พายุลูกใหม่ พายุไลออนร็อค เตรียมเข้าประเทศไทยสัปดาห์หน้า หลายคนกังวลว่า น้ำจะท่วมกรุงเทพฯหรือไม่? พามาดูข้อมูลจาก windy.com และ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์กันว่าน่ากังวลแค่ไหน กระทบจังหวัดไหนบ้าง?
พายุไลออนร็อค เข้าประเทศไทยเมื่อไหร่?
ตอนนี้อยู่ไหน?
6 - 7 ตุลาคม
ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา และ www.windy.com
ระบุว่า ขณะนี้พายุลูกนี้เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ เคลื่อนตัวอยู่ทะเลจีนใต้ กำลังรวบรวมพลังเป็น ดีเปรสชั่น
8 - 9 ต.ค.
วนขึ้นไปเกาะไหหลำ
9 - 10 ต.ค.
เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม ก่อนอ่อนกำลังลงเป็น
หย่อมความกดอากาศต่ำ
11 ต.ค. เคลื่อนเข้าประเทศไทย (เริ่มมีผลกระทบ)
ส่งผลให้เริ่มมีฝนตกหนัก และตกกระจายตัวหลายพื้นที่
เริ่มต้นที่ภาคอีสาน
-นครพนม
-อุดรธานี (ฝนตกเยอะ แต่ดี เพราะเติมน้ำ 2 อ่างที่ยังรับไหว เขื่อนลำปาว + เขื่อนอุบลรัตน์
- มุกดาหาร
-สุรินทร์
-บึงกาฬ
-สกลนคร
แต่ช่วงค่ำ 5 ทุ่ม เริ่มลงมากระทบกับภาคตะวันออก และภาคกลาง
-สระแก้ว ปริมาณฝนเยอะมาก
-ฉะเชิงเทรา
-กทมและปริมณฑล (ปริมาณฝนไม่มาก แต่มีฝนตกหลายพื้นที่)
เพราะฉะนั้นโดยสรุป พายุ ไลออนร็อค ไม่ได้เข้าไทยวันนี้ แต่เข้าไทยตั้งแต่ 11 ต.ค. เพียงแต่ทั่วไทยจะเริ่มมีฝนตกเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. เป็นต้นไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
สอดคล้องกับข้อมูล กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศว่า
6 - 11 ต.ค. นี้ ทั่วประเทศมีฝนตกหนัก และ ตกสะสม
60-70% ของพื่นที่ (ยกเว้นภาคเหนือตอนบน)
7-11 ต.ค.64 เรือเล็กภาคใต้ ควรงดออกจากฝั่ง
แล้วพายุลูกนี้จะทำให้ กรุงเทพ น้ำท่วมหรือไม่?
ก่อนหน้านี้ ทางกองอำนวยการน้ำแห่งชาติหรือ กอนช. เตือน จับตาสถานการณ์น้ำ ริมน้ำเจ้าพระยา จะสูงขึ้น 30 - 50 %
ทำให้หลายคนกังวล แต่จริงๆมันต้องแยกประเด็นก่อน
น้ำสูงจาก 2 ปัจจัยนี้
1. น้ำหลากมาถึง (จากอิทธิพลของเตี้ยนหมู่) มาทางเขื่อนเจ้าพระยา และ เขื่อนป่าสัก ปริมาณน้ำจะไหลหลากรวมกัน ผ่านอำเภอบางไทร อยุธยาในเกณฑ์สูงสุด 3,050-3,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ถือว่าสูงมากๆ) และ
2.น้ำทะเลหนุนสูง จึงทำให้ปริมาณน้ำริมน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น
มวลน้ำลูกนี้จะออกสู่อ่าวไทย ภายใน 7 - 10 ต.ค. 64
อาจส่งผลกระทบ ในพื้นที่ต่อไปนี้
กรุงเทพฯ ปทุมธานี และ นนทบุรี
พื้นที่นอกคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เพราะงั้นโดยสรุป
มวลน้ำท่วมจากเตี้ยนหมู่ก้อนนี้ไหลออกอ่าวไทย ก่อนพายุจะมาถึง
ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่พื้นที่ริมน้ำยังต้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด