ข่าวดีท่ามกลางวิกฤตโควิด19 เมื่อนักวิจัยออสเตรเลียจับมือกับนักวิจัยสหรัฐ ค้นพบ ยาต้านโควิด19 ซึ่งทดลองในหนูแล้ว ได้ผลน่าพอใจ เพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับหนู และลดการติดเชื้อในปอดของสัตว์ทดลองได้ถึง 99.9%
ข่าวดีกับความหวังในการต่อสู้ โควิด 19 เมื่อนักวิทยาศาสตร์สหรัฐและออสเตรเลีย คิดค้นยาต้านโควิด รักษาโควิด19 ทุกสายพันธุ์ สำเร็จในเฟส 1 พบว่าได้ผลดีกับหนูทดลอง สามารถลดปริมาณไวรัสในปอดได้ถึงร้อยละ 99.9 เลยทีเดียว
สำหรับ การทดสอบนี้เป็นความร่วมมือกันของ นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันสุขภาพเมนซีส์แห่งรัฐควีนส์แลนด์ (MHIQ) ประจำมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ในออสเตรเลีย และสถาบันวิจัย ซิตี้ ออฟ โฮป ในสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนากระบวนการบำบัดที่อาศัยหลักการทางด้านสารพันธุกรรมชนิด RNA ซึ่งมีเป้าหมายทำลายเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ด้วยการค้นหาและทำลายสารพันธุกรรมดังกล่าวของไวรัส ส่งผลให้ไวรัสสูญเสียความสามารถในการเพิ่มจำนวน
ศาสตราจารย์ ไนเจล แม็กมิลแลน หนึ่งในผู้นำคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ จากออสเตรเลีย แสดงความคิดเห็นว่า ยาต้านโควิด ตัวนี้มีเป้าหมายแบบจำเพาะเจาะจงเฉพาะกับไวรัสก่อโรคโควิด-19 เท่านั้น จึงไม่มีผลต่อเซลล์ชนิดอื่นๆ ในร่างกาย
หากเปรียบเทียบอย่างง่ายๆ ยาต้านโควิด ที่พัฒนาขึ้นมา เหมือนอาวุธที่ติดเรดาห์ มีเป้าหมายพุ่งเข้าทำลายสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19โดยตรงเลย และถือเป็นตัวอย่างของยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสารพันธุกรรมของไวรัสเป้าหมาย ไม่ได้ออกฤทธิ์อะไรกับเซลล์อื่น ดังนั้นจึงเป็นข่าวที่ดีมากๆ เพราะยาตัวนี้จะไม่มีผลกระทบต่อเซลล์อื่นๆ คาดว่าการทดลองระยะต่อไป และนำมาใช้จริงได้ภายในไม่เกิน 2 ปีข้างหน้า