เห็นกระแส แอป Reface แปลงหน้าเราเป็นดารา แล้วนึกถึงเรื่อง Deepfake เทคโนโลยีมันไปไกลถึงขั้นใช้แอปแปลงเราเป็นใครก็ได้เป็นเรื่องสนุกไป แต่ถ้าคลิปปลอมเป็นเรื่องไม่ขำ มีคนเอาเราไปทำอะไรที่ส่งผลเสียต่อเราหรือสังคมล่ะ? เราจะแยกออกได้ไงว่าคลิปไหนจริงไม่จริง?
“เทคโนโลยี มันไม่ผิด ถ้าไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน
ยกเว้น Content ที่คุณสร้างมัน FAKE เกิดความเสียหายได้” ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผอ.ฝ่ายเดตาโซลูชันส์ภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ระบุไว้
อ่านเรื่องราวของ Deep fake ได้ที่นี่ :
Deepfake คลิปปลอมสุดเนียนที่สร้างจาก A.I. จะแยกแยะยังไงว่าเป็น "ข่าวปลอม"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ความน่ากลัวของ Deep Fake
ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผอ.ฝ่ายเดตาโซลูชันส์ภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ระบุ
ตัวเทคโนโลยีเองก็ไม่ได้ผิด ไม่ได้ทำอะไรให้ใครเดือดร้อน ยกเว้น คอนเทนต์ที่คุณสร้างมันเป็น Fake เช่น คุณสร้างเป็น Fake News ไม่เป็นจริง หรือพูดเรื่องที่ทำให้เสียหายร้ายแรง เช่น
- รัฐบาลประกาศลาออก ขอยุบสภา ขอปฏิวัติ ภาวะฉุกเฉินตอนตี 2 แปปเดียว มันกระจายไปทั่ว หลายคนอาจเชื่อไปแล้วและเกิดความแตกตื่น เห็นวิดีโอนึกว่าจริง รัฐแก้ข่าวกันไม่ทัน เกิดความเสียหายได้
- หรือ การละเมิดสิทธิคนอื่น เช่น นำภาพดาราสาวต่างประเทศ มาตัดต่อในคลิป ลามก อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เสียชื่อเสียง
- ข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อ ชีวิตคน เช่น ยารักษาโรค การฉีดวัคซีน โรคระบาด ฯลฯ
ตรวจสอบได้อย่างไร ?
1.ได้ข่าวมาหยุดคิดสักนิด จริงไหม? สมเหตุสมผลไหม
2.ตรวจข้อมูลต้นทาง เว็บนี้น่าเชื่อถือไหม สัมพันธ์กับข่าวหรือไม่?
3.แหล่งข่าวอื่นว่าอย่างไร ถ้าข่าวใหญ่จำไว้ ไทยรัฐ ข่าวสด เดลินิวส์ ช่อง3 ไม่พลาดแน่
สังคมจะต้องถูกปรับทัศนคติ อย่าเชื่ออะไรง่าย
ใช้ประสบการณ์วิเคราะห์ แม้จะเห็น ข้อความ หรือ วิดีโอไลฟ์ หมอพูด ก็อย่าเพิ่งรีบเชื่อ ต้องมี ความเข้มแข็งทางสติปัญญา สมเหตุผลมั้ย
" เพราะอนาคต Fake News ในรูปแบบ Deepfake จะแนบเนียนมากยิ่งขึ้น "