svasdssvasds

ผลวิจัยชิลีเผย ซิโนแวคประสิทธิภาพด้อยกว่าไฟเซอร์ ฉีดไว้กันอาการหนัก

ผลวิจัยชิลีเผย ซิโนแวคประสิทธิภาพด้อยกว่าไฟเซอร์  ฉีดไว้กันอาการหนัก

วัคซีนซิโนแวค มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ 65.9% แต่วัคซีน ไฟเซอร์ สามารถป้องกันการติดเชื้อได้มากถึง 93% จากผลวิจัยของชิลี อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนซิโนแวคก็ยังมีข้อดี เพราะยังสามารถป้องกันอาการหนักได้ กันอาการสาหัสได้

ชิลีเผยซิโนแวคด้อยกว่าไฟเซอร์

สำนักข่าว บลูมเบิร์ก รายงานผลการศึกษาเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค วัคซีนเชื้อตายจากจีนและวัคซีนไฟเซอร์ วัคซีนชนิด mRNA ในการใช้งานจริงกับประชาชนชาวชิลีในเวลาเดียวกัน ผลปรากฏว่า ผลการวิจัยได้ข้อสรุปมาเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะ พบว่าวัคซีนซิโนแวคของจีน มีประสิทธิภาพน้อยกว่าวัคซีนไฟเซอร์ในประเด็น การหยุดยั้งการระบาดของโควิด-19 ในประเทศชิลี
   

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บทสรุปข้อเปรียบเทียบ

ตัวเลขและผลลัพธ์ที่ผู้คนสนใจจากงานวิจัยชิ้นนี้ ก็คือ ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine) พบว่า การศึกษาประสิทธิผลในประชากร 10 ล้านคนในชิลี ระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ - 1 พฤษภาคม 2021  ซึ่งเป็นช่วงที่เชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อัลฟา ซึ่งพบครั้งแรกในอังกฤษ และสายพันธุ์แกมมา ซึ่งพบครั้งแรกในบราซิล กำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในชิลี และนับเป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนสองชนิดในสถานการณ์เดียวกันเป็นครั้งแรกของโลก
    สามารถสรุปข้อค้นพบที่สำคัญ  ดังนี้
    วัคซีนของซิโนแวค มีประสิทธิภาพ 66% ในการป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ในขณะที่วัคซีน  ไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพถึง 93%

 วัคซีนซิโนแวค ต้องฉีดครบ 2 เข็ม เพราะถ้าฉีดแค่เข็มเดียว จะพบว่า ป้องกันอาการป่วย 15.5% ป้องกันการนอนโรงพยาบาล 37.4% ป้องกันการป่วยหนักจนต้องรักษาในไอซียู 44.7% และป้องกันการเสียชีวิต 45.7% ซึ่งถือว่าเปอร์เซนต์ไม่สูงนัก

  •      ป้องกันอาการป่วย 65.9% เทียบกับ 92.6% ของวัคซีนไฟเซอร์
  •  ป้องกันการนอนโรงพยาบาล 87.5% เทียบกับ 95.1% ของวัคซีนไฟเซอร์
  • ป้องกันการป่วยหนักจนต้องรักษาในไอซียู 90.3% เทียบกับ 96.2% ของวัคซีนไฟเซอร์
  • และป้องกันการเสียชีวิต 86.3% เทียบกับ 91.0% ของวัคซีนไฟเซอร์
  • ยังไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบของวัคซีนทั้งสองชนิด กับเอฟเฟกต์ โควิดสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)  

    
    อย่างไรก็ตาม วัคซีนซิโนแวค และ วัคซีนไฟเซอร์ ยังมีจุดที่ดี ร่วมกัน เพราะ สามารถป้องกันอาการป่วยที่รุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้  โดยวัคซีนซิโนแวค ซึ่งฉีดให้กับชาวชิลีไปแล้วกว่า 10 ล้านคน มีประสิทธิภาพน้อยกว่าวัคซีนไฟเซอร์เล็กน้อย

ทั้งนี้ ข้อมูลจนถึงวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขชิลีได้ฉีดวัคซีนซิโนแวคให้ประชาชนไปแล้วเกือบ 14 ล้านโดส โดยมีประชาชน 6.36 ล้านคนได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ขณะที่มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่ประชาชนแล้ว 2.4 ล้านโดส โดยประชากรวัย 16 ปีขึ้นไปมีสิทธิเข้ารับวัคซีนได้.

ไฟเซอร์เป็นที่นิยมจากนานาชาติมากกว่า

ปัจจบัน วัคซีนซิโนแวค มีกระจายใช้ทั้งสิ้น 51 ประเทศ มีเพียงจีนประเทศเดียวที่ใช้วัคซีนซิโนแวคแบบฟูลออปชั่น และอีก 50 ประเทศ รวมถึงไทยด้วย ที่ใช้เป็นวัคซีนฉุกเฉิน

ขณะที่ วัคซีนไฟเซอร์ มีกระจายใช้ 114 ประเทศ มี ออสเตรเลีย,บราซิล ,นิวซีแลนด์ , ซาอุดิอารเบีย และ สวิตเซอร์แลนด์ ใช้วัคซีนไฟเซอร์แบบฟูลออปชั่น ขณะที่ อีก 109 ประเทศ ซึ่งในนี้มี ประเทศไทยด้วย ซึ่งถึงแม้ประเทศไทยจะยังไม่ได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้ประชาชนสักเข็ม แต่วัคซีนตัวนี้ ก็ขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีนฉุกเฉินด้วยเช่นกัน

related