SPRiNGสรุปให้ หลายคำถามเกี่ยวกับโรคหลายบุคลิก โรคนี้คืออะไร ? คำถามตามมามากมายจาก จากกรณีอดีตทหารเกณฑ์คลั่งกราดยิงรพ.สนาม ที่มาที่ไปของโรคนี้ และตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจนที่ทุกคนน่าจะเข้าใจได้ผ่านตัวละครจากภาพยนตร์อาทิ Joker หรือ Split อ่านได้ที่นี่โพสต์เดียวจบ
ที่มาที่ไปจากเหตุสะเทือนใจ
SPRiNGสรุปให้ จากกรณีข่าวใหญ่สะเทือนใจ ชายสวมชุดคล้ายทหาร เข้าไปในโรงพยาบาลสนามสถาบันธัญญารักษ์ จ.ปทุมธานี โดยใช้อาวุธปืนยิงผู้ป่วยชายอายุประมาณ 50 ปี ขณะเดินออกมาจากห้องน้ำจนเสียชีวิต ก่อนจะใช้อาวุธปืนกราดยิงอีกหลายนัด โดยก่อนหน้านั้น คนร้ายยังได้ใช้อาวุธปืนยิงพนักงานร้านสะดวกซื้อเสียชีวิต ที่ร้านสะดวกซื้อ ปากซอยลาดพร้าว25 มาก่อนแล้ว เนื่องจากไม่พอใจที่ถูกบังคับให้จ่ายค่าขวดเบียร์ที่แตก จนไปก่อเหตุที่รพ.สนามที่ปทุมฯ และล่าสุด มีรายงานว่าตำรวจล้อมบ้านพักอดีตทหารเกณฑ์คลั่ง ที่ จ.ระนอง แล้ว
จากการเปิดเผยในเบื้องต้น พบว่า ชายที่ก่อเหตุคนนี้ เป็นโรคหลายบุคลิก ซึ่ง โรคนี้ถือว่า เป็นเรื่องที่สังคมไทยยังไม่รู้จักในวงกว้าง แต่โรคนี้ มีอยู่จริง และคนข้างเคียงของทุกคนก็อาจจะเข้าข่ายเป็นโรคนี้อยู่ก็เป็นได้
โรคหลายบุคลิกคืออะไร
โรคหลายบุคลิกนั้น ผู้ป่วยอาจจะประสบกับการมีสองอัตลักษณ์หรือบุคลิกหรือมากกว่าขึ้นไปนั้น อีกชื่อหนึ่งคือการมีบุคลิกภาพสองคนในคนเดียวกัน
บุคลิกเหล่านี้จะเข้าควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วยอีกครั้ง และผู้ป่วยมักจะประสบกับการสูญเสียความทรงจำ เมื่ออีกหนึ่งบุคลิกถูกเปลี่ยนหรือกำลังควบคุม
สำหรับ โรคนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการ Multiple Personality Disorder เป็นหนึ่งในโรคจิตเวช ซึ่งบุคลิกเหล่านี้จะเข้าควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมักจะประสบกับการสูญเสียความทรงจำ เมื่ออีกหนึ่งบุคลิกเข้ามาควบคุม
อัพเดทล่าสุด Breaking News : มอบตัวแล้วคนร้ายกราดยิง รพ.สนาม-ร้านสะดวกซื้อ 2 ศพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อดีตทหารเกณฑ์ ยิงพนักงานเซเว่นดับคาเคาน์เตอร์ ก่อนไปกราดยิง รพ.สนามปทุม
เปิดประวัติอดีตทหารเกณฑ์คลั่ง กราดยิง รพ.สนามและยิงพนักงานเซเว่นดับ
โรคหลายบุคลิคพบได้น้อย
สำหรับ โรคหลายบุคลิกจัดเป็นโรคที่หายาก จึงมีการศึกษาน้อย และมีการทำวิจัยในบุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิกเพียงน้อยนิดหนึ่ง ในการศึกษาพบว่าประมาณ 1% ของผู้หญิงในชุมชนเป็นโรคหลายบุคลิก ซึ่งยังต้องการการศึกษาอีกมากเพื่อจะยืนยันข้อมูลนี้ แม้จะมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการวินิจฉัยโรคหลายบุคลิก
ไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นเพราะความตระหนักที่มีมากขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต หรือจากการวินิจฉัยผิด
จิตใจมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนเหนือการคาดเดา ไม่มีใครล่วงรู้ว่า หากมีสิ่งที่มากระทบใจ ย้ำบาดแผลที่ฝังลึกในอดีต จะทำให้คนที่เคยแสนดีกลายเป็นฆาตกรในชั่วพริบตาได้หรือไม่ ?
หากกล่าวให้ละเอียดลึกลงไปอีก ก็มีทั้งคนที่ป่วย มีอาการทางจิต และคนที่ไม่ป่วย แต่ไร้สำนึก หรือขาดความยับยั้งชั่งใจ รวมทั้งคนที่มีบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง...
หลักเกณฑ์การวินิจฉัย
เกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับโรคหลายบุคลิก จากการอ้างอิง ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 มีดังต่อไปนี้ :
- มีการแสดงอัตลักษณ์หรือบุคลิกที่แตกต่างกันตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปอย่างชัดเจน โดยพิจารณาความแตกต่างจากรูปแบบของความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ซึ่งการเกิดขึ้นของบุคลิกเหล่านี้สามารถประเมินได้ด้วยตนเองหรือเป็นการสังเกตจากนักบำบัดเพื่อการวินิจฉัย
- เกิดการสูญเสียความทรงจำ (Amnesia) ที่จำกัดว่าบุคคลหนึ่งควรจะจดจำอะไรได้บ้าง ทั้งเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือภยันตราย และสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
- มีความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน
- อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำตามหลักวัฒนธรรมหรือศาสนา
-อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผลลัพท์ของการใช้สารใดๆ เช่นแอลกอฮอล์ ยารักษาโรค หรือสารเสพติด เป็นต้น
สาเหตุและอาการ
บุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิก มักถูกทารุณกรรมทางร่างกาย และการทารุณกรรมทางเพศอย่างรุนแรงในวัยเด็ก และมักมีอาการร่วมกันของโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง: Borderline Personality Disorder (BPD) รวมถึงมีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง มีพฤติกรรมสิ่งเร้า และมีความไม่ยั่งยืนในความสัมพันธ์ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการที่การทารุณกรรมเด็ก (Childhood abuse) เป็นปัจจัยเสี่ยงของทั้งโรคหลายบุคลิกและโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง
ผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกอาจประสบกับอาการที่แสดงถึงการมีบาดแผลทางจิตใจอื่นๆ ด้วย เช่น ฝันร้าย เห็นภาพในอดีต หรืออาการอื่นๆ ที่เป็นลักษณะของโรคความผิดปกติหลังเผชิญความเครียดหรือเหตุการณ์สะเทือนใจ
อาการของโรคหลายบุคลิก อาจมีอาการดังนี้ ปะปนกันไปแล้วแต่บุลคล
1. บุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง
2. บุคลิกภาพผิดปกติแบบแยกตัว
3. บุคลิกภาพผิดปกติแบบแปลกแยก
4. บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (แบบอันธพาล)
5. บุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรีย
6. บุคลิกภาพผิดปกติแบบหลงตัวเอง
7. บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพิงผู้อื่น
8. บุคลิกภาพผิดปกติแบบย้ำคิดย้ำทำ
9. บุคลิกภาพผิดปกติแบบหลบเลี่ยงปัญหา
10. บุคลิกภาพผิดปกติแบบไม่มีวุฒิภาวะ (เด็กไม่โต)
11. บุคลิกภาพผิดปกติแบบผสม
12. บุคลิกภาพผิดปกติแบบไม่อาจจัดกลุ่มได้
ตัวละครเผชิญโรคหลายบุคลิก
หากจินตนาการไม่ออกว่า การเป็นโรคหลายบุคลิกเป็นอย่างไร อยากจะให้เห็นภาพอย่างชัดเจนขึ้นผ่านตัวละครที่โด่งดังจากภาพยนต์ฮอลิวู้ด ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
โดย ตัวละครที่โด่งดังและโดดเด่นมากที่สุดในยุคนี้ คงหนีไม่พ้น Joker ซึ่งนับแสดงโดย วาคีน ฟินิกซ์ เมื่อปี 2019 ซึ่งตัวละคร Joker มีอาการป่วยทางจิต (mental illness) ในรูปแบบที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพ เกิดเป็นคน 2 บุคลิก เดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวร้องไห้ อาจจัดอยู่ใน Dissociative Identity Disorder (DID), และมีอาการเมื่อเผขิญกับเหตุการณ์ที่กระเทือนจิตใจจะมีความเครียดอย่างมาก
โดย Joker หรือ อาร์เธอร์ เฟล็ก เป็นอีกคนหนึ่งที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกรุมรังแก (bullying) รุมทำร้าย ถูกดูถูก ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อีกทั้งถูกเพื่อนหักหลัง ยิ่งทำให้เขาทวีความโกรธ (rage) และสั่งสมความก้าวร้าว (aggression) ไว้ เสมือนเชื้อไฟที่รอวันจะปะทุตลอดเวลา
หากย้อนไปปี 2016 ภาพยนต์เรื่อง Split ซึ่งนำแสดงโดย เจมส์ แม็กเอวอย ซึ่งภาพยนตร์อิงเค้าโครงจากเรื่องจริงของชายผู้มี 24 บุคลิกที่ได้จับตัวหญิงสาว 3 คนมาขังเอาไว้ แม้หนังจะไม่ได้เล่นกับบุคลิกทั้งหมด แต่ก็เลือกหยิบเมนบุคลิกมาสะท้อนให้เห็นถึงอันตรายจากโรคนี้
ขณะที่ ตัวละครในตำนานแห่งยุค 90s ซึ่งมี หลายบุคลิก และโด่งดังมาก มาจาก ภาพยนตร์เรื่อง Primal Fear ซึ่งเป็นเรื่องแจ้งเกิดของดาราดังอย่าง เอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน เมื่อปี 1996 ซึ่งเรื่องนี้ เอ็ดเวิร์ด นอร์ตันสวมบทเป็นฆาตกรรม หลายบุคลิก
เอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน เป็นเด็กหนุ่มที่กลายเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรมบาทหลวง ที่ดูเผินๆ ภายนอกก็เหมือนเด็กซื่อๆคนหนึ่ง ดูไม่มีพิษภัยอะไร แต่ภายในดูเหมือนซ่อนตัวตนที่ดำมืดเอาไว้ เป็นสภาวะที่ยากจะคาดเดาถึงตัวตนแท้จริง ซึ่งแสดงออกมาเป็นบุคลิกสองขั้วที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง.