svasdssvasds

ไขข้อข้องใจเรื่อง กลิ่นตัว โดยแพทย์ผิวหนัง เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร?

ไขข้อข้องใจเรื่อง กลิ่นตัว โดยแพทย์ผิวหนัง เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร?

เรื่องที่ทำให้หนุ่มๆ สาวๆ หมดความมั่นใจและส่งกระทบกับคุณภาพชีวิต การใช้ชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคม หลายคนคงสงสัยว่า กลิ่นตัว เกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันกลิ่นตัวอย่างไรบ้าง แพทย์ผิวหนังจะมาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กัน

กลิ่นตัว

กลิ่นตัว เกิดจากอะไร

1. แบคทีเรียประจำถิ่นบริเวณรักแร้ ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากความร้อนและความชื้นในอากาศ

2. การสร้างเหงื่อจากต่อมเหงื่อชนิดอะโพดรายน์ ผู้ที่มีต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังชนิดนี้ขนาดใหญ่และมีจำนวนมาก ต่อมเหงื่อนี้ ยังถูกกระตุ้นได้ด้วยฮอร์โมนเพศชาย Androgen

ผศ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพิ่มเติมว่า กลิ่นตัว เกิดจากสารที่สร้างมาจากต่อมกลิ่น (Apocrine Gland) ซึ่งพบมากที่บริเวณรักแร้และหัวหน่าว ต่อมกลิ่นพบได้ตั้งแต่เกิดแต่จะเริ่มทำงานในช่วงวัยรุ่น มีหน้าที่สร้างกลิ่นซึ่งเป็นลักษณะทางเพศแบบหนึ่ง สารที่หลั่งจากต่อมกลิ่นประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด มีลักษณะเหลวข้นไม่มีกลิ่น เมื่อหลั่งออกมาด้านนอกของผิวหนังสารดังกล่าวจะถูกเชื้อแบคทีเรียเปลี่ยนให้เป็นสารที่มีกลิ่นซึ่ง คือ แอมโมเนียและกรดไขมันสายสั้น ซึ่งปกติแล้วเหงื่อที่หลั่งมาจากต่อมเหงื่อจะไม่มีกลิ่น แต่บางภาวะอาจทำให้เกิดกลิ่นตัวได้

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

แพทย์หญิงไพลิน พวงเพชร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบ สถาบันโรคผิวหนัง  ได้กล่าวว่า สิ่งกระตุ้นให้เกิดกลิ่นตัว เช่น อาหารรสจัด หอม กระเทียม โรคอ้วน  โรคเบาหวาน ยาบางชนิด ความเครียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้มีกลิ่นตัว

วิธีป้องกันกลิ่นตัว

- รักษาสุขอนามัยให้สะอาด อาบน้ำให้สะอาดจะช่วยลดปริมาณสารก่อกลิ่นที่หลั่งจากต่อมกลิ่น            

- หลีกเลี่ยงภาวะที่ร้อนจัด ภาวะอบอับชื้น

- ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ซึ่งมีส่วนประกอบที่ช่วยลดกลิ่นตัว เช่น สารลดเหงื่อ สารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สารลดกลิ่นที่สร้างขึ้น และน้ำหอม

- ฉีดน้ำหอมเพื่อกลิ่นตัวที่หอม แต่ต้องระวังการผื่นแพ้น้ำหอม

- โกนขนบริเวณรักแร้ เพื่อป้องกันแบคทีเรียและการสะสมของสารก่อกลิ่น

- ฉีดโบท๊อก เพื่อลดการสร้างสารก่อกลิ่น

- ไม่ควรใส่เสื้อผ้าซ้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดกลิ่นตัว

 

Cr. ผศ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  / แพทย์หญิงไพลิน พวงเพชร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบ สถาบันโรคผิวหนัง / กรมการแพทย์