญหา

ปวดท้องแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์

- ปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมงแล้วอาการเป็นมากขึ้น 

- กินอาหารไม่ได้ น้ำหนักลด ตัวเหลือง

- ปวดท้องและอาเจียนอย่างมาก มากกว่า 3-4 ครั้ง

- ปวดท้องมากขึ้นเมื่อขยับตัว

- ปวดที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา

- ปวดมากจนต้องตื่นตอนหลับ

- มีเลือดออกจากช่องคลอด

- มีไข้ร่วมด้วย

รู้ไหมว่าตำแหน่งปวดท้องบอกโรคอะไรบ้าง?

Cr. 

อ. พญ.ศุกมาส เชิญอักษร สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล / www.khonkaenram.com