มีข่าวดีความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนของคนไทย ChulaCOV-19 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ล่าสุดผลทดลองในมนุษย์ระยะที่ 1 ช่วงมิ.ย.ที่ผ่านมาได้ผลดี กระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีได้สูงเทียบได้กับวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งเป็นชนิด mRNA เหมือนกัน คาดผลิตได้ ต.ค. 65
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แถลงเปิดเผยข่าวดีว่า ในการพัฒนาวัคซีน ChulaCOV-19 ล่าสุด การทดลองในสัตว์ทดลอง และได้ทดลองในมนุษย์เฟสแรก เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2564 ผลการวิจัยระยะที่ 1 เป็นเรื่องน่ายินดี
การทดสอบในอาสาสมัคร แบ่งออกเป็นอาสาสมัคร 36 ท่าน อายุ 18-55 ปี ส่วนอาสาสมัคร 36 ท่าน อายุ 56-75 ปี และ 150 ท่าน อายุ 18-75 ปี เริ่มฉีดกลุ่มแรกไปเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2564 ผลเบื้องต้นเรื่องความปลอดภัย ใน 36 ท่านแรก ยังไม่พบผลข้างเคียง
โดยสรุป ผลของวัคซีนเบื้องต้น พบว่า
1.สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีได้สูงเทียบได้กับวัคซีน mRNA เช่น ไฟเซอร์ได้
2.กระตุ้นแอนติบอดีที่ได้สูงมากในการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม
3.แอนติบอดีที่สูงนี้ สามารถยับยั้งเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ ทั้ง 4 สายพันธุ์ คือ อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา
4.สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดที-เซลล์ ซึ่งจะช่วย ขจัดและสามารถควบคุมเชื้อที่อยู่ในเซลล์ของคนที่ติดเชื้อได้ แต่ต้องย้ำว่าการทดสอบนี้ยังจำนวนไม่มาก ซึ่งยังเป็นผลเบื้องต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :