ทุกวันนี้ข่าวสารบนโลกออนไลน์ ไวมาก จนไม่รู้ว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนปลอม บางครั้งจึงต้องทำให้เราต้องมีวิธีเช็กเฟกนิวส์ เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมที่สร้างขึ้นมาเพื่อปลุกกระแส วันนี้มี 12 วิธีมาแนะนำสำหรับภาคธุรกิจ และคนทั่วไป เพื่อรับมือกับเฟกนิวส์
เฟกนิวส์ในยุคดิจิทัลมีสูงขึ้นต่อเนื่อง
โลกยุคดิจิทัลมีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภค ข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนไปจากอดีต ซึ่งสมัยก่อนคนจะรับข้อมูลข่าวสารทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือบอกเล่ากันปากต่อปาก แต่...ยุคนี้คือยุคออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ซึ่งคนส่วนใหญ่จะรับข่าวทางออนไลน์มากขึ้น ด้วยความที่สื่อออนไลน์เข้าถึงไว รวดเร็ว สะดวกสบาย ประกอบกับยุคนี้ใคร ๆ ก็เป็นสื่อได้ จึงทำให้ข่าวที่ออกมาบ้างครั้ง เป็นข่าวปลอม หรือเฟกนิวส์ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อปลุกปั่นสังคม หรือแวดวงธุรกิจ ดังนั้นยุคนี้คนจะต้องมีวิธีเช็กเฟกนิวส์ให้ดี เพื่อรับมือกับข่าวปลอม
วันนี้จะแนะนำ 12 วิธีเช็กเฟกนิวส์ ที่คนทำธุรกิจ หรือคนทั่วไป ควรรู้ไว้เพื่อรับมือให้ทันกับข้อมูลข่าวสารที่มากมายมหาศาลในโลกดิจิทัล ซึ่งบ้างครั้งก็เป็นข่าวจริง บางครั้งก็เป็นข่าวปลอม ถ้าเป็นข่างจริง แล้วมีความรวดเร็ว ก็เป็นประโยชน์อย่างมากต่อคนรับสาร แต่ถ้าเป็นข่าวปลอมก็จะสร้างความเสียหายให้สังคมวงกว้าง ดังนั้นลองทำตาม 12 ดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นรวบรวมข้อมูลมาจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)
โลกยุคดิจิทัลต้องระวังเฟกนิวส์ให้ดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• นายกฯ สั่ง ทุกกระทรวงตั้งศูนย์ต่อต้าน “เฟกนิวส์” พร้อมสกัดข่าวปลอม
• “บิ๊กป้อม” สั่ง ไม่ละเว้นเฟกนิวส์โควิด-19 ชี้ เอาผิดตามกฎหมายทันที
• ดีอีเอส เผย ศาลมีคำสั่งลบ 8 บัญชีโซเชียลตัวเอ้ ป่วนชาติ ปล่อยเฟกนิวส์
12 วิธีรู้ไว้ ก่อนอ่านข่าวบนออนไลน์
1.ไม่เชื่อพาดหัวข่าวอย่างเดียว ควรอ่านข่าวทั้งหมด
2. ตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ที่นำมาเผยแพร่
3.ตรวจสอบแหล่งที่มาตัวตนของผู้เขียน
4.ดูความผิดปกติของตัวสะกดภาษาที่ใช้ หรือการเรียบเรียง
5.สังเกตภาพประกอบข่าว
6.ตรวจสอบวันที่ของการเผยแพร่ข่าว
7.ตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้
8.หาข้อมูลเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่น
9.ตรวจสอบอคติของตนเอง
10.ดูข่าวสารที่ส่งต่อกันมามีวัตถุประสงค์อะไร
11.ดูความสมเหตุสมผลของข่าว
12.หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ดีอีเอส เดินหน้าทำงานรับมือเฟกนิวส์เต็มสูบ
ทั้งนี้ที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้ทำงานร่วมกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เน้นบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วน ในการตรวจสอบและเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องแก่ประชาชน และได้ร่วมกับศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) (ศปอส.ตร.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทุกกลยุทธ์เพื่อให้ประชาชนคนไทยรู้เท่าทันสื่อลวง
โดยการทำงานจะทำทั้งในแง่ของการจัดการกับข่าวปลอม และการปราบปรามดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย โดยเน้นข่าวที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4 กลุ่มข่าว คือ กลุ่มภัยพิบัติ กลุ่มเศรษฐกิจ กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ และกลุ่มนโยบายรัฐบาล
ส่องดูสถิติคดีเกี่ยวกับเฟกนิวส์
อย่างไรก็ตามกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ยังได้เปิดเผยข้อมูลว่า ที่ผ่านมาการทำงานร่วมกับ ศปอส.ตร. ตลอดระยะเวลาราว 1 ปี มีการส่งเคสเกี่ยวกับข่าวปลอมและบิดเบือน เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบของ ศปอส.ตร. ทั้งสิ้น 660 เรื่อง และมีการดำเนินคดี 26 เรื่อง รวมผู้กระทำความผิด 61 ราย
โดยแบ่งเป็น การดําเนินคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 14 เรื่อง จำนวน 21 ราย และการดําเนินคดีตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 12 เรื่อง จำนวน 40 ราย และมีจำนวนเคสที่ทำการประชาสัมพันธ์ 96 ราย รวมเคสที่ดำเนินการแล้ว 157 ราย ซึ่งมีจำนวนเป้าหมายที่เข้าทำการตรวจค้นตามหมายศาล 53 หมาย ทางด้านผลการดำเนินงานช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา (1 ม.ค.-30 พ.ย. 2563) มีการจับกุมผู้โพสต์ข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์ไปแล้ว 20 ครั้ง จำนวน 104 ราย รวมทั้งเห็นแนวโน้มการกระทำผิดในคดีประเภทนี้เริ่มลดลง ซึ่งเป็นผลจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มแข็ง ดังนั้นเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะรู้เท่าทันเฟกนิวส์