กรณี นักข่าว CNN บุกรุกพื้นที่กราดยิงหนองบัวลำภู จนถูกจับ และถอนวีซ่า ถอดบทเรียนในฐานะสื่อเราเรียนรู้อะไรไว้เป็นบรรทัดฐานบ้าง?
สรุปเหตุการณ์ และ สิ่งที่เราได้เรียนรู้nดราม่าร้อน การทำงานของ 2 นักข่าว "CNN"
ลุกล้ำเข้าไปในพื้นที่หวงห้ามของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ จ.หนองบัวลำภู
จนเกิดเสียงวิจารณ์มากมาย เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง
จากกรณี แชร์ภาพนักข่าว "CNN" 2 คน ซึ่งได้รุกล้ำเข้าไปในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ จ.หนองบัวลำภู หลังเกิดเหตุกราดยิง เพื่อทำการบันทึกภาพและเผยแพร่ออกอากาศ ทั้งที่จุดนั้นเป็นพื้นที่เกิดเหตุ เป็นเขตหวงห้ามที่เจ้าหน้าที่ได้กั้นพื้นที่เอาไว้ ไม่ให้สื่อมวลชนบันทึกภาพ หรือเรียกว่า crime scene แต่มีภาพ 2 นักข่าว ฝ่าเส้นกั้นออกมา จนถูกหลายฝ่ายออกมาประณาม
แน่นอนว่าหลังเกิดเหตุก็มีหลายฝ่ายในไทยที่ออกมาเรียกร้องเอาผิด กับนักข่าวและสำนักข่าว CNN
- นายก อบต.อุทัยสวรรค์ ไปแจ้งความสื่อต่างชาติ
ในฐานะเจ้าของพื้นที่เราได้รับความเสียหาย ถือว่าเป็นการนำเสนอภาพที่ไม่เหมาะสมและสะเทือนใจ
สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) โพสต์ว่า
พื้นที่นี้ เป็นเขตหวงห้าม ไม่ว่าจะอธิบายยังไง นี่คือกระทำที่ไม่เป็นมืออาชีพ
และละเมิดจริยธรรมสื่อมวลชนอย่างร้ายแรง ประเทศไทยได้รับความบอบช้ำอย่างมาก
สื่อกระแสหลักและสื่อออนไลน์ต่างก็ตระหนัก และระวังเกี่ยวกับการเผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสม
เพราะการเคารพ เป็นสิ่งที่พึงมีต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต พร้อมขอทิ้งท้ายไปยัง CNN ว่า CNN จะทำแบบนี้หรือไม่? หากเป็นเหตุการณ์อาชญากรรมร้ายแรง ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ??
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ทางสำนักข่าว CNN ชี้แจง อ้างว่า สองนักข่าว ได้ขออนุญาติเจ้าหน้าที่ศูนย์เด็กเล็กแล้ว
ก่อนจะเข้าไปเก็บภาพ 15 นาที และตอนเข้าไป ได้มีการเอาแถบกั้น พื้นที่เกิดเหตุออกแล้ว
แต่พอเดินกลับออกมาเห็นเอามากั้นไว้อีกครั้ง จึงต้องฝ่าที่กั้นออก
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (TJA)
ออกแถลงการณ์ประณามว่า
1.ถือเป็นการละเมิดหลักจริยธรรมนักข่าวอย่างรุนแรง
และไม่คำนึงถึงความเหมาะสมต่อให้ได้รับอนุญาต ทีมข่าวก็ควรใช้วิจารณญาณว่า การเหยียบย่ำเข้าที่เกิดเหตุ สมควรหรือไม่? การนำเสนอข่าวของ CNN มีภาพหวาดเสียว สาธารณชน ได้รับประโยชน์อย่างไร และอาจสร้างความกระทบกระเทือนใจอีก
เสี่ยงที่จะสร้างมาตรฐานอันตรายต่อจริยธรรมสื่ออื่น พอเห็น CNN ทำ
ก็อาจจะมีคำสั่งหรือกดดันให้ทีมข่าวของตน ทำบ้าง กลายเป็น
เพิ่มโอกาสให้เกิดการระเมิดสิทธิ์ หรือ รุกล้ำพื้นที่ต้องห้าม เพื่อแย่งผลงาน อีกด้วย
2. CNN ต้องเร่งสอบสวนว่า มีการให้อนุญาต CNN เข้าพื้นที่จริงหรือไม่
หากไม่มี ทางต้นสังกัด CNN จะรับผิดชอบต่อสังคมไทยอย่างไร
เจ้าหน้าที่ ที่ปล่อยให้เข้าไป ต้องตอบด้วยว่า เหตุใดจึงมีการปล่อยให้ทีมข่าวเข้าจุดเกิดเหตุโดยพลการ และจะดำเนินการตามกฏหมายอย่างไร?
3. ขอเรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกสำนัก เอาเป็นอุทาหรณ์ถอดบทเรียนร่วม
และ ไม่เลียนแบบหรือแข่งขันกันให้ได้มาซึ่งข่าวหรือภาพในลักษณะคล้ายกัน
บิ๊กโจ๊กเคลียร์แล้ว นักข่าว 2 คนไม่เจตนาบุกรุก ได้รับอนุญาตจริง
ถอนวีซ่า ปรับ 5000 เตรียมกลับประเทศเรียบร้อย
พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร.แถลงข่าวหลังจากได้คุยกับทางทีมข่าว พบว่าไม่ตั้งใจ ขอโทษคนไทยที่ทำให้ไม่สบายใจ จะเดินทางกลับเลย แต่ไม่ต้องขึ้นแบล็กลิสต์ ผู้หญิงนักข่าวอายุ 47 ปี ชาวออสเตรเลีย และช่างภาพผู้ชาย อายุ 34 ปี สัญชาติอังกฤษ เข้าไทยมา 6 ต.ค. จากฮ่องกง และวันที่ 7 ต.ค. ก็ได้เดินทางเข้าจุดเกิดเหตุศูนย์เด็กเล็ก
จากการตรวจสอบ พบว่าไม่มีเจตนาบุกรุก เพราะช่วงนั้น10.00-12.00 น.
มีเจ้าหน้าที่ ประตูเปิดอยู่ ทั้งสองคนได้เดินเข้าไป มีคน 6-7 คน ทีมข่าวได้ถามเจ้าหน้าที่เป็นภาษาอังกฤษว่าสามารถเข้าไปได้หรือไม่ ทางเจ้าหน้าที่บอกเข้ามาได้ ไม่ได้มีการห้ามปราม พอออกมาก็เห็นว่ามีการปิดกั้นพื้นที่ จึงปีนรั้วออกมา ไม่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องพยานหลักฐาน แต่จากการตรวจสอบวีซ่า พบว่าใช้ผิดประเภท เขาเป็นวีซ่านักท่องเที่ยว จึงถูกปรับคนละ 5,000 บาท ก่อนจะมีคลิปยกมือ ขอโทษคนไทย หากการกระทำสร้างความเจ็บปวดโดยไม่มีเจตนา
สุดท้ายในฐานะนักสื่อสารมวลชน ขอย้ำว่า
จรรยาบรรณวิชาชีพ และ จริยธรรมของนักข่าว
เป็นสิ่งที่นักข่าวทุกคนควรมี แต่ไม่ใช่ว่า นักข่าวทุกคนจะมี
การทำงานสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน เราควรเรียนรู้เรื่องการ
เคารพสิทธิ และ ไม่ละเมิดผู้อื่น
มันเป็นไปโดยสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม
เราจะเอาภาพของความสูญเสีย มาขยายต่อไปเพื่ออะไร ?
สื่อจะนำเสนออะไร ผู้ดู ได้ประโยชน์อะไร สังคมได้ประโยชน์อะไรจากเรื่องนี้ ??
และประเทศไทยเองก็ควรทำมาตรฐานให้สื่อต่างชาติเขาได้เห็น ว่าเรามีบรรทัดฐาน
มีกฏระเบียบ ไม่ใช่ เป็นสื่อสำนักใหญ่ ต่างชาติแล้วจะมีอภิสิทธิ์ หากทำผิดก็ควรเคารพกฏ ขอโทษ และรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
อย่าง CNN พอทราบเรื่องสุดท้าย ก็ต้องลบข่าว และ ออกมาขอโทษ เป็นต้น