ทุเรียนเป็นอีกหนึ่งสินค้าส่งออกของไทยที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะในประเทศจีน และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทิศทางการส่งออกของทุเรียนไทยจะเป็นอย่างไร เรามีบทวิเคราะห์ที่เข้าใจแบบง่ายๆ จาก รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มาฝาก
ทุเรียนไทย 5 ปี ข้างหน้า : ปังหรือพัง (3 ปัง 10 พัง)
3 ปัง ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับจีน
2.ผู้บริโภคจีนมีความต้องการสูง
3. คุณภาพทุเรียนดี ไม่มีทุเรียนอ่อน
10 พัง ได้แก่
1.ความสัมพันธ์ไทย-จีนมีปัญหา
2.คุณภาพของทุเรียนอ่อน/แก่เกินไป
3.ทุเรียนจากจีนและประเทศเพื่อนบ้าน
4. สวมสิทธิ์ทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน
5. การขนส่งมีปัญหา
6.ตลาดถูกควบคุมโดยล้ง
7.สภาพภูมิอากาศ
8.ขาดแคลนแรงงาน
9.โรคระบาด
10.ผลผลิตไทยเพิ่มมากขึ้น
ดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย (Durian Risk Index: DURI)
- DURI เป็นดัชนีที่จัดทำขึ้นเพื่อประเมินสถานการณ์ทุเรียนไทย โดย DURI < 50 หมายถึงสถานการณ์ทุเรียนไทยมีความเสี่ยงน้อย DURI = 50 หมายถึงสถานการณ์ความเสี่ยงทุเรียนไทยปกติ และ DURI > 50 หมายถึง สถานการณ์ความเสี่ยงทุเรียนไทยมาก
- เกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย Zero covid การขนส่ง ผลผลิตไทย ความสัมพันธ์ไทย-จีน คุณภาพทุเรียนผลผลิตเพื่อนบ้าน การผูกขาดของพ่อค้าคนกลาง แรงงาน การสวมสิทธิทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน และสภาพภูมิอากาศ
- ดัชนี DURI ปี 2562-2569 มีค่าเท่ากับ 46, 47, 52, 51, 54, 57, 55 และ 60 ตามลำดับ แสดงว่า สถานการณ์ทุเรียนปี 2562-2563 มีความเสี่ยงน้อยแต่อีก 5 ปี ข้างหน้า ยังมีโอกาสความเสี่ยงสูง
ทุเรียนไทย 10 ปี (ปี 2554-2564)
-ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเนื้อที่เพาะปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าทุกภาคในประเทศไทย โดยในปี 2564 เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 6 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2554 เนื่องจากปลูกทุเรียนแทนพืชอื่น เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
- ปี 2554-2564 ผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 70,703 ตันต่อปี ส่วนปี 2565-2569 ผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 337,648 ตันต่อปี
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
วอร์นเนอร์ บราเธอร์ส เลือกบินไทยยกกองถ่าย “The Meg 2: the Trench”
ข้อควรรู้ ! นำของมีค่าเข้าโรงรับจำนำ ช่วงเปิดเทอม2565 ควรทำอย่างไรบ้าง ?
เพิ่มขึ้น 5 เท่าจากช่วงปี 2554-2564
-ราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายได้ที่สวน (เฉลี่ยทั้งประเทศ) ปี 2554-2556 ราคาเพิ่มเฉลี่ย 5.5 บาท/กก.
ปี 2557 ราคาลดลงจากผลผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่เพาะปลูก และช่วงปี 2558-2564 ราคาเพิ่มเฉลี่ย 11.4 บาท/กก.
ราคาทุเรียน 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569)
- ราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายได้ที่สวน (เฉลี่ยทั้งประเทศ) ในปี 2569 ประมาณ 149 บาท/กก. ราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายได้ที่สวน เฉลี่ยในปี 2565-2569 ประมาณ 136 บาท/กก.
- หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยน้อยกว่า 10% ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2569 ประมาณ 312 บาท/กก. ซึ่งเฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 271 บาท/กก.
- หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยเพิ่ม 10-15% ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2569 ประมาณ 362 บาท/กก. เฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 313 บาท/กก.
- หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยเพิ่มมากกว่า 15% ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2569 ประมาณ 417 บาท/กก. เฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 361 บาท/กก.
- ราคาตามดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย (DURI) ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2569 ประมาณ 238 บาท/กก. เฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 212 บาท/กก.
ทุเรียนโลก 10 ปี (ปี 2554-2564) และ 5 ปี ข้างหน้า (ปี 2565-2569)
- ช่วง 10 ปี (ปี 2554-2564) ผลผลิตทุเรียนโลกเพิ่มเฉลี่ย 131,303 ตันต่อปี การส่งออกเพิ่มเฉลี่ย 61,576 ตันต่อปี
- ช่วง 5 ปี ข้างหน้า (ปี 2565-2569) ผลผลิตทุเรียนโลก เพิ่ม 1.8 เท่า ส่งออกทุเรียนโลกเพิ่ม 2.2 เท่า บริโภคในประเทศเพิ่ม 1.7 เท่า (เทียบปี 2564) โดยผลผลิตเพิ่มเฉลี่ย 612,276 ตันต่อปี การส่งออกเพิ่มเฉลี่ย 273,937 ตันต่อปี
- ปี 2569 ไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกหลัก โดยส่งออกทุเรียนเพิ่มขึ้น 90.43% จากปี 2565 ขณะที่เวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้น 156.06% ตามผลผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 7 แสนตันในปี 2569
ทุเรียนอาเซียน 10 ปี (ปี 2554-2564) และ 5 ปี ข้างหน้า (ปี 2565-2569)
- ผลผลิตทุเรียนไทย 5 ปีข้างหน้าเพิ่ม 2.4 เท่า (2,904,697 ตัน ในปี 2569) ส่งออกเพิ่มขึ้น 2.1 เท่า (1,905,584 ตัน ในปี 2569) บริโภคในประเทศเพิ่ม 3.3 เท่า (999,114 ตัน ในปี 2569) จากปี 2564 โดยปี 2565 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 24.6% ส่งออก 75.4% และในปี 2569 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 34.4% ส่งออก 65.6%
- ผลผลิตทุเรียนมาเลเซีย 5 ปีข้างหน้าเพิ่ม 44.9% (527,701 ตัน ในปี 2569) ส่งออกเพิ่มขึ้น 3 เท่า (89,709 ตัน ในปี 2569) บริโภคในประเทศเพิ่ม 29% (437,992 ตัน ในปี 2569) จากปี 2564 โดยปี 2565 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 90% ส่งออก 10% และในปี 2569 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 83% ส่งออก 17%
- ผลผลิตทุเรียนอินโดนีเซีย 5 ปีข้างหน้าเพิ่ม 28.9% (1,333,320 ตัน ในปี 2569) ส่งออกเพิ่มประมาณ 266 เท่าจากปี 2564 (แต่ปริมาณน้อยมากเพียง 13,333 ตัน จากปี 2564 ปริมาณ 50 ตัน) บริโภคในประเทศเพิ่ม 27.6% (1,319,987 ตัน ในปี 2569) จากปี 2564 โดยปี 2565 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 99.9% ส่งออก 0.1% และในปี 2569 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 99% ส่งออก 1%
- ผลผลิตทุเรียนฟิลิปปินส์ 5 ปีข้างหน้าเพิ่ม 44% (134,047 ตัน ในปี 2569) ส่งออกเพิ่มขึ้น 45 เท่า (20,107 ตัน ในปี 2569) บริโภคในประเทศเพิ่ม 23% (113,940 ตัน ในปี 2569) จากปี 2564 โดยปี 2565 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 99.1% ส่งออก 0.9% และในปี 2569 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 85% ส่งออก 15%
- ผลผลิตทุเรียนเวียดนาม 5 ปีข้างหน้าเพิ่ม 93.9% (700,643 ตัน ในปี 2569) ส่งออกเพิ่มขึ้น 5 เท่า (189,174 ตัน ในปี 2569) บริโภคในประเทศเพิ่ม 58.9% (511,469 ตัน ในปี 2569) จากปี 2564 โดยปี 2565 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 83.8% ส่งออก 16.2% และในปี 2569 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 73% ส่งออก 27%
- ผลผลิตทุเรียนอาเซียนอื่นๆ 5 ปีข้างหน้าเพิ่ม 82.5% (448,033 ตัน ในปี 2569) ส่งออกเพิ่มขึ้น 46 เท่า (103,827 ตัน ในปี 2569) บริโภคในประเทศเพิ่ม 41.5% (344,206 ตัน ในปี 2569) จากปี 2564 โดยปี 2565 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 95.3% ส่งออก 4.7% และในปี 2569 จะมีสัดส่วนการบริโภคในประเทศ 76.8% ส่งออก 23.2%
- หากพิจารณาในกลุ่ม CLMV ปี 2565 มีผลผลิต 701,542 ตัน และปี 2569 จะมีผลผลิต 1,115,351 ตัน เพิ่มขึ้น 59% จากปี 2565 โดยคาดว่าในปี 2569 เวียดนามจะมีผลผลิตมากที่สุด (700,643 ตัน) รองลงมาคือ กัมพูชา (212,747 ตัน) ลาว (136,534 ตัน) และเมียนมา (65,427 ตัน)
รูปแบบการค้าทุเรียนไทย
รูปแบบการค้าทุเรียนไทย 5 รูปแบบ ได้แก่
- เกษตรกรขายให้พ่อค้าคนกลาง (ในประเทศไทย) (15%)
- เกษตรกรขายให้ล้งเพื่อส่งออกไปตลาดค้าส่งในประเทศจีน (50%)
- เกษตรกรขายปลีกเองที่สวน ขายออนไลน์ และเปิดสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ขายในประเทศ) (5%)
- เกษตรกรขายให้ล้งเพื่อส่งออกไปร้านค้าปลีกผลไม้พรีเมียมในจีน (10%)
- เกษตรกรเป็นผู้ส่งค้าและเป็นผู้ส่งออกเอง (ไปจีน) (20%)
เปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งทุเรียนไปจีนก่อนโควิด (ปี 2562) และปัจจุบัน (2565)
- ก่อนโควิดนิยมขนส่งทางปก 50% ทางเรือ 49% และทางอากาศ 1% แต่ปัจจุบันนิยมขนส่งทางเรือ 70% ทางบก 25% และทางอากาศ 5%
- การขนส่งทางบกก่อนโควิดต้นทุน 2.5 แสนบาท/ตู้ (เส้นทางที่นิยมคือ R12 เนื่องจากระยะทางสั้น ประหยัดค่าขนส่ง) แต่ปัจจุบันต้นทุน 8 แสนบาท/ตู้ (เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง R3A เนื่องจากหลีกเลี่ยงมาตรการตรวจเข้มของจีน)
- การขนส่งทางเรือก่อนโควิดต้นทุนค่าระวาง 35,000 บาท/ตู้ แต่ปัจจุบันต้นทุนค่าระวาง 60,000 บาท/ตู้
- การขนส่งทางอากาศก่อนโควิดต้นทุน 1 ล้านบาท/ตู้ แต่ปัจจุบันต้นทุน 1.8 ล้านบาท/ตู้
ปริมาณเงินสะพัดในตลาดทุเรียนไทย
- ทุเรียนปี 2565 ทำเงินสะพัด 7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 เท่ากับ 6 หมื่นล้านบาท (ปี 2564 เท่ากับ 6.4 แสนล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้น 8.6% เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยภาคตะวันออกมีเงินสะพัดมากที่สุด รองลงมาคือภาคใต้ และภาคเหนือ ตามลำดับ