ครีมกันแดด เป็นไอเท็มที่ขาดไม่ได้ในหน้าร้อนนี้โดยช่วงสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาว ซึ่งหลายคนมีแพลนเดินทางท่องเที่ยว ครีมกันแดดจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยเมื่อเราอยู่นอกบ้าน แล้วครีมกันแดดแบบไหนถึงจะกันรังสียูวีในแดดได้ดี และใช้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เรามีคำตอบ
ครีมกันแดด จำเป็นมากในช่วงหน้าร้อนที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีในแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งรังสี UVA และ UVB ในแสงแดดนี้เองที่ส่งผลให้ผิวหมองคล้ำ จุดด่างดำ เกิดริ้วรอย ฝ้า รวมไปถึงมะเร็งผิวหนัง นี่เป็นเหตุผลเราจึงควรทาครีมกันแดด หากเราอยากได้ครีมกันแดดดีๆ ติดกระเป๋าควรสังเกตจากอะไรบ้าง
เลือกซื้อครีมกันแดด ควรดูอะไรบ้าง
-ควรดูเวลาซื้อครีมกันแดดคือ ค่า SPF (Sun-Protection Factor) หรือค่าป้องกันแสงแดด ซึ่งจะระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ จะช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVB ซึ่งเป็นตัวการของผิวหมองคล้ำและผิวไหม้ และตัวเลขที่ระบุไว้ ใช้บอกระดับการปกป้องผิวจากแสงแดด ตัวเลขที่ต่างกันนั้นบอกระดับการป้องกันรังสียูวีบี โดย
SPF15 กัน UVB ได้ 93%
SPF30 กัน UVB ได้ 97%
SPF > 50 กัน UVB ได้ 98%
SPF> 30 ขึ้นไป หรือค่าสูงๆ มีฤทธิ์ในการกันแดดแทบไม่ต่างกันมาก
ซึ่งเราควรเลือกครีมกันแดดให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ
-ค่า PA เป็นอีกสัญลักษณ์ที่สำคัญในการเลือกซื้อครีมกันแดด ซึ่งค่า PA บอกถึงการป้องกันรังสี UVA อันเป็นหนึ่งในสาเหตุของริ้วรอย เช่น การใช้ PA+ ถึง ++++ หรือ สัญลักษณ์ดาว (Star Rating) เป็นต้น สัญลักษณ์ที่มากขึ้นมักหมายถึงการป้องกันที่ดีขึ้น
-นอกจากนี้สังเกตได้จาก สัญลักษณ์คำว่า Broad-Spectrum ซึ่งหมายถึงครีมกันแดดนั้นปกป้องผิวได้ทั้งรังสี UVA และรังสี UVB
-คำว่า Water Resistant บนครีมกันแดด บอกว่าครีมกันแดดนี้เป็นแบบกันน้ำหรือเหงื่อระหว่างที่ทำกิจกรรมข้างนอก ซึ่งจะกันให้ครีมกันแดดไม่หลุดเมื่อโดนน้ำหรือเหงื่อได้นานประมาณ 40-80 นาที เราจึงควรทากันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
ส่องลุคเจ้าสาวสุดหรูของ ซนเยจิน พร้อมเผยบิวตี้ลุคงานผิวงดงามตามธรรมชาติ
รู้ไหม อากาศแปรปรวน ทำให้ผิวแข็งแรงน้อยลง ก่อปัญหาผิว แบบนี้รับมือยังไง?
ใช้ครีมกันแดดอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพ
-ควรทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านอย่างน้อย 20 นาที และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง
-ปริมาณครีมกันแดดที่ใช้ คือ 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือใช้ประมาณ 2 ข้อนิ้วมือสำหรับผิวหน้า ส่วนลำคอใช้ประมาณ 1 ช้อนชา
-นอกจากผิวหน้าแล้วควรทาครีมกันแดดที่บริเวณหู และขมับด้วย
-ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงเวลาประมาณ 11.00 14.00 น.
Cr. พญ.สกุณี ภระกูลสุชสถิตย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย